รู้หรือไม่ ? ในประเทศไทย มีบริษัทกว่า 800,000 บริษัท แต่มีแค่ 20,000 บริษัทเท่านั้นที่มีกองทุนฯ พนักงานที่อยู่ในบริษัทที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้สมัครได้เลย !
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มันเป็น โครงการฯ การลงทุน ที่บริษัทต่าง ๆ จัดตั้งขึ้น เพื่อ หักเงินพนักงาน หักเก็บออมแล้วสะสมไว้ให้ โดยจะต้องมีส่วนของนายจ้างเข้าไปสมทบด้วยส่วนหนึ่ง คือ เอาเงินของพนักงาน + เงินนายจ้าง ที่มาสมทบด้วย เอาไปลงทุนตามแผนที่เจ้าของเงินเป็นคนเลือก
วัตถุประสงค์ คือ เพื่อเก็บสะสมเงินเอาไว้ให้ใช้ตอนเกษียณ ตั้งแต่ 2-15% บริษัทอาจจะกำหนดตัวเลขไว้ประมาณหนึ่ง เพื่อไม่กดดันลูกน้องมากเกินไป ส่วนตัวแล้วพนักงานมีสิทธิ์ขยับไปได้ถึง 15%
ซึ่งบริษัทในประเทศไทยมีประมาณ 800,000 บริษัทที่จดทะเบียน มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่แค่ 20,000 เท่านั้น ถ้าบริษัทไหนมี ถือว่าดีมาก ๆ
เพราะฉะนั้น ระบบการจัดการเงินเพื่อให้คนมีเงินออมจริง ๆ ต้องมีเหลือเก็บก่อน แล้วถึงจะเอาไปใช้ได้ โครงการฯ การลงทุนแบบนี้จะมีข้อดี เพราะจะบังคับ และเงินก็จะไม่ได้มีการหักเยอะมาก ตามความประสงค์ของพนักงานได้เลยและถูกวางไว้ยาว ๆ ถึงอายุ 55 ปี หรือพอเกษียณ ก็อาจจะมีเงินเป็นหลักล้านได้เลย
ข้อแนะนำ ถ้า บริษัทนั้น ๆ มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานควรจะสมัคร เพราะ เป็นการบังคับหักออม จะทำให้เราได้เก็บออมได้จริง ๆและได้เงินส่วนสมทบด้วย เหมือนการลงทุนแล้วได้กำไรเลย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่เสียภาษี และหักภาษีได้ด้วย
เมื่อเราใส่เงินเข้าไปแล้ว จะเอาออกมาได้ก็ต่อเมื่อ ตอนเกษียณอายุ 55-60 ปี การเอาออกมาก่อนได้ แต่ไม่แนะนำ เพราะว่าเสียโอกาสในการเก็บเงิน แล้วก็เงินที่หักสะสมไป มันลดหย่อนภาษีมาตลอด ดังนั้นถ้าเอาออกมาก่อน ก็จะมีคนมาหาร
บางทีคนเราก็ผิดพลาดกันได้ เหมือนอย่าง “โอนเงินผิดบัญชี” เมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดพลาดแบบนี้ หลายคนคงแตกตื่นและทำอะไรไม่ถูก ว่าเอ๊ะเงินเราจะถูกโอนไปให้ใคร เราควรตั้งสติ เรื่องนี้ยังพอมีหนทางแก้ไขอยู ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินผิด จากตู้ ATM หรือ Mobile Banking ก็สามารถทำตามขั้นตอนเหล่านี้ได้เลย
กรณี “เรา” เป็นคน “โอนเงินผิดบัญชี”
ถ้าบัญชีที่เราโอนผิดไปให้เป็นคนรู้จักคุ้นเคยกัน ก็อาจจะคุยตกลงกันเอง แล้วขอให้เขาโอนเงินคืนกลับมาได้เลย แต่ถ้าบัญชีที่โอนผิดไปเป็นคนแปลกหน้า ก็สามารถทำตามนี้ได้
1. ทันทีที่รู้ว่าตัวเองโอนเงินไปผิดบัญชี ให้ติดต่อธนาคารต้นทาง หรือ ธนาคารที่เราเปิดบัญชีนั่นเอง
2. ธนาคารจะแจ้งว่าต้องใช้หลักฐาน หรือ เอกสาร อะไรบ้าง เช่น ข้อมูลวันเวลาและจำนวนเงินที่ทำรายการ, เลขและชื่อบัญชีที่เราโอนผิด, สำเนาบัตรประชาชน, สลิปใบบันทึกรายการ, ใบแจ้งความ ฯลฯ
3. ธนาคารรับทราบปัญหา และแจ้งระยะเวลาการดำเนินการให้เราทราบ
ธนาคารจะเป็นผู้ประสานงานติดต่อบัญชีปลายทาง เพื่อให้ความยินยอมโอนเงินคืนกลับมาต่อไป
– ถ้าผู้รับโอน “ยินยอม” คืนเงิน
ธนาคารก็จะโอนเงินส่วนเดิมเข้าบัญชีให้กับเราเอง
– ถ้าผู้รับโอน “ไม่ยินยอม” คืนเงินหรือติดต่อไม่ได้
เราสามารถแจ้งความกับตำรวจ เพื่อออกคำสั่งทางกฎหมายให้ธนาคารของผู้รับโอนดำเนินการอายัดบัญชี หรือเปิดเผยข้อมูลบัญชีให้แก่เจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการทางกฎหมายต่อไป
ก่อนโอนเงินทุกครั้งขอให้ทุกคนตรวจสอบข้อมูลการโอนเงินให้ถูกต้องก่อนที่จะกดยืนยันโอนเงินทุกครั้ง เพราะวิธีป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดย่อมดีกว่ามาตามแก้ทีหลัง
ติดตาม รายการ “เงินทองของจริง” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35