logo เงินทองของจริง

มีเงินก้อน โปะหนี้รถ หรือ บ้าน แบบไหนดีกว่า ? - มีเงินโอนผิดมา ทำยังไงดี กลัวเป็นมิจฉาชีพ

เงินทองของจริง : โปะบ้านหรือโปะรถก่อนดี ถ้ามีเงินก้อน หรือมีเงินเหลือ เรียกว่าเป็นเป้าหมายของหลาย ๆ คน ซึ่งสิ่งที่ตามมาจากการขอสินเชื่อก็คือดอกเบ เคน นครินทร์ วนกิจไพบูลย์,โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์,ทิน โชคกมลกิจ,เงินทองของจริง7HD,เงินทองของจริง,The standard,เรื่องเงิน,เรื่องทอง,CH7HDNEWS,TERODigital,ข่าวช่อง7,กด35,ch7hdnews,ช่อง7,ข่าวล่าสุด,เดอะสแตนดาร์ด,เศรษฐกิจ,หนี้สิน,เงินออมเงินทองของจริง,เทโรเอ็นเทอร์เทนเม้นท์,ช่อง7HD,CH7HDNEWS,เดอะสแตนดาร์ด,เศรษฐกิจ,ทิน โชคกมลกิจ,เคน นครินทร์ วนกิจไพบูลย์,โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์,หนุ่ม Money Coach,ปัญหาปากท้อง,การออม,ออมเงิน,โปะบ้าน,โปะรถยนต์,เงินก้อน,โอนเงินผิด,มิจฉาชีพ

2,141 ครั้ง
|
10 ต.ค. 2565
โปะบ้านหรือโปะรถก่อนดี ถ้ามีเงินก้อน หรือมีเงินเหลือ เรียกว่าเป็นเป้าหมายของหลาย ๆ คน ซึ่งสิ่งที่ตามมาจากการขอสินเชื่อก็คือดอกเบี้ย แต่สำหรับคนที่ผ่อนทั้งบ้านและรถพร้อมกัน ควรนำเงินไปโปะบ้านหรือโปะรถก่อนดี
 
เงินทองของจริง : มีเงินก้อน โปะหนี้รถ หรือ บ้าน
 
ก่อนที่จะโปะ อยากให้ทำความเข้าใจเรื่องดอกเบี้ยทั้งสองแบบนี้ก่อน สินเชื่อบ้าน จะเป็นสินเชื่อแบบลดต้นลดดอก ในแต่ละเดือนที่จ่ายไปจะมีเงินส่วนหนึ่งไปตัดจ่ายดอกเบี้ย อีกส่วนหนึ่งไปตัดจ่ายต้น เมื่อต้นถูกตัด ต้นก็จะลดลง เดือนต่อไปดอกเบี้ยจะลดลงไปด้วย ซึ่งถ้าโปะ ก็จะมีผลในทางที่ดี  
 
กลุ่มรถยนต์ เป็นสินเชื่อในส่วนของ ดอกเบี้ยคงที่ ทันทีที่ยื่นขอกู้เงินกับไฟแนนซ์ เขาจะเอาเงินตรงนั้นมาคิดดอกเบี้ย ตามจำนวนปี ก็จะคิดดอกเบี้ยรวมกัน การโปะรถยนต์ จะไม่เกิดประโยชน์เท่าไหร่ 
 
เวลากู้ซื้อบ้าน ถ้าเอาเงินจากธนาคารไปจ่ายเจ้าของ ก็จะมีการจำนองกันกับธนาคาร แต่สำหรับรถยนต์ เขาจะเรียดว่าเช่าซื้อ สามารถเรียกคืนได้ตลอด 
 
สำหรับคนที่มีสินเชื่อหลายอย่าง ต้องแบ่งและทำความเข้าใจว่าสินเชื่อทีเรากู้ยืมมา มีดอกเบี้ยแบบไหน ถ้าดอกเบี้ยคงที่ การโปะรถยนต์จะไม่เกิดประโยชน์ ควรเลือกโปะแบบลดต้นลดดอก เช่นบ้าน บัตรเครดิต เป็นต้น
 
 
 
หลายคนอาจจะเคยเจอเหตุการณ์ที่มีเงินโอนเข้ามาในบัญชี โดยที่ไม่รู้ว่ามาจากที่ไหน แต่อย่าพึ่งคิดว่าโชคดีได้เงินฟรี เพราะอาจจะเป็นกลลวงของมิจฉาชีพ
 
เงินทองของจริง : มีเงินก้อน โปะหนี้รถ หรือ บ้าน
 
เมื่อมีเงินที่ไม่รู้ที่มาที่ไป โอนเข้าบัญชีของเรา เราจึงควรรู้ว่าต้องปฏิบัติอย่างไร เพื่อหลีกเลี่ยงการมีส่วนร่วมกระทำผิดกฎหมายโดยไม่ตั้งใจ 
 
1.ไม่นำเงินนั้นไปใช้ เพราะถ้าไม่คืน เจ้าของเงินสามารถแจ้งความดำเนินคดีได้
 
 
2.ห้ามโอนคืนเอง เพราะอาจป็นกลลวงของมิจฉาชีพ แม้จะมีผู้ติดต่อมาเพื่อขอเงินคืนเอง ก็ไม่ควรส่งคืนเงินด้วยตัวเอง เพราะธุรกรรมตรงนี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการกระทำผิดกฎหมาย
 
 
3. รีบติดต่อธนาคาร เพื่อตวรจสอบ ถ้าโอนผิดจริง ให้แสดงความยินยอมให้ธนาคารหักเงินคืนบัญชีต้นทาง 
 
 
ในกรณีมีคนโอนเงินมาผิดบัญชี ผู้รับโอนเงินไม่ยอมคืนเงินแก่เจ้าของบัญชีที่โอนเงินผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ระบุเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท 
หรือทั้งจำและปรับ
 
หากในกรณีที่ตรวจสอบแล้วพบว่าไม่ใช่การโอนเงินผิด แต่เป็นกลลวงจากมิจฉาชีพ ควรไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าเราไม่ได้มีส่วนรู้เห็นใด ๆ กับการกระทำของมิจฉาชีพ
 
ติดตาม รายการ “เงินทองของจริง” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35
 
รับชมผ่าน Youtube

ข่าวที่เกี่ยวข้อง