logo เงินทองของจริง

เก็บเงินสนุก ด้วยเคล็ดลับการออมแบบมีกิมมิค ได้ผลดีเกินคาด ! | เงินทองของจริง

เงินทองของจริง : หลายคนตั้งใจที่จะเก็บเงิน บางคนใช้วิธีเก็บเฉพาะแบงก์ 50 บ้าง หรือเฉพาะเหรียญ 10 บ้าง โคชหนุ่มจะมีวิธีแนะนำ สำหรับการเก็บเงินอย่า โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์,กาย สวิตต์ ลีละพงศ์วัฒนา,แพรว ภัทรนันท์ ประยูรวงค์,เงินทองของจริง,เงินทองของจริง ช่อง 7,เงินทองของจริง 7HD,MONEY COACH,โค้ชหนุ่ม MONEY COACH,เศรษฐกิจ,การลงทุน,การเงิน,การออม,ออมเงิน,ข่าวการเงิน,ข่าว,ข่าวเศรษฐกิจ,CH7HDNEWS,TERO DIGITAL,เงินออม,เก็บเงิน,เงินเก็บ,วิธีเก็บเงิน,วิธีออมเงิน,เคล็ดลับการออมเงิน,เคล็ดลับการเก็บเงิน,สอนออมเงิน,สอนเก็บเงิน,เก็บเงินให้ไม่เบื่อ,เก็บเงินให้สนุก

12,823 ครั้ง
|
20 ก.พ. 2566
หลายคนตั้งใจที่จะเก็บเงิน บางคนใช้วิธีเก็บเฉพาะแบงก์ 50 บ้าง หรือเฉพาะเหรียญ 10 บ้าง โคชหนุ่มจะมีวิธีแนะนำ สำหรับการเก็บเงินอย่างไรดี ?
 
งานนี้ต้องบอกว่า วิธีการเก็บเงินนั้นมีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับจริตของแต่ละคน ยกตัวอย่างบางคนใช้วิธีการเก็บแบงก์ 50 เพราะเป็นแบงก์ที่ถูกผลิตออกมาน้อย ดังนั้นเวลาไปซื้อของและได้เงินทอนมาจึงเก็บไว้ บางคนเก็บเฉพาะแบงก์ 50 มาตลอดทั้งปี แคะกระปุกดูอีกทีมีเป็นแสน ซึ่งกรณีเช่นนี้ก็มีมาแล้ว
 
หรืออีกวิธีหนึ่งที่นิยมกันก็คือ การเก็บเศษเหรียญหรือเศษเงินทอน เช่นการใช้จ่ายด้วยเงินสด แล้วได้เงินทอนมาเป็นเหรียญต่าง ๆ ก็จะเก็บไว้ หรือบางคนใช้วิธีสแกนจ่ายก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยการตรวจสอบยอดคงเหลือในแต่ละวันผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร หากเรามีเศษ ๆ เช่น 12 บาท หรือ 22 บาท ก็ให้ตัดเศษเหล่านี้มาเก็บออม
 
อีกรูปแบบหนึ่งที่มีความนิยมคือ ออมเงินตามจำนวนวัน คือ เริ่มวันที่ 1 ของปี เก็บ 1 บาท ไปเรื่อย ๆ จนถึงวันที่ 365-366 ของปี เคยมีคนทำมาแล้วซึ่งตัวเลขคร่าว ๆ ประมาณ 7-8 หมื่นบาท ในระยะเวลาเพียงปีเดียว แต่วิธีการนี้อาจจะเหนื่อยหน่อย ในวันท้าย ๆ
 
ทั้ง 3 วิธีการเก็บเงินที่แนะนำไป สรุปรวมกันได้ว่า รูปแบบของการเก็บเงินเป็นสิ่งที่ไม่ตายตัว สไตล์ใครสไตล์มัน แล้วแต่ความถนัด โดยเราอาจจะทำให้การเก็บเงินมีลูกเล่น เพื่อให้รู้สึกสนุกกับการออม และสามารถแชร์วิธีการให้กับเพื่อน ๆ ไปใช้ต่อ ๆ กันได้
 
พูดถึงวิธีการออมเงินแบบสนุก ๆ กันไปแล้ว คราวนี้จะมาดูวิธีการออมเงินอย่างไร ให้งอกเงยกันบ้าง ซึ่งมนุษย์เราบางทีอาจจะควบคุมกลไกของตัวเองไม่ค่อยได้ จึงอยากให้ใช้วิธีการเข้าช่วย ซึ่งวิธีที่หนึ่งคือ การหักเงินจากบัญชีโดยตรง อาจจะลงในบัญชีเงินฝากประจำ หรือหากได้ดอกเบี้ยสูงก็อาจจะเก็บในบัญชีฝากประจำ 12 เดือน
 
วิธีที่สองคือ วิธีการออมแบบมีเงื่อนไข ยกตัวอย่างเช่น กินข้าวแกงทุกวันมื้อละ 30-40 บาท แต่หากวันไหนอยากกินบุฟเฟ่ต์ 690 บาท ก็จะหักเพิ่ม 10% ซึ่งก็คือ 69 บาท เป็นเงินเก็บ เรียกว่า "การเก็บภาษีฟุ่มเฟือยตัวเอง" จะทำให้เรารู้สึกว่าเรายังมีความสุขกับการใช้เงินที่อาจจะฟุ่มเฟือยในบางครั้งได้ แต่ยังมีเงินเก็บในบัญชีอยู่
 
วิธีที่สามคือ ตั้งเป็นงบประมาณรายวัน เช่น เรามีเงินเดือน 2 หมื่นบาท ตั้งงบไว้กิน 1 หมื่นบาท ให้นำตัวเลข 10,000 ไปหาร 30 เพื่อคำนวณค่ากินในแต่ละวัน ซึ่งเฉลี่ยประมาณวันละ 330 บาท หากวันไหนที่เรากินใช้ไม่ถึง 330 บาท ให้นำส่วนที่เหลือนั้นไปเก็บเป็นเงินออม
 
สุดท้ายแล้ว อยากให้คนที่คิดจะออมเงิน พยายามหาลูกเล่นสำหรับการออมที่สนุกกับตัวเองและเห็นผลที่สุด เพื่อการออมที่ยั่งยืนและงอกเงย และสำหรับใครที่ยังไม่เคยเริ่มออมเงินเลย "ไม่มีคำว่าสายเกินไป เริ่มต้นวันนี้ เพื่ออนาคตทางการเงินที่ดีในวันข้างหน้า"
 
ติดตาม รายการ “เงินทองของจริง” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35
 
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ : https://www.youtube.com/live/Pjexns2QhIs?feature=share

ข่าวที่เกี่ยวข้อง