logo Beartai 7HD ไอทีและยานยนต์

กรุงเทพฯ อ่วมหนัก น้ำท่วมแก้ไม่หาย ทำอย่างไรดี ? กับ รองผู้ว่าฯ กทม.

Beartai 7HD ไอทีและยานยนต์ : ชวนคุย กับ "รองศาสตราจารย์ ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล" รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร​เพื่อร่วมกันถกและแก้ปัญหาน้ำท่วมให้หายไ หนุ่ย พงศ์สุข,แบไต๋,แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์เทคโนโลยี,CH7HDNEWS,TERODigital,beartai7HD,แบไต๋7เอชดีไอทีและยานยนต์,ช่อง7,ข่าวล่าสุด,ch7hdnews,ข่าวช่อง7,กด35,แบไต๋ 7 เอชดี ไอทีและยานยนต์,beartai7hd,ฟิล์มกรรญกฤต อรรควงษ์,เบนซ์ชนกนันท์ เสนปิ่น,ภูมิเกียรติภูมิ บันลือชัยฤทธิ์,พลังงานไฟฟ้า,น้ำท่วมกทม.,รองผู้ว่ากทม,น้ำท่วม,ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล,ชัชชาติ,Clipboard History

496 ครั้ง
|
02 พ.ย. 2565
ชวนคุย กับ "รองศาสตราจารย์ ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล" รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร​เพื่อร่วมกันถกและแก้ปัญหาน้ำท่วมให้หายไปจากกรุงเทพมหานคร
 
มาถึงช่วง “Tech Talk” ในรายการ “แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์” พบกับ "รองศาสตราจารย์ ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล" รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาคุยกันว่าทำไมปัญหาน้ำท่วมในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานครยังคงเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตก แม้หลายฝ่ายจะร่วมด้วยช่วยกันแล้วก็ตาม มันเกิดอะไรขึ้นกันแน่
 
รองศาสตราจารย์ ดร.วิศณุ เผยว่า เรื่องปัญหาของกรุงเทพฯ นั้น มีปัญหาหลายด้าน รวมถึงเรื่องน้ำ โดยสาเหตุของน้ำท่วมกรุงเทพฯ หากดูที่มาขอน้ำ จะมีอยู่ 3 ประเด็นหลัก ๆ ได้แก่ น้ำเหนือ น้ำหนุน และน้ำฝน เมื่อดูจากเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีปริมาณน้ำฝนที่มากกว่าปกติ ทำให้กรุงเทพฯ มองเห็นจุดอ่อนของเมืองเพื่อนำมาปรับแก้ได้
 
เมื่อดูทิศทางของน้ำฝนจากผิวถนนให้ลงท่อระบายน้ำ และลงคลอง สู่แม่น้ำ ตามลำดับ แต่ในวันนี้ที่เห็นว่าน้ำยังท่วมถนนอยู่ เพราะท่อระบายน้ำยังทำงานไม่เต็มที่ เนื่องจากท่อระบายน้ำของกรุงเทพฯ มีขนาดเล็ก ทำให้การระบายน้ำมีความนานขึ้น และเรื่องสำคัญ คือเรื่อง ขยะ ทำให้การระบายน้ำยาก เนื่องจากขยะอุดตันตามท่อระบายน้ำ น้ำไหลได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
 
ประเด็นสำคัญที่ทำให้น้ำท่วมผิวถนนคือ เรื่องขยะ ที่วางไว้ที่หน้าบ้านเพื่อรอการจัดเก็บ เมื่อฝนตกตอนกลางคืนทำให้ขยะลงมาพื้นผิวจราจร โดยกรุงเทพฯ ได้มีการขอความร่วมมือถ้าทราบล่วงหน้าว่าฝนจะตก อย่าเพิ่งนำขยะมาวางไว้หน้าบ้าน ให้วางไว้ใกล้เวลารถกทม. จะมาเก็บ อย่างที่ 2 ให้ช่วยกันลดขยะ แยกขยะเปียกแห้ง เพื่อนำขยะมาใช้ประโยชน์ได้ต่อ โดยการแยกขยะจะช่วยลดปัญหา ทำให้การไหลของน้ำดีขึ้น หากดูขยะตามคลอง แต่ละจุดมีปริมาณ 5-10 ตัน/วัน โดยตนมองว่า หากเรามีจุดแยกขยะที่ดี จะทำให้ประชาชนหันมามองเรื่องขยะมากขึ้น
 
รองศาสตราจารย์ ดร.วิศณุ ยังกล่าวอีกว่า ฝนในปัจจุบันเริ่มเบาบางลง แต่ที่ยังเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด คือวันที่ 9 ตุลาคม ที่ผ่านมาทำให้ ชาวบ้านริมแม่น้ำเจ้าพระยาได้รับผลกระทบ ซึ่งตอนนี้น้ำเหนือเริ่มเบาลง ซึ่งต้องรอดูกันต่อไป
 
ในปัจจุบันกรุงเทพฯ กำลังติดตั้งเซนเซอร์ เฉพาะคลองสายหลัก เพื่อใช้ตรวจระดับน้ำ โดยประชาชนสามารถช่วยกันติดตามและเฝ้าระวัง ผ่านเว็บไซต์ สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร (www.dds.bangkok.go.th) โดยจะมีข้อมูลประจำวันของระดับน้ำ และดูปริมาณน้ำฝนได้อีกด้วย
 
โดยกรุงเทพฯ มีเทคโนโลยีช่วยป้องกันน้ำท่วมหลักๆ ได้แก่ สถานีตรวจวัดระดับน้ำแบบ Real Time สามารถวัดปริมาณน้ำ เพื่อวิเคราะห์ และทำการบล็อกน้ำ โดยใช้ประตูกั้นน้ำ เพื่อสูบน้ำออก โดยดูจากระดับน้ำทะเล
 
หากต้องการแจ้งเตือนเรื่องน้ำท่วม ประชาชนสามารถแจ้งเรื่องผ่านสำนักงานเขต ที่เป็นหน่วยงานย่อยที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด หรือ Traffy Fondue แอปพลิเคชันแจ้งและติดตามปัญหาเมือง โดยสามารถช่วยประชาชนได้แล้วกว่า 100,000 เรื่อง
 
กระบวนการเยียวยา มีการแบ่งเป็น  กรณีเขตภัยพิบัติ ตามกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อประเมินค่าความเสียหายแต่ละบ้าน แต่กรณีที่ไม่ได้ประกาศ ก็สามารถเยียวยาได้บ้าง เป็นค่าวัสดุซ่อมแซมบ้าน ไม่เกิน 49,500 บาท 
 
โดยจุดอ่อนของกทม. คือการพยากรณ์เชิงพื้นที่ เนื่องจากไม่มีการระบุพื้นที่ที่ชัดเจน อีกทั้งกทม.มีการปรับปรุงตลอดเวลา เพิ่มเรดาร์ในเชิงแนวดิ่ง ช่วยดูพื้นที่ฝนเฉพาะจุด อยากรณรงค์ให้ทางกทม. หาวิธีเตือนภัยที่เร็ว และมีมากกว่านี้เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้มากที่สุด และลดการตระหนกของประชาชน 
 
ติดตาม รายการ “แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.20-12.40 น. ทางช่อง 7HD กด 35
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่https://youtu.be/a3eicSvn5EQ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง