logo เงินทองของจริง

ลงทุนใน พันธบัตรรัฐบาล คืออะไร ลงทุนอย่างไร ? | เงินทองของจริง

เงินทองของจริง : อีกหนึ่งการลงทุนที่น่าสนใจและเป็นที่นิยมกัน คือ การลงทุนใน "พันธบัตร" แต่ว่า ความหมายของพันธบัตร คืออะไร ? และเงินที่เราลงทุนไป ch7hd news,tero digital,ch7hdnews,terodigital,เงินทองของจริง,moneycoach,money coach,โคชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์,โคชหนุ่ม จักรพงษ์,โคชหนุ่ม,โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์,โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์,โค้ชหนุ่ม,โคชหนุ่มจักรพงษ์,โค้ชหนุ่มจักรพงษ์,กาย สวิตต์ ลีละพงศ์วัฒนา,กาย สวิตต์,กายสวิตต์,แพรว ภัทรนันท์ ประยูรวงค์,แพรว ภัทรนันท์,แพรวภัทรนันท์,เศรษฐกิจ,การเงิน,การลงทุน,การออม,ออมเงิน,เก็บเงิน,สอนลงทุน,สอนออมเงิน,สอนเก็บเงิน,พันธบัตร,ตราสารหนี้

333 ครั้ง
|
17 มี.ค. 2566
อีกหนึ่งการลงทุนที่น่าสนใจและเป็นที่นิยมกัน คือ การลงทุนใน "พันธบัตร" แต่ว่า ความหมายของพันธบัตร คืออะไร ? และเงินที่เราลงทุนไป จะไปอยู่ที่ไหน ? "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ในรายการ "เงินทองของจริง" มีคำตอบ...
 
"พันธบัตร" หากพูดเป็นภาษาทางการจะเรียกว่า "ตราสารหนี้" มีลักษณะคล้ายกับสัญญากู้ยืมเงิน ซึ่งพันธบัตรจะมีรัฐบาลหรือหน่วยงานภาครัฐเป็นผู้ออก โดยมีลักษณะ คือ รัฐเป็นผู้ขอระดมทุน เพื่อนำเงินไปใช้จ่ายในส่วนต่าง ๆ จึงออกเป็นพันธบัตรให้สถาบันการเงินและประชาชนเป็นผู้ซื้อ ซึ่งผู้ที่ถือครองพันธบัตรจะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ของรัฐบาลนั่นเอง
 
โดยการออกพันธบัตรในแต่ละครั้ง จะมีการกำหนดเงื่อนไข ทั้งราคาพันธบัตร และระยะเวลาในการระดมทุน หรือก็คืออายุของพันธบัตร ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นไปตามอายุของพันธบัตรนั้น ๆ เช่น พันธบัตรอายุ 5 ปี จะมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าพันธบัตรอายุ 3 ปี และการลงทุนในพันธบัตรโดยรวมแล้วมีการประเมิณออกมาว่าเป็นการลงทุนที่มี "ความเสี่ยงต่ำ" เพราะโอกาสที่รัฐบาลจะไม่จ่ายหนี้คืนนั้นมีค่อนข้างน้อย
 
ปัจจุบันการ ซื้อ-ขาย พันธบัตรมีหลายรูปแบบ หากเราต้องการซื้อใน "ตลาดแรก" จะมีการประกาศกำหนดช่วงเวลาในการขาย และช่องทางในการซื้อมักใช้สถาบันการเงินต่าง ๆ ซึ่งผู้ซื้อสามารถติดต่อได้โดยตรง และยังสามารถซื้อผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนได้ด้วย
 
หากเราซื้อพันธบัตรไปแล้ว และยังไม่ครบระยะเวลาไถ่ถอน แต่เรามีความจำเป็นต้องใช้เงินที่ลงทุนไปก้อนนั้นคืน เราสามารถ ซื้อ-ขาย ผ่าน "ตลาดรอง" ได้ โดยมีวิธีการ คือ ซื้อ-ขาย กันเองโดยตรง (Over The Counter: OTC) และ ซื้อ-ขาย ผ่านโบรกเกอร์ ซึ่งมีค่าธรรมเนียม
 
ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง การลงทุนในพันธบัตรก็เช่นกัน แต่เป็นการลงทุนที่ถือว่ามี "ความเสี่ยงต่ำ" หากเราถือครองพันธบัตรแบบเต็มเวลา ก็อาจจะไม่ได้มีความเสี่ยงมาก แต่หากเราขายก่อนครบระยะเวลาไถ่ถอน ซึ่งอาจมีปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้มูลค่าสูงขึ้นหรือลดลงได้
 
ปัจจัยแรก คือ "อัตราดอกเบี้ย" แม้ว่าในช่วงอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ในขณะเดียวกันพันธบัตรจะคงไว้ซึ่งอัตราเดิม ไม่ได้มีการปรับขึ้นตามแต่อย่างใด
 
ปัจจัยที่ 2 คือ "โอกาสที่จะไม่จ่าย" หากเป็นพันธบัตรอาจไม่ต้องห่วงมากนัก เมื่อเทียบกับหุ้นกู้ของบริษัทเอกชน ซึ่งการลงทุนในพันธบัตรนั้นมีโอกาสที่รัฐบาลจะไม่จ่ายน้อยมาก ๆ จึงยังถือว่าเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ
 
ปัจจัยที่ 3 คือ "เงินเฟ้อ" ด้วยความที่พันธบัตรมีอัตราดอกเบี้ยคงที่ หากเราซื้อไป แล้วในอนาคตเจอเงินเฟ้อสูงขึ้นกว่าดอกเบี้ยที่ได้ ก็เป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้การลงทุนนั้นไม่เหลือกำไร
 
สรุปแล้ว "พันธบัตร" เป็นสิ่งที่ออกโดย "รัฐบาล" มีการจำหน่ายเรื่อย ๆ เป็นประจำ โดยมีจุดประสงค์เพื่อนำเงินที่ได้ ไปใช้ดำเนินกิจการต่าง ๆ ของรัฐฯ ภายในระยะเวลาหนึ่ง ด้วยความที่เป็นองค์กรณ์ที่มีความน่าเชื่อถือสูงสุด จึงสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำได้ และถือว่าเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำด้วยเช่นกัน จึงทำให้เป็นที่นิยมกัน โดยเฉพาะในกลุ่มคนวัยเกษียณ เพราะการฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ธรรมดา อาจไม่ได้อัตราดอกเบี้ยที่สูงถึง 2% หรือมากกว่านั้นได้
 
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน สนามข่าว 7 สี ช่วง "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35
และรับชมออนไลน์ ผ่าน YouTube: TERO Digital ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.35 น.
 
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ : https://www.youtube.com/live/YsMuHxUI7AE?feature=share

ข่าวที่เกี่ยวข้อง