เคยหรือไม่ คนรอบข้าง ญาติพี่น้อง ลูกหลาน เพื่อนสมัยเรียน เพื่อนที่ทำงาน หรือคนใกล้ชิดอีกมากมายขอให้เราช่วยเหลือเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ไม่ว่าจะขอยืมเงิน หรือให้ช่วยค้ำประกันเงินกู้ สุดท้ายแล้วการประเมินความพร้อมของตัวเองสำคัญมาก หากผู้ให้เราช่วยค้ำประกันหนีหายไป เราต้องพร้องรับผิดชอบแทน
ต้องบอกก่อนว่า การค้ำประกัน ก็เหมือนกับการที่เราไปการันตีว่าคนนี้ จะไม่หนีหายไปไหน ถ้าเกิดว่าเขาหายไป เราต้องเป็นผู้รับผิดชอบใช้หนี้แทน
โดยหลักการแล้วเจ้าหนี้สามารถมาติดตามหนี้กับผู้ค้ำประกันได้เหมือนกัน แล้วโดยกฏหมายเดิม เวลาที่ฟ้องถ้าตามลูกหนี้ไม่ได้ เวลาเซ็นสัญญา จะใช้คำว่า ผู้ค้ำประกัน = ลูกหนี้ร่วม สามารถตามที่ผู้ค้ำได้เลย
เรียกได้ว่าสถานะเดียวกันเลย ต้องจ่ายค่าเงินต้น ดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าติดตามทวงถาม เรียกเก็บได้หมด
แต่ปัจจุบันกฏหมายมีการปรับเปลี่ยน ในอดีตผู้ค้ำประกันมองว่ามันไม่เป็นธรรม ก็เลยกำหนดเงื่อนไขใหม่ ต้องระบุสิ่งที่ผู้ค้ำประกันต้องจ่ายให้ชัดเจน นั่นหมายความว่า แต่ก่อนถ้าไม่จ่ายหนี้ ก็จะมาเรียกเก็บกับผู้ค้ำประกันได้เลย ส่วนกฏหมายใหม่ก็เฉพาะตัวที่เราเซ็นรับรองว่าจะรับรองตรงส่วนไหน
เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกหนี้หนี แล้วไม่จ่าย อยู่ดี ๆ เจ้าหนี้จะโผล่มาทวงไม่ได้ ต้องส่งจดหมายแจ้งภายใน 60 วัน
ดังนั้นต้องคิดหากใครมาขอให้เป็นผู้ค้ำประกัน เราสามารถรับผิดชอบแทนได้หรือไม่ ความพร้อมทางการเงินเราไหวหรือไม่ ต้องพร้อมทุกอย่าง
คิดก่อนเซ็นค้ำประกัน
1. โอเคกับเรื่องกวนใจหรือเปล่า
2. หากต้องช่วย : ประเมินความพร้อมทางการเงิน และสุขภาพจิตตัวเองก่อน
หลังจากที่เราได้ยินข่าวกันมาสักพักแล้วว่าปีหน้าการซื้อรถ และการซื้อจักยานยนต์จะเปลี่ยนรูปแบบเป็น ลดต้น-ลดดอก
ล่าสุดได้ประกาศออกมาแล้วนะครับว่านโยบายนี้จะเริ่มใช้
ในวันที่ 10 ม.ค. 2566 โดยมีรายละเอียดดังนี้
สำหรับอัตราดอกเบี้ยตามประกาศฯ ฉบับนี้ เป็นการคำนวณแบบลดต้นลดดอก แต่คำว่า ลดต้นลดดอก นั้นจะต้องไปยึดโยงกับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงรายปี เช่น กรณีดอกเบี้ยเช่าซื้อรถยนต์ ซึ่งคิดดอกเบี้ยแบบคงที่นั้น จะต้องยึดโยงกับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงรายปี คือ การคิด
“อัตราดอกเบี้ยคงที่” นั้นๆ จะต้องไม่เกินกว่า
“อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงรายปี” ที่กำหนดไว้
การคำนวณเป็นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี (Effective Interest Rate) ดังนี้
-กรณีรถยนต์ใหม่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 10 ต่อปี
-กรณีรถยนต์ใช้แล้วต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี และ
-กรณีรถจักรยานยนต์ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 23 ต่อปี
ทั้งนี้ คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาอาจปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยลดลงหรือเพิ่มขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศในทุก 3 ปี
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมอีกมากเลยนะครับ สำหรับใครที่ต้องการไปซื้อรถ หรือ จักรยานยนต์ก็ขอให้ศึกษาข้อมูลดีๆก่อนตัดสินใจซื้อ
ติดตาม รายการ “เงินทองของจริง” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35