logo เงินทองของจริง

อยาก ซื้อ-ขาย บ้าน-คอนโด เสียค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง ? | เงินทองของจริง

เงินทองของจริง : ปัจจุบันคนนิยมลงทุนในอสังหาริมทรัพย์กันมากขึ้น บางคนซื้อคอนโด หรือที่ดินเพื่อหวังเก็งกำไร นอกจากเงินที่ใช้ซื้อแล้ว จะต้องเสียค่า โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์,กาย สวิตต์ ลีละพงศ์วัฒนา,แพรว ภัทรนันท์ ประยูรวงค์,เงินทองของจริง,เงินทองของจริง ช่อง 7,เงินทองของจริง 7HD,MONEY COACH,โค้ชหนุ่ม MONEY COACH,เศรษฐกิจ,การลงทุน,การเงิน,การออม,ออมเงิน,ข่าวการเงิน,ข่าว,ข่าวเศรษฐกิจ,CH7HDNEWS,TERO DIGITAL,อสังหาริมทรัพย์,บ้าน,คอนโด,ค่าธรรมเนียมซื้อบ้าน,ค่าธรรมเนียมขายบ้าน,ซื้อบ้าน,ขายบ้าน,ค่าธรรมเนียมซื้อคอนโด,ค่าธรรมเนียมขายคอนโด,ซื้อคอนโด,ขายคอนโด

503 ครั้ง
|
01 มี.ค. 2566
ปัจจุบันคนนิยมลงทุนในอสังหาริมทรัพย์กันมากขึ้น บางคนซื้อคอนโด หรือที่ดินเพื่อหวังเก็งกำไร นอกจากเงินที่ใช้ซื้อแล้ว จะต้องเสียค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ด้วยหรือไม่ ?
 
ต้องบอกว่า "เงินค่าธรรมเนียม" เป็นเงินก้อนใหญ่ ในบางกรณีอาจสูงถึง 6-10% เลยก็ได้ ซึ่งเวลาซื้อขายบ้าน ก็จะมีค่าใช้จ่าอยู่ 3-4 รายการ โดยส่วนใหญ่มักเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้ขายจะต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบ แต่ก็มีบางส่วนที่เป็นในส่วนของผู้ซื้อ และบางส่วนที่สามารถจ่ายร่วมกันได้
 
เช่น ในกรณีที่ ซื้อ-ขาย บ้าน คอนโด หรือที่ดิน ค่าใช้จ่าที่มาเป็นอันดับแรก คือ "ค่าโอนกรรมสิทธิ์" โดยปกติแล้ว ตามกฎหมายจะกำหนดอยู่ที่ 2% ของราคาประเมิน และหากไม่มีการกำหนดไว้เป็นพิเศษ ค่าโอนกรรมสิทธิ์นี้จะต้องแบ่งกันจ่ายฝ่ายละ 1% แต่ก็สามารถเขียนผลักให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้จ่ายทั้งหมดได้เช่นกัน ซึ่งต้องเขียนระบุไว้ให้ชัดเจนใน "สัญญาจะซื้อจะขาย"
 
ค่าใช้จ่ายตัวที่สอง คือ "ภาษีเงินได้" ซึ่งผู้ขายจะเป็นฝ่ายรับผิดชอบ เพราะเมื่อเวลาผ่านไป ราคาอสังหาฯ สูงขึ้น ทำให้มีโอกาสทำกำไร โดยหลักแล้วจะใช้วิธีคำนวณภาษีเงินได้ ณ กรมที่ดิน ทำให้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำไปรวมกับรายได้บุคคลธรรมดาตอนปลายปี เพราะถือเป็น "ภาษีขั้นสุดท้าย" หรือ Final Tax
 
ค่าใช้จ่ายตัวที่สาม คือ "ภาษีธุรกิจเฉพาะ" จะถูกเรียกเก็บในกรณีที่มองว่าการ ซื้อ-ขาย นั้นเป็นลักษณะการเก็งกำไร หรือเป็นเชิงธุรกิจ เช่น การซื้อบ้านหรือคอนโด แล้วถือครองไม่ถึง 5 ปี ซึ่งจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% แต่หากใน 1 ปี เราใช้ชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จะถือว่าเป็นการซื้อเพื่ออยู่อาศัย หรืออีกกรณีคือเราถือครองเกิน 5 ปี โดยไม่จำเป็นต้องใช้ชื่อในทะเบียนบ้านก็ได้ จะทำให้ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% แต่ต้องเปลี่ยนเป็นเสียภาษีในรูปแบบ "อากรแสตมป์" 0.5% แทน
 
ค่าใช้จ่ายถัดมา คือ "ค่าจดจำนอง" ในกรณี "การกู้ซื้อบ้าน" จะต้องมีการจดจำนองกัน โดยปกติแล้วจะคิดที่ 1% ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายของ "ผู้ซื้อ" ที่จะต้องเสีย โดยไม่สามารถเขียนผลักให้ผู้ขายเป็นฝ่ายรับผิดชอบได้
 
เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ซื้อ ในเรื่องค่าธรรมเนียมที่ค่อนข้างสูง และเป็นการกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ถดถอย จากผลกระทบโควิด-19 ทางภาครัฐจึงมีนโยบายช่วยเหลือผู้ที่ต้องการซื้อบ้าน ให้สบายกระเป๋ามากขึ้น ทั้งในเรื่องค่าโอนกรรมสิทธิ์ และค่าจดจำนอง
 
ในส่วนของ "ค่าโอนกรรมสิทธิ์" หากเป็นการ ซื้อ-ขาย บ้าน คอนโด หรือที่ดิน ที่มีมูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท ค่าโอนกรรมสิทธิ์ จะมีการลดลงจาก 2% เหลือเพียง 1% เช่น ซื้อบ้านราคา 3 ล้านบาท ค่าโอนกรรมสิทธิ์เดิม 2% เท่ากับ 60,000 บาท จะลดลงเหลือเพียง 30,000 บาทเท่านั้น
 
และในส่วนของ "ค่าจดจำนอง" โดยปกติแล้วจะคิดที่ 1% ของวงเงินกู้ แต่ปรับเหลือเพียง 0.01% เท่านั้น เช่น หากกู้ซื้อบ้านราคา 3 ล้านบาท จะต้องเสียค่าจดจำนอง 1% เท่ากับ 30,000 บาท จะลดลงเหลือเพียง 300 บาทเท่านั้น โดยนโยบายนี้จะสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2566
 
ในส่วนของค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ "ผู้ซื้อ" ต้องระวัง เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ หรืออากรแสตมป์ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายส่วนที่ "ผู้ขาย" สามารถเขียนผลักให้ผู้ซื้อเป็นฝ่ายจ่ายได้ โดยการระบุใน "สัญญาจะซื้อจะขาย" ดังนั้น เมื่อทำสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว ให้ระมัดระวังและตรวจสอบข้อมูลในสัญญาให้ดีก่อนเซ็นตกลง ซื้อ-ขาย กัน
 
ติดตาม รายการ “เงินทองของจริง” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35
 
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ : https://www.youtube.com/live/Hqujsb7g-oI?feature=share

ข่าวที่เกี่ยวข้อง