logo Beartai 7HD ไอทีและยานยนต์

ท่าเรือแหลมฉบัง นำเข้า “รถบรรทุกไฟฟ้าไร้คนขับ” มาเพิ่มอีก 9 คัน

Beartai 7HD ไอทีและยานยนต์ : เป็นเวลาประมาณ 2 ปีแล้วที่ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ในประเทศไทย มีการนำร่องทดลองใช้งานรถบรรทุกไฟฟ้าแบบไร้คนขับ จ หนุ่ย พงศ์สุข,แบไต๋,แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์เทคโนโลยี,CH7HDNEWS,TERODigital,beartai7HD,แบไต๋7เอชดีไอทีและยานยนต์,ช่อง7,ข่าวล่าสุด,ch7hdnews,ข่าวช่อง7,กด35,แบไต๋ 7 เอชดี ไอทีและยานยนต์,beartai7hd,ฟิล์มกรรญกฤต อรรควงษ์,เบนซ์ชนกนันท์ เสนปิ่น,ภูมิเกียรติภูมิ บันลือชัยฤทธิ์,พลังงานไฟฟ้า,ท่าเรือแหลมฉบัง,Q-Trucks,รถบรรทุกไฟฟ้าไร้คนขับ,Nosewise Handheld Olfactometer,บัญชีรายรับรายจ่าย,iphoneล

566 ครั้ง
|
14 พ.ย. 2565
เป็นเวลาประมาณ 2 ปีแล้วที่ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ในประเทศไทย มีการนำร่องทดลองใช้งานรถบรรทุกไฟฟ้าแบบไร้คนขับ จนล่าสุดหลังจากพบว่าสามารถใช้งานได้อย่างดีเยี่ยม จึงมีการนำเข้าเพิ่มมาอีกหลายคัน
 
โดยรถบรรทุกไฟฟ้าแบบไร้คนขับที่มีชื่อว่า คิว-ทรักส์ (Q-Trucks) ซึ่งนี่เป็นล็อตล่าสุดที่บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย (HPT) ผู้ประกอบการท่าเทียบเรือสินค้ารายหนึ่งของไทยนำเข้าจากเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน จำนวน 9 คัน เพื่อนำมาเสริมกำลังให้กับ 6 คันเดิมที่ใช้งานมาตั้งแต่ปี 2020 ทำให้ตอนนี้มีใช้งานอยู่ทั้งหมด 15 คันแล้ว
 
คิว-ทรักส์ เหล่านี้ จะประจำการอยู่ที่ ท่าเทียบเรือ D (Terminal D) ทำหน้าที่คอยรับตู้สินค้าที่ปั่นจั่นยกลงมาจากเรือขนส่ง และช่วยขนสินค้าที่ถูกส่งมาไปยังสถานที่ต่าง ๆ โดยที่คิว-ทรักส์ เป็นระบบรถบรรทุกอัจฉริยะที่ไม่ต้องใช้คนขับหรือมีผู้บังคับรถแต่อย่างใด เพราะมีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทำงานร่วมกับ เซ็นเซอร์รอบคัน และ GPS ทำให้รถสามารถวิ่งส่งของได้ด้วยตัวเอง
 
ขณะเดียวกัน ระบบของปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่า เป็นระบบที่ควบคุมจากระยะไกลแบบกึ่งอัตโนมัติเช่นกัน จึงทำให้กระบวนการดังกล่าว ตั้งแต่ยกตู้สินค้าลงมา จนสินค้าไปถึงที่ศูนย์กระจายสินค้าต่าง ๆ นั้น แทบไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานมนุษย์เลย
 
ส่วนเซ็นเซอร์รอบคันที่ คิว-ทรักส์ ติดตั้งไว้ เป็นระบบที่ออกแบบมาพิเศษให้ตรวจจับทุกอย่างรอบตัวได้อย่างรวดเร็ว หากมีสิ่งกีดขวางกะทันหันระบบจะหยุดรถฉุกเฉินได้เอง แถมทำงานได้ต่อเนื่องถึง 24 ชั่วโมง หรือ วิ่งได้ไกลต่อเนื่อง 140 กิโลเมตรต่อการชาร์จเต็ม 1 ครั้ง 
 
ทั้งนี้การันตีคุณภาพการขนส่งสินค้าต่าง ๆ ของคิว-ทรักส์ ได้จากสถิติที่ 6 คันแรกได้ทำไว้ตั้งแต่ปี 2020 สามารถขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์มาแล้วถึง 150,000 ตู้ ภายใน 25 เดือน เฉลี่ยเดือนละ 6,000 ตู้
 
การมีคิว-ทรักส์มาใช้ ช่วยให้ท่าเรือแหลมฉบังเข้าใกล้เป้าหมายการเป็น "ท่าเรืออัจฉริยะ" แห่งแรกของไทยมากขึ้น โดยการที่ไม่ต้องใช้คนคอยบังคับ ก็ทำให้ไม่เกิดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น แบบนี้บรรลุเป้าหมายของการส่งเสริมเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี แน่นอนครับ
 
ติดตาม รายการ “แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.20-12.40 น. ทางช่อง 7HD กด 35
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtu.be/OjwZFaqyYE0
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง