การฝากขาย กับ จำนองต่างกันอย่างไร ใครเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ หากผิดพลาดไม่ถ่าย ผู้รับฝากขาย จำนอง สามารถเอาที่ดินไปปล่อยถอดตลาดได้หรือไม่ ?
จำนอง และ ขายฝาก เป็นวิธีการแปลงทรัพย์สินเป็นทุน สามารถเอาทรัพย์สิน หรือที่ดิน ไปแปลงเป็นเงินสดมาหมุนเวียนใช้จ่าย หรือเอาไปทำทุนได้
รูปแบบที่แตกต่างกัน
จำนอง มาจากสัญญากู้ยืมเงิน เอาทรัพย์สิน ที่ดิน ไปเป็นหลักทรัพย์ฯ ค้ำประกัน เพื่อที่จะได้เงินกู้มา และต้องไปจดทะเบียนที่กรมที่ดิน ให้ชัดเจน การจำนองยังไม่ได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ให้ เพราะเอาที่ไปจำนองเท่านั้น กรรมสิทธิ์นั้นจะอยู่กับเจ้าของที่ได้ไปอยู่ ไม่ได้ส่งมอบให้ใคร
ขายฝาก คือ สัญญาการซื้อขาย จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้กับผู้รับขายฝาก แต่มีเงื่อนไขว่า จะต้องมาไถ่ถอน ต้องมีเงินเท่าไหร่ อัตราดอกเบี้ยเป็นเท่าไหร่ ระยะเวลาเท่าไหร่ ซึ่งปัจจุบันจะอยู่ที่ 10 ปี วงเงินส่วนใหญ่ที่จะให้กันอยู่ที่ 40-70% ของตัวมูลค่าทรัพย์ แล้วตกลงเรื่องไถ่ถอนกัน กรรมสิทธิ์ตรงนี้จะอยู่ที่คนได้ไป แต่ถ้ามาไถ่ถอนไปก็จะได้คืน
ถ้าเกิดว่าจำนองเอาเงินมาใช้ แล้วไม่สามารถชำระคืนเขาได้ แต่กรรมสิทธิ์ยังเป็นของตัวเองอยู่ เขาก็จะใช้วิธีการฟ้องร้อง
ถ้าการขายฝาก เมื่อผิดเงื่อนไขก็ไม่ต้องมีอะไร คนที่ได้กรรมสิทธิ์ไปแล้วสามารถยึดไปได้เลย ไม่ต้องมีการฟ้องร้อง เพราะฉะนั้นการจำนองปลอดภัยกว่า
จำนอง vs ฝากขาย ต่างกันอย่างไร
1. จำนอง ถ้าไม่จ่ายหนี้ ต้องฟ้องร้องเอาทรัพย์สิน
2. ขายฝาก ถ้าไม่จ่ายหนี้ เจ้าหนี้ได้ทรัพย์สินไปเลย
เตือนเหล่าพี่น้องที่เลี้ยงหมู เพราะช่วงนี้แก๊งโกงตาชั่งหมูออกอาละวาด ทำให้พี่น้องที่เลี้ยงหมูต้องขาดทุนกันเป็นแถบ
โดยแก๊งนี้จะออกตระเวนตามหมูบ้านต่าง ๆ เพื่อรับซื้อหมูจากคนเลี้ยง ซึ่งพวกนี้จะใช้วิธีโกงสารพัดในการชั่งน้ำหนัก เช่น หนุนตาชั่ง เหนี่ยวตาชั่ง ทำให้น้ำหนักของหมูน้อยกว่าความเป็นจริง หรือใช้กรงเบามาใส่หมูแล้วชั่ง แต่ก่อนจะชั่ง นำกรงหนักมาชั่งให้เกษตรกรดูก่อน เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ แต่ชั่งจริงใช้กรงเบา
ซึ่งในการโกงแต่ละครั้งจะทำให้น้ำหนักขาดไปประมาณ 20-30 กิโลกรัม ทำให้เกษตรกรเสียหายรายละ 30,000-40,000 บาทเลย
ซึ่งตอนนี้กรมการค้าภายใน ร่วมกับกองบังคับการปราบปรามการ กระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) กรมปศุสัตว์ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ และสมาคมที่เกี่ยวข้อง เร่งการแก้ไขปัญหาการโกงน้ำหนักเครื่องชั่งในการรับซื้อสุกร
โดยได้จัดตั้งชุดเฉพาะกิจขึ้นมา เพื่อรับเรื่องร้องเรียน ลงพื้นที่ตรวจสอบ และจับกุมผู้ที่กระทำความผิดในการรับซื้อสุกรจากเกษตรกร รวมทั้งร่วมกับกรมการปกครอง สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ช่วยกันสอดส่องดูแลในพื้นที่ และแจ้งเบาะแสแก๊งมิจฉาชีพตระเวนรับซื้อหมูจากเกษตรกรและโกงตาชั่งเอาเปรียบเกษตรกร
โดยเกษตรกรหรือผู้ที่พบเห็นการเอาเปรียบ แจ้งเบาะแสได้ที่ สายด่วนกรมการค้าภายใน โทร.1569 หรือสายด่วน บก.ปคบ. โทร.1135
ติดตาม รายการ “เงินทองของจริง” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35