logo ถกไม่เถียง

ตำรวจมาเอง ! แฉกลโกงสรรพากรเก๊ หลอกแม่ค้า หน้าจ่อโทรศัพท์ ดูดเงิน 1.7 แสน

ถกไม่เถียง : แม่ค้าเศร้า ถูกสรรพากรเก๊หลอก ให้เอาหน้าจ่อโทรศัพท์ ดูดเงิน 1.7 แสนหายวั๊บ ตำรวจแฉ มิจฉาชีพใช้วิธีรีโมทเข้าควบคุมโทรศัพท์ ! ถกไม่เถียง,ทินถกไม่เถียง,ช่อง7HD,TERODigita,มิจฉาชีพ,กรมสรรพากร,หลอกโอนเงิน,ดูดเงิน,แอปปลอม,มัลแวร์,แอปดูดเงิน,คอลเซ็นเตอร์,แม่ค้า,หลอกดูดเงิน,ธนาคาร,คนละครึ่ง,กรุงไทย,ร้านขายข้าว,แฉกลลวงมิจฉาชีพ,แก๊งคอลเซ็นเตอร์,สรรพากรเก๊,ดูดเงิน1.7แสน,หายวั๊บ,ตำรวจแฉ,แอปรีโมท,ควบคุมโทรศัพท์

1,527 ครั้ง
|
08 ก.พ. 2566
แม่ค้าเศร้า ถูกสรรพากรเก๊หลอก ให้เอาหน้าจ่อโทรศัพท์ ดูดเงิน 1.7 แสนหายวั๊บ ตำรวจแฉ มิจฉาชีพใช้วิธีรีโมทเข้าควบคุมโทรศัพท์ ! 
 
ถกไม่เถียง : ตำรวจมาเอง ! แฉกลโกงสรรพากรเก๊ หลอก
 
            วันที่ 8 ก.พ. 66 สมปอง ม่วงจาบ (ปอง) ผู้เสียหาย ออกมาเล่าเรื่องราวผ่านรายการ "ถกไม่เถียง" ทางช่อง 7HD กด35 ดำเนินรายการโดย ทิน โชคกมลกิจ เล่าว่า เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 66 มีโทรศัพท์โทรเข้ามาหาตน อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากร ถามตนว่า ใช่ร้านข้าวแกงแม่ปองใช่ไหม ซึ่งก็คือร้านข้าวแกงของตนเอง พร้อมถามอีกว่าตนได้เข้าร่วมโครงการคนละครึ่งไหม เปิดเมื่อวันที่เท่าไหร่ ด้วยความที่ตนจำไม่ได้ เลยส่งโทรศัพท์ให้ลูกสาวคุยต่อ 
 
ถกไม่เถียง : ตำรวจมาเอง ! แฉกลโกงสรรพากรเก๊ หลอก
 
            ด้าน แนน ลูกสาวของผู้เสียหาย เล่าต่อว่า ตอนที่ตนได้คุยกับมิจฉาชีพนั้น เขาได้บอกข้อมูล ชื่อนามสกุล และเลขที่บัตรประชาชนของแม่มาถูกต้อง และยังบอกอีกว่า ร้านข้าวแกงของแม่ จดทะเบียนเข้าโครงการคนละครึ่งตั้งแต่วันที่เท่าไหร่ ซึ่งข้อมูลมันตรงทุกอย่าง ทำให้ตอนนั้นตนเชื่อว่าเขาเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐจริง ๆ จากนั้นเขาก็อ้างว่าจะให้ยื่นแบบฟอร์มว่าตนรับรู้เรื่องการเสียภาษีแล้ว แต่ร้านของตนไม่ต้องจ่ายค่าภาษีอะไร แค่ให้ยืนยัน พร้อมทั้งถามตนต่อว่า ตนสะดวกเข้าไปยื่นเรื่องที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองปทุมธานี ไหม ตนตอบไปว่าไม่สะดวก
 
            จากนั้นเขาก็ให้ตนเข้าไปยืนยันในเว็บของสรรพากร โดยส่งลิงค์เว็บมาให้ทางไลน์ เมื่อตนกดเปิดเข้าไป หน้าเว็บเหมือนกับของสรรพากรทุกอย่าง ซึ่งก็มีพอปอัปตัวการ์ตูน เขาให้ตนกดตรงนั้น เพื่อดาวน์โหลดแอปฯ เมื่อโหลดเสร็จแล้วก็เด้งเข้าหน้าแอปฯ ซึ่งได้มีการให้กดยืนยันการมองเห็นของแอปฯดังกล่าว ซึ่งตอนนั้นตนไม่ได้ดูอย่างละเอียด เลยกดยืนยันไป แต่ตอนแรกนั้นยังไม่เกิดอะไร เพราะตนโหลดแอปฯดังกล่าวมาใช้ในเครื่องตัวเอง มิจฉาชีพเลยบอกให้ตนโหลดแอปฯ เข้าเครื่องแม่ ให้เหตุผลว่าข้อมูลมันไม่เชื่อมต่อกัน ตนเลยจัดการโหลดแอปฯ และยืนยันผ่านเครื่องแม่ จากนั้นจอโทรศัพท์ก็ขึ้นเป็นตัวเลข 6 ตัว รออยู่พักหนึ่งเขาก็ให้เอาโทรศัพท์ไปให้แม่แสกนหน้า
 
ถกไม่เถียง : ตำรวจมาเอง ! แฉกลโกงสรรพากรเก๊ หลอก
 
            ทั้งนี้ เขาบอกให้แม่ตนเอาหน้าจ่อเข้าไปใกล้ ๆ อีก เพื่อแสกนหน้า แต่ว่า หน้าจอโทรศัพท์มันยังค้างเป็นหน้าตัวเลขอยู่เลย ไม่ใช่หน้าจอแสกนหน้า อีกทั้งเขายังรู้ว่าแม่ตนไม่ได้เอาหน้าเข้าไปใกล้ ตนเลยเอะใจ จึงพยายามกดปิดเครื่อง แต่ก็ทำไม่ได้ มาควบคุมเครื่องได้ตอนที่มิจฉาชีพวางสายไปแล้ว ซึ่งก็ไม่ทัน เงินถูกโอนออกไปแล้ว 179,700 บาท 
 
            นาง สมปอง ม่วงจาบ กล่าวต่อว่า เมื่อรู้ว่าเงินหายไป ตนก็สติแตก เพราะมันเป็นเงินจำนวนมาก เครียดมากถึงขั้นจะจบชีวิตตัวเอง เพราะเป็นเงินเก็บมาทั้งชีวิต ตนตั้งข้อสงสัยว่า ทำไมมิจฉาชีพเข้าไปดึงเงินออกไปเป็นแสน โดยที่ไม่ได้มีรหัสส่วนตัวอะไรของตนเลยสักอย่าง อีกทั้งตนยังรู้สึกโกรธธนาคารมาก เพราะข้อมูลทุกอย่างที่มิจฉาชีพเอามาคุย มันมาจากธนาคาร ทั้งชื่อร้าน ช่วงเวลาเปิดร้าน ช่วงเวลาที่ร่วมโครงการคนละครึ่ง มันตรงกันหมด ทำให้คิดว่าเป็นเจ้าหน้าที่จริง ๆ 
 
ถกไม่เถียง : ตำรวจมาเอง ! แฉกลโกงสรรพากรเก๊ หลอก
 
            ฟาก พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รอง ผบก.ปอท. เผยว่า ตอนนี้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ จะใช้มุกอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร กับกระทรวงพาณิชย์ จากนั้นจะหลอกให้เหยื่อติดตั้งโปรแกรม ซึ่งเป็นโปรแกรมตระกูล Remote Desktop เอาไว้ควบคุมอุปกรณ์โทรศัพท์ของอีกฝ่าย โดยเวลาถูกควบคุมจะขึ้นสัญลักษณ์สีแดงบนจอ แล้วเขาจะเห็นหน้าจอโทรศัพท์ของเราทุกอย่าง ประเด็นสำคัญเมื่อเขาควบคุมแล้ว มิจฉาชีพจะพยายามหลอกเอารหัสธนาคาร เช่น ให้เราลองกดรหัสธนาคาร หรือให้เราลองโอนเงินเป็นค่าธรรมเนียมของหน่วยงานรัฐ ซึ่งเขาจะคอยดูรหัสธนาคารที่เรากด ผ่านแอปฯควบคุม 
 
            ส่วนที่คุณแนน กดยืนยันตัวตนไป คือการอณุญาตให้แอปฯควบคุม เข้าถึงการควบคุมโทรศัพท์ได้ และลิงก์ที่เขาให้กดเข้าไปโหลดแอปฯ หน้าเว็บก็เป็นของปลอม เขาสร้างเพื่อให้เหมือนหน้าเว็บกรมสรรพากรของจริง ข้อสังเกตุ ถ้าเป็นเว็บของหน่วยงานราชการ ส่วนมาก url จะลงท้ายด้วย .go.th ส่วนของมิจฉาชีพจะเป็น .com 
 
            อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีขณะนี้ ยังไงก็ต้องเข้าไปดาวน์โหลดแอปฯมาก่อน มิจฉาชีพถึงจะก่อเหตุได้ อยู่ที่มุกของเขาว่าจะล่อลวงให้เราโหลดอย่างไร สำหรับวิธีการป้องกัน หากมีบุคคลโทรเข้ามา อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ แล้วส่งลิงก์มาให้โหลดแอป ให้สันนิษฐานไว้เลยว่าเป็นมิจฉาชีพ ให้วางสายทันที ก่อนวางสายให้ถามชื่อ แล้วนำไปเช็กกับหน่วยงานนั้น ๆ 
 
            ขณะเดียวกัน ตอนนี้ธนาคารหลายแห่งเริ่มมีการป้องกัน โดยแอปฯของธนาคารจะตรวจจับ หากรู้ว่ามีการถูกควบคุมอยู่ จะไม่สามารถทำธุรกรรมการเงินได้ ส่วนถ้าใครโดนหลอกไปแล้ว สามารถเข้าไปแจ้งความออนไลน์ผ่านทาง www.thaipolice online.com และจะมีการติดต่อไปยังธนาคารเพื่ออายัดเงิน จากนั้นระบบจะนัดไปพบกับพนักงานสอบสวนอีกครั้ง ซึ่งได้รับการให้ความร่วมมือจากธนาคารแห่งประเทศไทย อีกทั้งสามารถตรวจสอบผ่านระบบได้ด้วย 
 
ถกไม่เถียง : ตำรวจมาเอง ! แฉกลโกงสรรพากรเก๊ หลอก
 
            ทั้งนี้ ร.ต.อ.ธนโชติ นาคะโฆษิตสกุล รอง สว.(สอบสวน) กก.3 บก.ปอท. ได้สาธิตวิธีการที่มิจฉาชีพใช้หลอกผู้เสียหาย ตั้งแต่ต้นเรื่องที่เป็นหน้าเว็บปลอม การดาวน์โหลดแอปฯควบคุม กระทั่งวิธีการเข้าควบคุมโทรศัพท์ของผู้เสียหาย ซึ่งจะเห็นได้ว่าโทรศัพท์ของมิจฉาชีพ จะเห็นหน้าจอของฝั่งผู้เสียหายทั้งหมด รวมทั้งยังสามารถเข้าไปทำอะไรก็ได้ในโทรศัพท์ของผู้เสียหาย อย่างไรก็ตาม ร.ต.อ.ธนโชติ ย้ำว่า ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ระบบ Android หรือ Ios มีโอกาสโดนทั้งหมด 
 
ถกไม่เถียง : ตำรวจมาเอง ! แฉกลโกงสรรพากรเก๊ หลอก
 
ติดตาม  รายการข่าวเย็นประเด็นร้อน ช่วง "ถกไม่เถียง"  ดำเนินรายการโดย “ทิน โชคกมลกิจ”  ได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.00 น. ทางช่อง 7HD กด 35 
 
ชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtu.be/2mOhVGM814U

ข่าวที่เกี่ยวข้อง