logo เงินทองของจริง

โดนไล่ออก ? ได้เงินชดเชย ต้องทำอย่างไร เคล็ดไม่ลับ เพื่อคนว่างงาน | เงินทองของจริง

เงินทองของจริง : ในช่วงต้นปีแบบนี้ มีทั้งคนที่ดีใจจนหน้าบาน จากการได้โบนัสก็ดี หรือการปรับขึ้นเงินเดือนประจำปีก็ดี แต่ก็ยังมีคนอีกส่วนหนึ่งที่ต้อ โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์,กาย สวิตต์ ลีละพงศ์วัฒนา,แพรว ภัทรนันท์ ประยูรวงค์,เงินทองของจริง,เงินทองของจริง ช่อง 7,เงินทองของจริง 7HD,MONEY COACH,โค้ชหนุ่ม MONEY COACH,เศรษฐกิจ,การลงทุน,การเงิน,การออม,ออมเงิน,ข่าวการเงิน,ข่าว,ข่าวเศรษฐกิจ,CH7HDNEWS,TERO DIGITAL,โดนไล่ออกต้องทำอย่างไร,เงินชดเชยว่างงาน,เงินชดเชยตกงาน,มนุษย์เงินเดือน

2,546 ครั้ง
|
21 ก.พ. 2566
ในช่วงต้นปีแบบนี้ มีทั้งคนที่ดีใจจนหน้าบาน จากการได้โบนัสก็ดี หรือการปรับขึ้นเงินเดือนประจำปีก็ดี แต่ก็ยังมีคนอีกส่วนหนึ่งที่ต้องถูกเลิกจ้างกระทันหัน แล้วในกรณีเช่นนี้ นายจ้างต้องมีการชดเชยอย่างไรบ้าง ?
 
ต้องบอกก่อนเลยว่า การถูกเลิกจ้าง เป็นเรื่องน่าเศร้าของคนทุกคน เพราะเราจะไม่มีรายได้จากงานงานนั้น ในขณะเดียวกัน เราก็ยังต้องกินต้องใช้เงินอยู่ทุก ๆ วัน ซึ่งการชดเชยต่าง ๆ จากการออกจากงานก็จะแตกต่างกันออกไป 
 
  • กรณีที่หนึ่งคือ การลาออกโดยการสมัครใจ กรณีนี้จะไม่มีการชดเชยใด ๆ เพราะเราสมัครใจด้วยตัวของเราเอง
  • กรณีที่สองคือ การถูกเลิกจ้างจากการทำผิด หรือข้อบกพร่องต่าง ๆ กรณีนี้ก็จะไม่มีการชดเชยใด ๆ ให้เช่นกัน
  • กรณีที่สามคือ การถูกเลิกจ้างโดยที่เราไม่ได้ทำอะไรผิด แต่อาจจะเป็นเรื่องสภาพคล่องของบริษัท หรือเหตุผลอื่น ๆ โดยในกรณีนี้ ทางบริษัทหรือนายจ้าง จะต้องมีการชดเชยการขาดรายได้ให้กับเราด้วย ซึ่งจะอ้างอิงตามระยะเวลาการทำงานของเรา เช่น เรามีอายุงานครบ 120 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปี ก็จะมีเงินชดเชยให้ไม่น้อยกว่า 30 วัน หรือถ้าอายุงานมากกว่า 1 ปีขึ้นไป ก็จะมีเงินชดเชยให้เพิ่มขึ้นไล่เรียงขึ้นไปเรื่อย ๆ ตามกฎหมายใหม่ สูงสุดถึงอายุงาน 20 ปีขึ้นไป ซึ่งจะได้เงินชดเชยให้ไม่น้อยกว่า 400 วัน
 
อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องทำเพื่อไม่ให้เสียผลประโยชน์หลังถูกเลิกจ้างคือ คอยติดตามประสานงาน เช่น การตามเรื่องประกันสังคม เพราะเงินประกันสังคมที่จ่ายทุกเดือนนั้นเปรียบกับการซื้อประกัน ที่จะสามารถเป็นตัวช่วยเราได้ หลังจากเราตกงาน ซึ่งคนที่ทำงานจะเป็นการส่งจ่ายประกันสังคมในมาตรา 33 ซึ่งครอบคลุมในเรื่องการเจ็บป่วย อุบัติเหตุ รวมไปถึงการว่างงาน และมีอีกหนึ่งส่วนที่สะสมในลักษณะเงินบำนาญสำหรับเรา
 
สำหรับคนที่ถูกเลิกจ้างและเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 จะได้รับเงินชดเชย 50% ของฐานเงินเดือนจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท เช่น หากเงินเดือนมากกว่า 15,000 บาท จะคำนวณจาก 15,000 บาท แต่หากเงินเดือนไม่ถึง 15,000 บาท ก็จะคิดตามฐานเงินเดือนจริง แล้วคูณด้วย 50% เข้าไป โดยเราจะได้เงินส่วนนี้เป็นระยะเวลา 180 วันหรือ 6 เดือน หรืออีกกรณีหนึ่งคือการสิ้นสุดสัญญาการจ้างงาน เราก็จะได้รับเงินส่วนนี้เช่นกัน แต่จะคำนวณโดยการคูณ 30% เข้าไป เป็นระยะเวลา 90 วันแทน
 
เงินอีกก้อนหนึ่งที่ใช้ได้ คือจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แต่หากไม่จำเป็นถึงขั้นสุดจริง ๆ ก็จะไม่แนะนำให้นำเงินส่วนนี้ออกมาใช้ เพราะเป็นเงินเก็บที่ใช้ในการลงทุนในระหว่างที่เรายังทำงาน สะสมไว้เพื่อการเกษียณ ซึ่งหากเราตกงานอยู่ เราสามารถพักกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเอาไว้ก่อน แล้วเมื่อหางานใหม่ได้แล้ว เราค่อยโยกกองทุนของเราไปที่ใหม่ก็ได้ แต่หากเราสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้เกิน 5 ปีแล้ว เมื่อเราถอนออก ก็จะไม่เสียกำไรส่วนต่าง เรียกได้ว่ามีการหักภาษีเล็กน้อย แล้วได้เงินก้อนมาเพื่อยังชีพได้
 
ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องบอกว่าเมื่อเราตกงานแล้ว ไม่มีใครสามารถบอกเราได้เลยว่างานจะกลับมาเมื่อใด จึงอยากให้เริ่มเก็บออมตั้งแต่วันนี้ เพื่อเป็นเงินก้อนสำรองเผื่อฉุกเฉิน เป็นกันชนกับฟูกกันล้ม แต่หากกันชนกับฟูกกันล้มไม่พอ ก็ลองใช้สิทธิ์เงินชดเชยจากนายจ้าง และประกันสังคมก่อน พยายามอย่าให้ไปถึงกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และเมื่อพูดถึงการออกจากงานแล้ว ทำให้สิ้นสุดผู้ประกันตนมาตรา 33 เราสามารถส่งประกันสังคม มาตรา 39 ได้ต่อ เพื่อที่จะได้รับสิทธิ์สำหรับการดูแลต่าง ๆ เพราะชื่อคำว่า "ประกัน" คือการซื้อประกันให้กับตัวเอง
 
ติดตาม รายการ “เงินทองของจริง” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35
 
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ : https://www.youtube.com/live/oFLsr1_2kWw?feature=share

ข่าวที่เกี่ยวข้อง