logo เงินทองของจริง

แนะนำ ! สิทธิรักษาพยาบาล ที่คนทำงานควรรู้ก่อนเจ็บป่วย | เงินทองของจริง

เงินทองของจริง : เมื่อคนเราเจ็บป่วย แน่นอนว่าทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานในการดูแลตัวเองอยู่แล้ว และสิทธิดี ๆ เหล่านั้นในการรักษาพยาบาล มีอะไรบ้างที่เ ch7hd news,tero digital,ch7hdnews,terodigital,เงินทองของจริง,moneycoach,money coach,โคชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์,โคชหนุ่ม จักรพงษ์,โคชหนุ่ม,โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์,โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์,โค้ชหนุ่ม,โคชหนุ่มจักรพงษ์,โค้ชหนุ่มจักรพงษ์,กาย สวิตต์ ลีละพงศ์วัฒนา,กาย สวิตต์,กายสวิตต์,แพรว ภัทรนันท์ ประยูรวงค์,แพรว ภัทรนันท์,แพรวภัทรนันท์,เศรษฐกิจ,การเงิน,การลงทุน,การออม,ออมเงิน,เก็บเงิน,สอนลงทุน,สอนออมเงิน,สอนเก็บเงิน,ประกันสังคม,ประกันสุขภาพ,โรงพยาบาล

815 ครั้ง
|
08 มี.ค. 2566
เมื่อคนเราเจ็บป่วย แน่นอนว่าทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานในการดูแลตัวเองอยู่แล้ว และสิทธิดี ๆ เหล่านั้นในการรักษาพยาบาล มีอะไรบ้างที่เราควรรู้ เพื่อเตรียมตัวไว้ก่อนเจ็บป่วย ?
 
สำหรับใครที่เจ็บป่วย และมีความจำเป็นในเรื่อง "การรักษาพยาบาล" สิทธิขั้นพื้นฐานที่เรามี 3 เรื่องใหญ่ ๆ มีดังนี้
 
1. "สิทธิในการรักษาพยาบาลของข้าราชการ" หากเราทำงานในระบบข้าราชการ เราก็จะมีสิทธินี้อยู่แล้ว
 
2. "ประกันสังคม" ในกลุ่มที่เรียกว่า "ผู้ประกันตน" คือ ผู้ที่จ่ายเงินสมทบประกันสังคมทุกเดือน เช่น คนทำงานทั่วไป หรือคนค้าขาย ที่จ่ายในมาตราอื่น ๆ จะมีสิทธิในการรักษาพยาบาลตามระบบประกันสังคม ในโรงพยาบาลที่เราได้ขึ้นทะเบียนเอาไว้
 
3. "สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ" หรือ สปสช. หรือชื่อเดิมที่เราคุ้นเคย คือ "บัตรทอง" เป็นสิทธิติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด เช่น ใครที่อยู่ในระบบประกันสังคม เมื่อทำงานจนเกษียณ จะอยู่ในระบบผู้ประกันตนได้อีกเพียง 6 เดือน และหลังจากนั้นจะแปลงชื่อออกจากผู้ประกันตนไปอยู่ในหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมีสิทธิครอบคลุมถึงการรักษาโรคร้ายอย่าง โรคมะเร็ง อีกด้วย
 
นอกจากสิทธิขั้นพื้นฐานที่เรามี 3 เรื่องแล้ว มีหลายคนที่ต้องการความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพ ซึ่งก็คือ "ประกันสุขภาพ" โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ เจ็บป่วยทั่วไป และ โรคร้ายแรง
 
กลุ่มที่ 1 แบ่งออกเป็น 2 ส่วนย่อย คือ ประกันผู้ป่วยนอก หรือ OPD และ ประกันผู้ป่วยใน โดยความหมายของผู้ป่วยนอก หมายถึง เมื่อเราเจ็บป่วยเล็กน้อย ไปพบแพทย์ รับยา และกลับบ้านได้ ส่วนความหมายของผู้ป่วยใน หมายถึง เมื่อเราเจ็บป่วยจนต้องพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลนานเกิน 6 ชั่วโมงขึ้นไป
 
ส่วนในเรื่องการซื้อประกัน หากเราทำงานประจำอยู่แล้ว นอกจากประกันสังคมที่เรามีแล้ว ให้ลองสังเกตว่าเรามีประกันอื่น ๆ ที่บริษัททำให้ด้วยหรือไม่ เพราะหากเราอยากซื้อประกันเพิ่ม แต่บริษัททำไว้ให้อยู่แล้ว เราอาจจะซื้อเพิ่มเป็นท็อปอัปแทน แต่หากว่าบริษัทไม่ได้ทำประกันอื่น ๆ ให้เพิ่ม เราก็อาจจะต้องซื้อเอง โดยมีวิธีการเลือกซื้อประกันสุขภาพ ทั้งกรณี เจ็บป่วยทั่วไป และ โรคร้ายแรง ดังนี้
 
แบบที่ 1 สำหรับกรณี เจ็บป่วยทั่วไป คือ "ประกันแบบอิงกับค่าใช้จ่าย" เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าห้อง และค่าผ่าตัด ซึ่งจะระบุรายละเอียดเป็นชุด เช่น หากซื้อประกันชุดนี้แล้วจะได้ค่าห้อง 2,500 บาท และจะได้รายการต่าง ๆ เพิ่มเติมเป็นมูลค่าเท่าใด ซึ่งหากสนใจซื้อประกันรูแบบนี้ แนะนำให้ปรึกษากับโรงพยาบาลที่เราเชื่อถือ หรือหากต้องการได้รับบริการที่มีความพิเศษมากยิ่งขึ้น ก็สามารถไปติดต่อที่โรงพยาบาลแพง ๆ ได้ ซึ่งอยู่ที่รูปแบบที่เลือก และกำลังทรัพย์ของแต่ละคน
 
แบบที่ 2 สำหรับกรณี เจ็บป่วยทั่วไป เช่นกัน คือ "ประกันแบบเหมาจ่าย" ซึ่งจะให้มาเป็นวงเงิน ได้ค่ารักษาตามจริง แต่ไม่เกินจำนวนที่กำหนด ซึ่งประกันสุขภาพรูปแบบนี้จะเป็นที่นิยมมากกว่า และมีค่าเบี้ยประกันที่สูงกว่า แต่สิ่งที่ได้มาคือความสบายใจที่ได้ความคุ้มครองมาดูแลเรา
 
แบบที่ 3 ที่อยากแนะนำ สำหรับกรณี โรคร้ายแรง คือ "ประกันโรคร้ายแรง" เป็นประกันที่มีเงื่อนไขในลักษณะ หากตรวจเจอโรคร้ายแรง จะได้เงินก้อนใหญ่จ่ายให้เราเพื่อรักษาตัว ซึ่งอาจเหมาะกับผู้ที่มีอายุมากขึ้น และมีความกังวลในเรื่องนี้ โดยอาจจะซื้อประกันรูปแบบนี้เพิ่มเข้ามาก็ได้
 
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน สนามข่าว 7 สี ช่วง "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35
 
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ : https://www.youtube.com/live/cY5bTUywayQ?feature=share