logo เงินทองของจริง

สอนลงทุน ด้วยเงิน 1,000 บาท เริ่มต้นทีละน้อย ค่อย ๆ รวยทีละนิด ! | เงินทองของจริง

เงินทองของจริง : ปัจจุบันนี้คนรุ่นใหม่ที่เก็บเงิน นิยมกันเงินไว้จำนวนหนึ่ง เช่น เดือนละ 1,000 บาท แต่เมื่อกันเงินออกมาแล้ว ไม่รู้ว่าจะนำเงินส่วนน โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์,กาย สวิตต์ ลีละพงศ์วัฒนา,แพรว ภัทรนันท์ ประยูรวงค์,เงินทองของจริง,เงินทองของจริง ช่อง 7,เงินทองของจริง 7HD,MONEY COACH,โค้ชหนุ่ม MONEY COACH,เศรษฐกิจ,การลงทุน,การเงิน,การออม,ออมเงิน,ข่าวการเงิน,ข่าว,ข่าวเศรษฐกิจ,CH7HDNEWS,TERO DIGITAL,หุ้น,เล่นหุ้น,สอนลงทุน,สอนเล่นหุ้น

2,062 ครั้ง
|
23 ก.พ. 2566
ปัจจุบันนี้คนรุ่นใหม่ที่เก็บเงิน นิยมกันเงินไว้จำนวนหนึ่ง เช่น เดือนละ 1,000 บาท แต่เมื่อกันเงินออกมาแล้ว ไม่รู้ว่าจะนำเงินส่วนนี้ไปลงทุนอย่างไรดี ?
 
สำหรับคนที่เงินน้อย แต่อยากเริ่มต้น ช่องทางอยู่หลากหลายช่องทาง ซึ่งช่องทางที่ง่ายที่สุดคือ "ฝากประจำ" อาจเป็นช่องทางที่ดอกเบี้ยไม่เยอะ แต่ปัจจุบัน มีดอกเบี้ยเงินฝากในบางสถาบันการเงิน ในบางรูปแบบ ที่มีอัตราดอกเบี่ย 1% กว่า ๆ หรือถ้าวงเงินไม่ถึง 1 แสนบาท ก็อาจจะได้ดอกเบี้ยถึง 2% และการฝากประจำยังมีข้อดีในเรื่องของความเสี่ยงที่ต่ำ แถมยังได้ผลตอบแทน และยังเหมาะกับการพักเงินเอาไว้ก่อน เพื่อที่จะเก็บไปลงทุนอะไรใหญ่ ๆ และยังได้ฝึกวินัยการออมเงินโดยการฝากให้ต่อเนื่อง
 
ช่องทางที่สอง คือ "กองทุนรวม" ปัจจุบันหากอายุ 18 ปีก็สามารถเปิดบัญชีกองทุนรวมได้แล้ว หรือบางที่อาจจะต้องอายุ 20 ปี ก็ต้องดูเงื่อนไขของแต่ละบริษัทหลักทรัพย์นั้น ๆ โดยทั่วไปจะเปิดให้ลงทุนเริ่มต้น 500 บาท โดยประมาณ แต่ก็ยังมีกองทุนรวมอยู่หลายประเภทที่ไม่มีขั้นต่ำ ยกตัวอย่างเช่น กองทุนหุ้น และในปัจจุบันเราสามารถซื้อกองทุนรวมผ่านแอปพลิเคชันได้ ทำให้สะดวกสบายเรื่องการตัดเงิน และจุดเด่นของกองทุนรวม คือ มีเครื่องไม้เครื่องมือให้เลือกเยอะ ให้สังเกตชื่อลงท้ายว่าเป็นหมวดหมู่อะไร เช่น กองทุนหุ้น กองทุนตราสารหนี้ กองทุนทองคำ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งผู้ลงทุนควรศึกษาให้ดีว่ากองทุนรวมประเภทไหนที่เหมาะกับเรา เพราะแต่ละกองทุนมีความเสี่ยงที่ไม่เหมือนกัน
 
ช่องทางที่สาม เหมาะสำหรับคนที่อยากออมเงินและอยากได้ความคุ้มครองด้วย ซึ่งก็คือ "การซื้อประกัน" เช่น ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ หรือประกันชีวิตแบบออมทรัพย์ ซึ่งสามารถจ่ายเบี้ยประกันแบบรายเดือนได้ ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ เป็นการเก็บเงินระยะยาว เช่น ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ความคุ้มครอง 10 ปี หมายความว่า หากภายในระยะเวลา 10 ปี เราไม่เป็นอะไรเลย เราจะได้เงินประกันและผลตอบแทนคืน แต่หากเราโชคร้าย เราก็จะได้ความคุ้มครองเป็นเงินชดเชยเท่ากับทุนประกันแทน
 
แต่ก็ยังมีคำถามที่หลายคนสงสัยเกี่ยวกับ "ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์" ว่า หากในอนาคต เราเกิดตกงาน ขาดรายได้ ไม่มีเงินจ่ายเบี้ยประกันแล้ว เราต้องทำอย่างไร ? ซึ่งจริง ๆ แล้วหากเราจ่ายเบี้ยประกันไปเรื่อย ๆ แล้วเกิดปัญหากลางคัน เราสามารถ "เวนคืนกรมธรรม์" ได้ แต่อาจจะได้เงินไม่มาก และแบบที่สอง คือ เรายังอยากรักษาความคุ้มครองเอาไว้เท่าเดิม แต่หดระยะเวลาให้สั้นลง ก็สามารถทำได้เช่นกัน ดังนั้นจึงมีตัวเลือกที่ทำให้เราได้ความคุ้มครองจากประกันได้อยู่
 
ช่องทางที่สี่ คือ "สลากดิจิทัล" ก็เป็นทางเลือกที่ดี เพราะเงินต้นไม่หาย ถึงผลตอบแทนจะไม่สูงมาก แต่ได้ลุ้นโชคทุกเดือน และเมื่อครบกำหนด เราก็สามารถนำเงินคืนได้หากเราไม่ถูกรางวัล
 
ช่องทางที่ห้า คือ "การออมทองคำ" ก็สามารถทำได้ และปัจจุบันมีความง่ายขึ้น สามารถซื้อ-ขายผ่านแอปพลิเคชันได้ แม้ว่าเรามีเงินเพียง 50 บาทก็สามารถเริ่มสะสมไปเรื่อย ๆ ได้ และยังสามารถเปลี่ยนออกมาเป็นทองคำจริง ๆ ได้ด้วยเมื่อเราต้องการ
 
ช่องทางที่หก คือ กองทุนที่ไม่จำกัดขั้นต่ำในการลงทุน ได้แก่ "กองทุนหุ้น" ยกตัวอย่างเช่น กองทุน SET50 หรือ SET100 คำว่า SET50 หมายถึง การลงทุนในหุ้นใหญ่ 50 อันดับแรกของประเทศ เรียกได้ว่าเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ 50 อันดับ ส่วนกองทุน SET100 ก็คือหุ้นใหญ่ 100 อันดับแรกของประเทศเช่นกัน เป็นตัวช่วยได้มากสำหรับคนทีมีทุนน้อย แต่อยากลงทุน เพราะหากซื้อหุ้นของบริษัทอันดันต้น ๆ เพียงแค่ตัวเดียว จะต้องใช้เงินลงทุนที่เยอะมาก แต่ในความหมายของ SET50 คือซื้อทั้งหมด 50 ตัวในครั้งเดียวด้วยเงินน้อย ๆ
 
การลงทุนที่ได้ผลตอบแทนดีที่สุดคือการลงทุนในกลุ่มหุ้น เช่น ซื้อหุ้น ออมหุ้น รวมไปถึงกองทุนรวมหุ้น ยังเป็นตัวเลือกที่ได้ผลตอบแทนในระยะยาวสูงที่สุด เพียงแต่ในระยะสั้นจะมีความเสี่ยง หรือความผันผวนอยู่ด้วยเช่นกัน ดังนั้นต้องระมัดระวัง เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง ต้องศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน
 
ติดตาม รายการ “เงินทองของจริง” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35
 
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ : https://www.youtube.com/live/l4IOK7sUteM?feature=share

ข่าวที่เกี่ยวข้อง