logo เช้านี้ที่หมอชิต

เคลียร์ชัด ! ม้วนเดียวจบ “บุหรี่ไฟฟ้า” ทำไมถึงผิดกฎหมาย | ขยายข่าว กับ กาย สวิตต์

เช้านี้ที่หมอชิต : เช้านี้ที่หมอชิต - วันนี้ เราจะมาไขข้อข้องใจว่าทำไม บุหรี่ไฟฟ้า ถึงผิดกฎหมาย ใครขาย นำเข้า ครอบครอง แม้จะไม่รู้ว่าผิด ก็อ้างไม ข่าว,ช่อง7สี,ช่อง7HD,กด35,ข่าวช่อง7,CH7HD,รายการ,ดูย้อนหลัง,คลิปย้อนหลัง,CH7HDNEWS,ข่าวการเมือง,ข่าวเศรษฐกิจ,ข่าวบันเทิง,ข่าวโซเชียล,ข่าวออนไลน์,ข่าวสังคม,ข่าวอาชญากรรม,ข่าวกีฬา,ข่าวภูมิภาค,ข่าวด่วน,ข่าวเด็ด,ข่าวร้อน,ข่าวสด,ข่าวใหม่,ข่าวล่าสุด,ch7 news,เช้านี้ที่หมอชิต,ข่าวเช้า,ข่าวเช้าช่อง 7,เช้านี้ที่หมอชิตวันนี้,เช้านี้ที่หมอชิต ล่าสุด,เช้านี้ที่หมอชิต ช่อง7,TERO Digital

325 ครั้ง
|
03 ก.พ. 2566
เช้านี้ที่หมอชิต - วันนี้ เราจะมาไขข้อข้องใจว่าทำไม บุหรี่ไฟฟ้า ถึงผิดกฎหมาย ใครขาย นำเข้า ครอบครอง แม้จะไม่รู้ว่าผิด ก็อ้างไม่ได้ ต้องถูกริบทำลายตามกฎหมาย ใครครอบครอง หรือรับฝาก โทษถึงขั้นจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับเป็น 4 เท่าของราคาสินค้า ส่วนคนที่ครอบครองบุหรี่ไฟฟ้าตอนนี้ มีคำแนะนำจากทนายมาฝาก
 
จากที่กระแสสังคมตั้งคำถามกันมากในระยะนี้ ว่า เหตุใดบุหรี่ไฟฟ้าถึงผิดกฎหมาย ทั้ง ๆ ที่เห็นมีวางขาย ผู้คนใช้กันเกลื่อน เรื่องนี้ ทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ให้ความรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง
 
กรณีผู้ขายหรือผู้ให้บริการบุหรี่ไฟฟ้า คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้มีคำสั่งที่ 9/2558 เรื่อง ห้ามขายหรือห้ามให้บริการสินค้า บารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า หรือตัวยาบารากู่ น้ำยาสำหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งมีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายหลายชนิด รวมทั้งโลหะหนักที่เป็นสารก่อมะเร็ง และมีปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจส่งผลกระทบเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
 
ดังนั้น ผู้ใดขายหรือให้บริการโดยมีค่าตอบแทน รวมถึงการซื้อมาเพื่อขายต่อ มีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 600,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
กรณีผู้นำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า มีความผิดตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องกำหนดให้บารากู่ และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า เป็นสินค้าที่ต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ.2557 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับเป็นเงิน 5 เท่าของราคาสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับ กับให้ริบบุหรี่ไฟฟ้า รวมทั้งสิ่งที่ใช้บรรจุและพาหนะใด ๆ ที่ใช้ในการบรรทุกสินค้าบุหรี่ไฟฟ้านั้นด้วย
 
ภาพ กราฟิก 4 นอกจากนั้นยังเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 244 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลอาจสั่งริบของนั้นก็ได้ ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่
ภาพบุหรี่ไฟฟ้า
 
บุหรี่ไฟฟ้า ห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร ดังนั้น ผู้ครอบครองหรือรับฝากไว้ จะมีความผิดฐานช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้อง ตามมาตรา 246 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411/2564 ทั้งนี้ เมื่อบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าต้องห้าม แม้จะไม่มีเจตนาหรือไม่รู้ว่าเป็นของมีความผิดก็ต้องถูกริบให้ตกเป็นของ แผ่นดินและนำไปทำลายตามกฎหมายของศุลกากร
 
ส่วนใครที่ครอบครองบุหรี่ไฟฟ้าอยู่ตอนนี้ อยากรู้ว่าจะต้องทำอย่างไร ทนายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ เคยทำคดีว่าความให้คนที่ถูกดำเนินคดีครอบครองบุหรี่ไฟฟ้ามาแล้ว ทนายบอกว่า ก่อนหน้านี้อาจจะอ้างได้ว่า ไม่รู้ว่ามีประกาศห้ามนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า แต่ว่าตอนนี้ มีคำตัดสินจากศาลฎีกาออกมาแล้ว จะไปอ้างแบบนั้นไม่ได้แล้ว 
 
พบกับรายการ “เช้านี้ที่หมอชิต” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 05.50-7.30 น. ทางช่อง 7HD กด 35 
 

รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtu.be/wsKrF6thfak