ระหว่างการทำประกันสุขภาพ "แบบแยกค่าใช้จ่าย" และ "แบบเหมาจ่าย" มีข้อดีและข้อจำกัดต่างกันอย่างไร ?
ในปัจจุบัน "ประกันสุขภาพ" เป็นเรื่องที่หลายคนให้ความสนใจมากกว่าแต่ก่อน เพราะไม่ได้มองแค่ช่วงเวลาสุดท้ายชีวิต แต่มองช่วงเวลาในระหว่างที่ยังมีชีวิตด้วย ก่อนอื่นต้องอธิบายประกันสุขภาพก่อนว่า เป็นประกันที่ผู้เอาประกันได้ความคุ้มครองในกรณีเจ็บป่วย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยใน
ผู้ป่วยหนอก (OPD) คือ เป็นการไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาล และรับยากลับบ้าน ซึ่งในปัจจุบันในหลายบริษัทมีกจะมีสวัสดิการให้พนักงาน โดยมีการทำสถิติค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลว่า มีการโตขึ้นสูงถึงปีละ 7% ไปเรื่อย ๆ แบบไม่สนใจเศรษฐกิจ
ผู้ป่วยใน (IPD) คือ ต้องนอนรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลเกิน 6 ชั่วโมง ซึ่งในปัจจุบันหลาย ๆ คนมีความกังวลในเรื่องของค่ารักษาพยาบาล เพราะเพียงไม่กี่คืนที่นอนโรงพยาบาล อาจมีค่ารักษาสูงถึงหลักแสน
รูปแบบของ ประกันสุขภาพ ที่มีขายในปัจจุบัน 2 รูปแบบ คือ แบบดั้งเดิม (แยกค่าใช้จ่าย) หรืออิงตามค่าห้อง ซึ่งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ค่ารักษาพยาบาล ค่าผ่าตัด ค่ายาต่าง ๆ จะถูกรวมเป็นเซ็ตของค่าห้องไปเลย โดยมีวงเงินที่จำกัด แต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่ไม่แพงมาก
รูปแบบที่ 2 คือ แบบเหมาจ่าย หรือจ่ายตามจริง ซึ่งจะมีวงเงินไว้ให้ โดยจะกำหนดเพียงค่าห้อง ส่วนค่ารักษาพยาบาลจะเป็นไปตามเงื่อนไข ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย จะมีค่าเบี้ยประกันที่สูงกว่าแบบดั้งเดิม ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับผู้ซื้อประกันว่ามีความกังวลในลักษณะใด ซึ่งประกันสุขภาพทั้ง 2 รูปแบบนั้นสามารถช่วยจัดการความเสี่ยงให้ได้ทั้งคู่
วิธีเลือกซื้อประกันสุขภาพ ให้เหมาะสมกับตัวเรา มีปัจจัยในการเลือกซื้ออยู่พอสมควร ยกตัวอย่างปัจจัยสำคัญ 3 ข้อ
- ความเสี่ยงเรื่องสุขภาพ ว่า โอกาสในการเจ็บป่วยของเรามีมากน้อยเพียงใด
- สิทธิประกันพื้นฐานที่มีอยู่ เช่น สวัสดิการบริษัทที่เป็นตัวช่วยเสริมสิทธิประกันสังคมอยู่แล้ว
- เงินจ่ายเบี้ยประกัน เพราะการจ่ายเบี้ยประกันนั้นมีต้นทุน และต้องยอมรับว่าการจ่ายเพื่อความเสี่ยงนั้นคาดเดาได้ยากมาก
ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัยนั้นอาจจะยังไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจ โดยอาจจะต้องพิจารณาในเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น สิทธิพื้นฐาน ประกันสังคมมาตรา 33 รวมกับสวัสดิการบริษัท ว่ามีวงเงินเพียงพอในการรักษาหรือไม่ เมื่อเทียบกับสุขภาพของเรา หากเราเป็นคนไม่ค่อยเจ็บป่วย และมีวงเงินในการรักษาที่เพียงพออยู่แล้ว ก็อาจจะไม่ต้องซื้อประกันสุขภาพเพิ่ม แต่หากเราประเมินดูแล้วว่าวงเงินในการรักษาจากสิทธิพื้นฐานที่เรามีอยู่ไม่พอ และตัวเรามีความเสี่ยงเจ็บป่วย ซึ่งหากเจ็บป่วยแล้ว ก็จะทำให้กระทบต่อเงินก้อนของเรา ดังนั้น ก็อาจจะพิจารณาในการซื้อประกันสุขภาพเข้ามาเพิ่ม
หากจะให้แนะนำแบบเจาะจงไปเลยว่า ควรซื้อประกันสุขภาพรูปแบบไหน คงจะแนะนำให้ไม่ได้ เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ของแต่ละคน แต่หัวใจสำคัญของการซื้อประกันสุขภาพ คือ "เงินที่เรามี" ดังนั้น เราสามารถพูดคุยในเรื่องความกังวล และสวัสดิการต่าง ๆ ของเรา กับตัวแทนขายประกัน เพื่อขอคำแนะนำที่เหมาะสมในการซื้อประกันสุขภาพของเราได้
สำหรับคนที่สงสัยว่าต้องอายุเท่าไหร่ วัยไหน ถึงจะเริ่มซื้อประกัน อยากให้ประเมินดูว่าตัวเรามีความเสี่ยงในการเจ็บป่วยหรือไม่ เรามีตัวช่วยเพียงพอไหม และอยากให้ถามตัวเองอยู่เสมอ ว่า หากวันนี้เราล้มป่วย เจ็บหมอนนอนเสื่อ เรามีใครเป็นตัวช่วยได้บ้าง ?
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน สนามข่าว 7 สี ช่วง "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35