อุตุฯ เตือน พายุฤดูร้อนกระทบ 49 จ. รับมือฝนหนัก 11-14 พ.ค. นี้
logo ข่าวอัพเดท

อุตุฯ เตือน พายุฤดูร้อนกระทบ 49 จ. รับมือฝนหนัก 11-14 พ.ค. นี้

ข่าวอัพเดท : อุตุฯ ออกเตือนฉบับที่ 6 พายุฤดูร้อนกระทบ 49 จ. รวมถึง กทม.-ปริมณฑล และหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมอ่าวเบงกอลตอนล่าง มีแนวโน้ ฝนตก,ฝนตกหนัก,คาดการณ์ฝนตก,ประกาศเตือนฝนตกหนัก,ฝนตกต่อเนื่อง,เตือนฝนตก,เตรียมรับมือฝนตก,พายุฤดูร้อน,พายุฝนฟ้าคะนอง,ลมกระโชกแรง,ลูกเห็บตก,ฟ้าผ่า,กรมอุตุนิยมวิทยา,กรมอุตุ

653 ครั้ง
|
09 พ.ค. 2566

อุตุฯ ออกเตือนฉบับที่ 6 พายุฤดูร้อนกระทบ 49 จ. รวมถึง กทม.-ปริมณฑล และหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมอ่าวเบงกอลตอนล่าง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน ประชาชนเตรียมรับมือฝนตกหนักต่อเนื่อง 11-14 พ.ค. นี้

(9 พ.ค. 66) กรมอุตุนิยมวิทยา เผยภาพถ่ายดาวเทียมแบบเคลื่อนไหวถึงเช้าวันนี้ พบว่าท้องฟ้ามีเมฆมาก เมฆฝนยังปกคลุมบริเวณภาคเหนือ บริเวณทะเลอันดามัน (อ่าวเบงกอล) และบริเวณหย่อมความกดอากาศต่ำ

ข่าวอัพเดท : อุตุฯ เตือน พายุฤดูร้อนกระทบ 49 จ.

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 6 ซึ่งมีผลกระทบถึงวันที่ 10 พ.ค. 66 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะเป็นพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่

ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง

ข่าวอัพเดท : อุตุฯ เตือน พายุฤดูร้อนกระทบ 49 จ.

ช่วงวันที่ 9-14 พ.ค. 66 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมอ่าวเบงกอลตอนล่าง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน คาดว่าจะเคลื่อนผ่านอ่าวเบงกอลตอนกลางและทะเลอันดามันตอนบน หลังจากนั้นจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเมียนมา ส่งผลให้ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลอันดามันเข้ามาปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ในช่วงวันที่ 11-14 พ.ค. 66 ประเทศไทยจะมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันและเวลาดังกล่าว

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์ กรมอุตุนิยมวิทยา หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์ กรมอุตุนิยมวิทยา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง