logo ถกไม่เถียง

เปิดใจสาวไอที เผชิญโรคกลัวรัก กลัวจากลา กลัวถูกทอดทิ้ง หวิดเป็นบ้า สู่ชีวิตสุดปัง !

ถกไม่เถียง : สาวใจสู้ เจ้าของหนังสือ ใต้รอยกรีด ป่วยเป็น โรคบุคลิกภาพแปรปรวน กลัวการถูกทิ้ง กลัวการจากลา อารมณ์แปรปรวน เยียวยาใจด้วยการกรีดแขน ผ่ ถกไม่เถียง,ทินถกไม่เถียง,ช่อง7HD,TERODigital,ใต้รอยกรีด,เมลาณี,สาวไอที,โรคซึมเศร้า,จิตแพทย์,รักษา,ข้อความถึงตัวฉัน,สินฝ้าย,กำลังใจ,โรคบุคลิกภาพแปรปรวน,โรคBDP,ฆ่าตัวตาย,โรคกลัวรัก,กลัวจากลา,ถูกทอดทิ้ง,ชีวิตปัง,กรีดแขน,รอยสัก,สักทับแผล,เมทินี ชัยสิทธิ์

605 ครั้ง
|
22 ธ.ค. 2565
สาวใจสู้ เจ้าของหนังสือ "ใต้รอยกรีด" ป่วยเป็น "โรคบุคลิกภาพแปรปรวน" กลัวการถูกทิ้ง กลัวการจากลา อารมณ์แปรปรวน เยียวยาใจด้วยการกรีดแขน ผ่านการจบชีวิตตัวเองหลายครั้ง  อะไรเป็นตัวจุดประกาย ให้เธอกลับมามีชีวิตสุดปังได้อีกครั้ง !
 
ถกไม่เถียง : เปิดใจสาวไอที เผชิญโรคกลัวรัก กลัวจ
 
              วันที่ 22 ธ.ค. 65 เมทินี ชัยสิทธิ์ (สินฝ้าย) ผู้เขียนหนังสือใต้รอยกรีด ออกมาเล่าเรื่องราวผ่านรายการ “ถกไม่เถียง” ทางช่อง 7HD กด35 ดำเนินรายการโดย ทิน โชคกมลกิจ เล่าว่า ตนป่วยเป็นโรคบุคลิกภาพแปรปรวน ชนิดก้ำกึ่ง (borderline personality disorder หรือ BPD) ตรวจเจอตอนอายุ 25 ซึ่งเจอโรคซึมเศร้าด้วย โดยโรค BPD นี้ จะทำให้เราไม่สามารถควบคุมอารมณ์เหวี่ยงของตัวเองได้ อารมณ์เราจะเหวี่ยง ขึ้นลง ในช่วง 1 วินาทีได้ จะคิดแต่ว่า คนอื่นไม่เกลียด ก็รักเรา จะไม่มีตรงกลาง ซึ่งตามจริงความรู้สึกของบางคน อาจจะไม่ได้ทั้งรัก หรือเกลียด แต่เรามองไม่เห็น และจะเป็นคนที่ไม่เชื่อมั่นในอะไรเลย แม้แต่ตัวตนของตัวเอง เวลามีความรักก็กลัวจะโดนทิ้ง คิดว่า "พรุุ่งนี้เขาต้องไม่รักฉันแน่เลย" จะมีสมมติฐานไปในทางลบเสมอ ทำให้มองไม่เห็นความสุขที่แท้จริง จะมีความคิดอยากตายอยู่เสมอ 
 
ถกไม่เถียง : เปิดใจสาวไอที เผชิญโรคกลัวรัก กลัวจ
 
              ตนรู้ว่าตัวเองไม่ปกติ ตั้งแต่อายุ 14 แล้ว ตนเคยพยายามฆ่าตัวตาย 2-3 ครั้ง แต่ไม่สำเร็จ และพฤติกรรมที่ทำเรื่อย ๆ ตั้งแต่เด็กคือการ "กรีดตัวเอง" เพราะในช่วงเวลานั้น ตนรู้สึกเหมือนมันคือทางออกเดียว ทำแล้วมันรู้สึกดีขึ้น รู้สึกกลับมามีชีวิตปกติได้ มันเหมือนเราเบี่ยงเบนเรื่องแย่ที่เราเจอ ให้ไปเจออะไรที่แย่กว่า แล้วเราจะรู้สึกว่าที่ผ่านมาไม่ได้แย่เท่าไหร่ เลยทำมาเรื่อย ๆ ซึ่งกรีดทุกส่วนในร่างกาย ยกเว้นใบหน้า ปัจจุบันที่สักเยอะ ๆ เพราะมันมีรอยแผลเยอะ 
 
              ขณะเดียวกัน ครอบครัวก็เพิ่งมารู้เรื่องตอนอายุ 25 ร่องรอยบาดแผลต่าง ๆ เขาก็ไม่เคยรู้มาก่อน ตนเก็บไม่ให้พวกเขารู้ มันเป็นผลมาจากที่ตนไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ด้วย เขาแยกทางกัน ทำให้ตนต้องไปอยู่กับน้า พอไปอยู่กับน้า ตนก็รู้สึกเหงา เลยเขียนจดหมายส่งหาที่บ้าน ว่าคิดถึง อยากกลับไปอยู่บ้าน แต่เขากลับไม่เชื่อ ถามตนกลับว่า "เล่นตลกใช่ไหม" จนตนรู้สึกไม่มีทางออก คุยกับน้า บอกเขาว่า ตนเหงา น้าก็ตอบกลับว่า "เหงาได้ยังไง มีหมาตั้ง4ตัว" ซึ่งตอนนั้นเราอายุ 14 เราไม่เข้าใจ จนตนคิดว่า อุตส่าห์หาความช่วยเหลือ แต่ไม่มีใครรับฟัง สุดท้ายก็เลยจบที่การกรีดตัวเอง ร่างกายมันก็เลยจำ แต่ทว่าตอนที่ตรวจเจอโรค ก็ได้เข้ารับการรักษา แต่ก็ไม่ได้เน้นการรักษาแบบจิตบำบัด ใช้การกินยาเอา ซึ่งมันก็เหมือนแค่การประคองอาการ มันก็เป็น ๆ หาย ๆ ยังมีการพยายามฆ่าตัวตายซ้ำ ๆ มีการไปใช้ยาเสพติด 
 
ถกไม่เถียง : เปิดใจสาวไอที เผชิญโรคกลัวรัก กลัวจ
 
              ทั้งนี้ ช่วงที่แย่ที่สุด คือ ช่วงที่ตนเขียนหนังสือ "ใต้รอยกรีด" ที่เป็นหนังสือเกี่ยวกับมุมมองของเราว่าทำไมถึงอยากทำร้ายตัวเอง และพิสูจน์ว่าตนเองดีพอที่จะอยู่บนโลกใบนี้ ซึ่งตอนนั้นก็คิดว่าตัวเองจะก้าวผ่านโรคนี้ได้แล้ว เลยเขียนหนังสือเล่มนี้ออกมา แต่ว่าหลังจากนั้น ตนถูกเลือกให้ไปทำงานที่ตุรกี ตนก็ได้ระบุบอกเขาว่าตนเป็นโรคซึมเศร้า และโรคBPD ทางนั้นเขาก็โอเค แต่พอตนไปถึง เขาเห็นตนมีรอยกรีด เขาก็ส่งตนกลับไทยเลย จากนั้นก็เริ่มดาวน์มากขึ้นเรื่อย ๆ จนมีความคิดว่า "พ่อแม่ไม่อยากให้เราตาย แต่ไม่ได้บอกให้เราอยู่" ตนเลยคิดว่า ไม่จำเป็นต้องใช้ชีวิตก็ได้ แค่มีชีวิตหายใจไปวัน ๆ จากนั้น 3 ปี ก็ไม่ทำอะไรเลย อยู่เฉย ๆ จนน้ำหนักขึ้นมา 80 กิโลกรัม กลับไปติดยาเสพติด ใส่ผ้าอ้อม เพราะไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้แล้ว หนักเข้า จนพ่อแม่ขอให้ตนไปเป็นคนพิการ ไร้ความสามารถทางจิต 
 
ถกไม่เถียง : เปิดใจสาวไอที เผชิญโรคกลัวรัก กลัวจ  ถกไม่เถียง : เปิดใจสาวไอที เผชิญโรคกลัวรัก กลัวจ
 
              ก็ได้เดินทางไปพบคุณหมอแล้ว แต่คุณหมอไม่ยอมเซ็นให้ เขาบอกกับพ่อแม่ของตนว่า "เดี๋ยวจะเอาลูกมาคืน หมอขอไม่เซ็นให้" เขาเชื่อว่าตนจะหายได้ เขาจะช่วย ซึ่งตอนนั้นตนก็ไม่เชื่อแล้วว่าตัวเองจะสามารถกลับมาได้ แต่ความเชื่อนั้นของหมอจุดประกายตน โดยคุณหมอจัดหายาทางจิตเวชมาให้ตนใช้แทนยาเสพติด อยากได้อะไรให้บอกหมอ จนตนละอายใจ ว่ายังมีคนเชื่อตนอยู่ จากนั้นก็เริ่มดีขึ้น ค่อย ๆ ปรับทีละนิด จากที่เคยกลัวว่าจะกลับมาสวยไหม จะมีงานทำไหม ก็จัดการตัวเองให้อยู่กับความจริง มีวินัย มันก็เริ่มค่อย ๆ ดีขึ้นต่อเนื่อง จนวันนี้(22 ธ.ค. 65) ครบ 1 ปี ที่ไม่ต้องรักษาด้วยยาแล้ว คิดว่าตัวเองน่าจะหายแล้ว กลับมาทำงานได้แล้ว และพยายามมีความสุขกับสิ่งเล็ก ๆ แต่อย่างไรก็ต้องเฝ้าระวัง 
 
ถกไม่เถียง : เปิดใจสาวไอที เผชิญโรคกลัวรัก กลัวจ
 
              ด้าน พญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ เล่าว่า โรคBPD เราอาจจะไม่ค่อยได้เจอบ่อย หรือบางทีมันอาจจะมาควบคู่กับโรคอื่นด้วย ซึ่งมันก็เกิดจากสารเคมีในสมองไม่สมดุล ไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ที่มันควรจะเป็น เลยทำให้เรามีความเชื่อ มีอารมณ์ มีพฤติกรรม ที่ขึ้น ๆ ลง ๆ ส่วนการสังเกตุโรคนี้นั้น ตนแนะนำว่า อย่าเพิ่งไปสังเกตุว่าเป็นโรคอะไร ให้สังเกตุว่าอารมณ์ของเราในแต่ละวันมันเป็นอย่างไรน่าจะดีกว่า ซึ่งถ้าเกิดเราสังเกตุพบว่าทุกวันส่วนใหญ่เรามีความสุขดี ก็ไม่ต้องสนใจ แสดงว่าชีวิตนี้ยังโอเคดี แต่ถ้าเราดูแล้วทุกวันเราทุกข์ เราเศร้า เราแย่ แล้วมันส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเราเป็นเวลานาน ภายใน 1 เดือน เราควรกลับมาเข้าที่เข้าทางได้แล้ว 
 
              อย่างไรก็ตาม พอมันเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ พฤติกรรม ต้องฝึกการจัดการอารมณ์ตัวเอง การควบคุมพฤติกรรมตัวเอง ซึ่งการฝึกบางอย่างมันอาจจะต้องใช้อายุ ใช้ประสบการณ์ มันเป็นโรคของความเข้าใจสังคม  การเปลี่ยนแปลง บวกกับสารเคมีในสมองร่วมกัน เพราะฉะนั้นหลายอย่าง พออายุมากขึ้น มันจะดีขึ้น ทั้งนี้จะหายขาดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการปรับตัวได้ขนาดไหน ยามันอาจจะช่วยได้ 60-70% ที่เหลืออยู่ที่ตัวเรา ขณะเดียวกัน ชาวบ้านที่ไม่มีกำลังทรัพย์มากนัก ก็สามารถเข้ารับการรักษาได้ ประเทศเรามีหลักประกันสุขภาพครอบคลุมตรงนี้อยู่ 
 

              นอกจากนี้ ผลสำรวจวัยรุ่นไทยกว่า 2,000 คน 1 ใน 4 เคยคิดฆ่าตัวตาย ขณะที่ บางคนก็ไม่รู้ว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ทำให้ไม่ได้รับการรักษา จนนำไปสู่การทำร้ายตัวเอง และจบชีวิตตัวเอง เรายังมีเรื่องราวของน้องอีกคนหนึ่งที่กล้าหาญมาก ที่แต่งเพลง "Note To My Younger Self" หรือในชื่อไทย "ข้อความถึงตัวฉัน" แต่งโดย "เมลณี มาร์คาร์" ที่มาของเพลงนี้ มาจากการที่เธอถูกบูลลี่ จากเพื่อน ทำให้เกิดปมในใจ ทำร้ายตัวเอง และเป็นโรคซึมเศร้า แต่เธอกล้าที่จะก้าวออกมาเข้ารับการรักษา จนสุดท้ายเธออยากแบ่งปันเรื่องราวของเธอผ่านบทเพลงนี้ ซึ่งรายได้ทั้งหมดจากเพลงนี้ จะมอบให้กับ "สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์"
 
ถกไม่เถียง : เปิดใจสาวไอที เผชิญโรคกลัวรัก กลัวจ
 
ติดตาม  รายการข่าวเย็นประเด็นร้อน ช่วง "ถกไม่เถียง"  ดำเนินรายการโดย “ทิน โชคกมลกิจ”  ได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.00 น. ทางช่อง 7HD กด 35 
 
ชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtu.be/b35brwB1l7c