พนักงาน BTS บุกทำเนียบ ! จี้รัฐเร่งแก้ปัญหาหนี้ 5 หมื่นล้าน สายสีเขียว ขีดเส้น 7 วันไม่ขยับ จ่อหยุดวิ่ง
logo ข่าวอัพเดท

พนักงาน BTS บุกทำเนียบ ! จี้รัฐเร่งแก้ปัญหาหนี้ 5 หมื่นล้าน สายสีเขียว ขีดเส้น 7 วันไม่ขยับ จ่อหยุดวิ่ง

ข่าวอัพเดท : บุกทำเนียบ! พนักงาน BTS ยื่นหนังสือจี้รัฐเร่งแก้ปัญหาหนี้ 5 หมื่นล้านบาท รถไฟฟ้าสายสีเขียว ขีดเส้น 7 วันไม่ขยับ จ่อหยุดวิ่ง บีทีเอส,BTS,รถไฟฟ้า,ทำเนียบรัฐบาล,รัฐบาล,หนี้ 5 หมื่นล้าน,แก้ปัญหา,สายสีเขียว,หยุดวิ่ง

624 ครั้ง
|
14 มี.ค. 2566
         บุกทำเนียบ! พนักงาน BTS ยื่นหนังสือจี้รัฐเร่งแก้ปัญหาหนี้ 5 หมื่นล้านบาท รถไฟฟ้าสายสีเขียว ขีดเส้น 7 วันไม่ขยับ จ่อหยุดวิ่ง
 
             วันที่ 14 มี.ค.66 ที่ทำเนียบรัฐบาล กลุ่มพนักงานบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี เดินทางมายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ขอให้รัฐบาลช่วยแก้ปัญหาหนี้ จากการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่มีสะสมอยู่เกือบ 50,000 ล้านบาท  เนื่องจากกังวลว่าจะกระทบกับรายได้ของบริษัท และอาจส่งผลกระทบกับอนาคตของพนักงาน
 
             นายเศกศักดิ์ ตัวแทนพนักงานบริษัทฯ กล่าวยืนยันว่า การมายื่นหนังสือในครั้งนี้ไม่ได้มาจากคำสั่งของผู้บริหาร แต่เป็นความต้องการของกลุ่มพนักงานเอง เนื่องจากผ่านมากว่า 4 ปีแล้วไม่ได้มีการดำเนินการ และแม้จะมีการฟ้องศาลปกครองจนมีคำพิพากษาให้หน่วยงานของรัฐชำระหนี้ตามสัญญาจ้าง แต่หน่วยงานของรัฐก็ยังบ่ายเบี่ยงและประวิงเวลาโดยการอุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลปกครองสูงสุด และในทางปฏิบัติยังคงให้บริการสาธารณะอย่างต่อเนื่อง
 
             ทั้งนี้ ในการยื่นหนังสือดังกล่าวได้กำหนดให้นายกรัฐมนตรีมีแนวทางอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจ่ายหนี้ให้กับบีทีเอสภายใน 7 วัน หากไม่ดำเนินการก็อาจจะพิจารณามาที่ทำเนียบอีกครั้ง แม้จะเป็นรัฐบาลรักษาการ และอาจมีการพิจารณาหยุดเดินรถ ซึ่งประชาชนจะได้รับความเดือดร้อนหากหยุดการเดินรถ แต่ขอให้ประชาชนเข้าใจความจำเป็น ยืนยันว่าที่ผ่านมาพนักงานและบริษัทมีความเป็นมืออาชีพมากพอ และแม้ว่ารัฐจะติดหนี้แต่บีทีเอสก็ยังให้บริการตามปกติ
 
             นอกจากนี้ ยังกังวลว่าหากเรื่องนี้พิจารณาล่าช้า เมื่อยุบสภาและกว่าจะเลือกตั้งก็อาจจะส่งผลต่อจำนวนหนี้ เพราะปัจจุบันค่าจ้างเดินรถสะสมอยู่ที่ 5 หมื่นล้านบาท ดอกเบี้ย 8 ล้านบาทต่อวัน ซึ่งย่อมส่งผลต่อสถานะทางการเงินและการให้บริการทางการเงิน รวมถึงเงินที่รัฐต้องจ่ายจำนวนนี้อาจเป็นภาษีของประชาชนอีกด้วย