logo เงินทองของจริง

คำนวณภาษี ! พ่อค้า-แม่ขาย ออนไลน์-หน้าร้าน | เงินทองของจริง

เงินทองของจริง : ปัจจุบันหลาย ๆ คน ผันตัวเองเป็น "พ่อค้า-แม่ค้า ออนไลน์" สะดวกสบาย ขายได้เป็นกอบเป็นกำ ลูกค้าสั่งเยอะ ส่งกันแทบไม่ทัน พ่อค้า-แม่ค โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์,กาย สวิตต์ ลีละพงศ์วัฒนา,แพรว ภัทรนันท์ ประยูรวงค์,เงินทองของจริง,เงินทองของจริง ช่อง 7,เงินทองของจริง 7HD,MONEY COACH,โค้ชหนุ่ม MONEY COACH,เศรษฐกิจ,การลงทุน,การเงิน,การออม,ออมเงิน,ข่าวการเงิน,ข่าว,ข่าวเศรษฐกิจ,CH7HDNEWS,TERO DIGITAL,เงินเก็บ,เงินออม,สอนออมเงิน,ขายของออนไลน์,ร้านค้าออนไลน์,ภาษี,ภาษีร้านค้าออนไลน์,พ่อค้าออนไลน์,แม่ค้าออนไลน์

1,254 ครั้ง
|
16 ก.พ. 2566
ปัจจุบันหลาย ๆ คน ผันตัวเองเป็น "พ่อค้า-แม่ค้า ออนไลน์" สะดวกสบาย ขายได้เป็นกอบเป็นกำ ลูกค้าสั่งเยอะ ส่งกันแทบไม่ทัน พ่อค้า-แม่ค้า ออนไลน์ ต้องเสียภาษีหรือไม่ และมีวิธีเสียภาษีอย่างไร ?
 
ตอบง่าย ๆ เลยว่า "คนไทยทุกคน" ต้องเสียภาษี เพียงแต่... รายได้ของแต่ละคน ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียหรือไม่ ซึ่งภาษีของ พ่อค้า-แม่ค้า มีอยู่ 2 รูปแบบใหญ่ ๆ
 
รูปแบบแรก คือ "ภาษีเงินได้" อธิบายง่าย ๆ คือ "ภาษีจากรายได้" ซึ่งรายได้ของ พ่อค้า-แม่ค้า ออนไลน์ เรียกว่ารายได้ประเภท 40 (8) ซึ่งเป็นรายได้จากพาณิชยกรรม หรือการค้าขายทั่วไป ซึ่งมีวิธีคิด โดยคิดจากเงินรายได้ 2 วิธี คือ วิธีเงินได้สุทธิ และวิธีเงินได้พึงประเมิน โดยต้องมีการยื่นภาษีเป็นประจำ เวลาสำหรับการยื่นภาษีช่วงกลางปีคือช่วงเดือน กันยายน และเวลาสำหรับการยื่นภาษีช่วงปลายปีคือช่วงสิ้นปี และยื่นในปีถัดไป
 
หากรายได้ของเราเยอะ เกิน 1.8 ล้านบาท รายได้ประเภทนี่เรียกว่าเป็นรายได้ที่สูงแล้ว เข้าเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีที่เรียกว่า "ภาษีธุรกิจเฉพาะ" หรือ VAT 7% เป็นภาษีที่คิดจากยอดขาย คูณ 7% ตั้งแต่บาทแรกที่เกิน 1,800,000 บาท โดย ภาษีธุรกิจเฉพาะ ไม่ได้มีเพียงมุมของการขายเท่านั้น ในฐานะคนค้าขาย หากเราซื้อสินค้าและบริการที่มีการคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม เราสามารถนำมาหักได้ เรียกว่าเป็น ภาษีซื้อ ภาษีขาย ดังนั้นคนทำมาค้าขายออนไลน์จะต้องดูค่าใช้จ่ายส่วนนี้ด้วย เพราะภาษีถือว่าเป็น "ค่าใช้จ่าย" ทั้งภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องทำความเข้าใจ และจ่ายให้ถูกต้อง
 
กรณีการจัดตั้งบริษัท หากรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี หากเราจดในนามบริษัท ทำให้มีข้อดีในเรื่องของการมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการค้าการขายของเรา ซึ่งสามารถนำมาหักได้โดยตรง ข้อที่เด่นมากคือเรื่องของเอกสารต่าง ๆ ที่เป็นระบบมากขึ้น เพราะหากเราค้าขายในนามบุคคลแล้วโดน VAT 7% ด้วยแล้ว จะเพิ่มความวุ่นวายมากในเก็บเอกสารต่าง ๆ แต่ในรูปแบบบริษัทก็ยังมีข้อเสีย คือ มีค่าตรวจสอบบัญชี ซึ่งในแต่ละปีจะมีค่าใช้จ่ายส่วนนี้หลายหมื่นบาท ดังนั้นอาจจะต้องประเมินว่ารายได้ของเราอยู่ในเกณฑ์ไหน เหมาะไหมที่จะเปิดเป็นบริษัท อาจจะต้องดูตัวเลขรายได้ประมาณการ ดูเรื่องตัวเลขรายจ่าย แล้วลองคิดภาษีทั้งสองแบบ ดูว่าแบบไหนเหมาะที่สุด
 
การคำนวณภาษี ภาษีเงินได้สำหรับผู้ประกอบการ หรือเจ้าของร้านค้าออนไลน์ มีวิธีการคำนวณภาษี 2 แบบ แบบแรกเรียกว่า "เงินได้สุทธิ" คือการนำรายได้ทั้งปีมาหักค่าใช้จ่าย และก็หักค่าลดหย่อน สองตัวนี้จะเป็นรายจ่ายทั้งคู่ คำนวณได้เท่าไหร่จะเป็นเงินได้สุทธิ แล้วนำไปคำนวณฐานภาษีตั้งแต่ 0-35 และอย่างที่บอกว่ารายได้ของคนค้าขาย เป็นรายได้ที่ถูกจัดกลุ่มอยู่ในรายได้ประเภทที่ 8 หรือ 40 (8) โดยตัวรายได้ที่หาได้ทั้งหมดจะถูกหักด้วยค่าใช้จ่ายก่อนเป็นลำดับแรก ซึ่งค่าใช้จ่ายนั้นมีให้เลือก 2 รูปแบบ
 
ค่าใช้จ่ายแบบแรก คือ "ค่าใช้จ่ายแบบเหมา" ในกรณีที่เอกสารเรามีไม่ครบ เราสามารถเหมาโดยการหักค่าใช้จ่าย 60% ไปเลย เช่นทั้งปีขายได้ 1 ล้านบาท หักไปเลย 6 แสนบาท แล้วนำ 4 แสนบาท ไปหักค่าลดหย่อย จนเป็นเงินได้สุทธิ จากนั้นจึงคำนวณภาษี
 
ค่าใช้จ่ายแบบที่สอง คือ ในกรณีมีเอกสารครบ ทั้งใบเสร็จ ใบกำกับต่าง ๆ ซึ่งดูแล้วเกิน 60% เราสามารถเลือกเป็นใบเสร็จ หรือใบกำกับได้ตามจริง
 
ค่าใช้จ่ายทั้ง 2 รูปแบบนั้นเราสามารถเลือกได้ โดยมีหลักการเลือก คือ ดูตัวเลขว่าแบบไหนมากกว่าก็ให้เลือกแบบนั้นได้เลย ซึ่งในแต่ละปีเราสามารถเลือกไม่เหมือนกันได้ จากนั้นมาหักค่าลดหย่อน มีตั้งแต่ค่าลดหย่อนส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็น การซื้อประกัน กองทุน ค่าเลี้ยงดูบุพการี ดอกเบี้ยบ้าน เหล่านี้สามารถใช้เป็นค่าลดหย่อยได้ ส่วนที่เหลือจะเป็นเงินได้สุทธิที่นำไปคำนวณภาษี
 
แต่สัมพากรจึงมีวิธีหนึ่ง เรียกว่าวิธี "รายได้พึงประเมิน" คือนำรายได้ของเราคูณ 0.5% ไปเลย ได้ตัวเลขเท่าไร นำไปเทียบกับตัวเลขค่าใช้จ่าย แบบไหนมากกว่าใช้แบบนั้น ดังนั้น หากเราเป็น พ่อค้า-แม่ค้า เราต้องคำนวณภาษีให้เป็น
 
ติดตาม รายการ “เงินทองของจริง” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35
 
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ : https://youtu.be/iZ3wqcp0qbE

ข่าวที่เกี่ยวข้อง