logo Beartai 7HD ไอทีและยานยนต์

ต้นกำเนิด พัดลม ตั้งแต่อดีต และประเภทพัดลมไฟฟ้าในปัจจุบัน

Beartai 7HD ไอทีและยานยนต์ : ถ้าพูดถึงอากาศบ้านเราที่ร้อน ๆ แบบนี้ สิ่งที่พอจะคลายความร้อนให้เราได้ นอกจากน้ำเย็นๆ หรือแอร์ฉ่ำ ๆ นั่นก็คือ “พัดลม หนุ่ย พงศ์สุข,แบไต๋,แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์เทคโนโลยี,CH7HDNEWS,TERODigital,beartai7HD,แบไต๋7เอชดีไอทีและยานยนต์,ช่อง7,ข่าวล่าสุด,ch7hdnews,ข่าวช่อง7,กด35,แบไต๋ 7 เอชดี ไอทีและยานยนต์,beartai7hd,ฟิล์มกรรญกฤต อรรควงษ์,เบนซ์ชนกนันท์ เสนปิ่น,ภูมิเกียรติภูมิ บันลือชัยฤทธิ์,beartai IQ,ดาราช่อง7,Google Maps,พัดลม,ประวัติพัดลม,ประเภทพัดลม,เยอรมนี,รถไฟฟ้า,รถไฟฟ้าพลังงานไฮโดรเจน,พัดลมไฟฟ้า,จุดกำเนิดไฟฟ้า

20,303 ครั้ง
|
22 ก.ย. 2565
ถ้าพูดถึงอากาศบ้านเราที่ร้อน ๆ แบบนี้ สิ่งที่พอจะคลายความร้อนให้เราได้ นอกจากน้ำเย็นๆ หรือแอร์ฉ่ำ ๆ นั่นก็คือ “พัดลม” เชื่อว่าทุกบ้านต้องมีพัดลมอย่างน้อยหนึ่งตัวแน่ ๆ แต่เคยสงสัยไหมว่าพัดลมไฟฟ้าที่เราใช้กันในปัจจุบัน มีต้นกำเนิดอย่างไร และใครเป็นคนสร้างขึ้นมา
 
หากพูดถึงยุคแรกของ “พัดลม” ต้องย้อนกลับไปในช่วงยุคอียิปต์โบราณ ราว 3-4 พันปีก่อน ตอนนั้นเริ่มมีการใช้พัดแล้ว จะเห็นจากภาพแกะสลักรูป “พัด” บนฝาผนัง ทำจากวัสดุประเภทต่าง ๆ ทั้ง ใบบัว ใบปาล์ม ขนนกยูง โลหะ และอื่น ๆ โดยหลักการทำงานก็ไม่ยุ่งยาก คือใช้คนออกแรงพัดเพื่อทำให้เกิดแรงลม
 
ต่อมาจึงวิวัฒนาการเป็น “พังก้า (Punkah)" พัดลมเพดาน ที่สร้างจากผ้ายาวพร้อมเชือก หลักการทำงานคือใช้คนดึงเชือก ให้ผ้าสบัดไปมา ทำให้เกิดแรงลมเบา ๆ 
 
ยุคถัดมา เริ่มมีการเอากลไกใส่ลงในพัดลม ทำให้สร้างลมได้ดีขึ้น จากบันทึกในช่วงราชวงศ์ฮั่นของจีน มีการคิดค้นพัดลมระบบโรตารี ที่ใบพัดสามารถหมุนได้จากการใช้มือ รวมถึงมีการคิดค้นพัดลมที่ทำงานได้ด้วยพลังน้ำ 
 
จนถึงยุคที่เราสามารถเข้าถึงไฟฟ้าในบ้านได้ ก็มีการประดิษฐ์อุปกรณ์ไฟฟ้าขึ้นมาจำหน่ายมากมาย พัดลมไฟฟ้าตัวแรกถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี 1882 โดย ดอกเตอร์ สไกลเลอร์ วีลเลอร์ (Dr. Schuyler Wheeler) วิศวกรไฟฟ้าชาวอเมริกัน เรียกว่ารูปลักษณ์ของพัดลมตัวนี้ เป็นรากฐานในการออกแบบพัดลมที่ใช้งานกันในปัจจุบันเลยก็ว่าได้ 
 
หลังจากนั้นไม่นาน  พัดลมติดเพดานไฟฟ้าก็ถูกคิดค้นขึ้นตามมา และจดสิทธิบัตรในปี 1889 โดย ฟิลลิป เดียล (Philip Diehl.) วิศวกรและนักประดิษฐ์ลูกครึ่งเยอรมัน-อเมริกัน เขาเอามอเตอร์จักรเย็บผ้า มาติดเข้ากับใบพัดขนาดใหญ่ เกิดเป็นพัดลมเพดาน
 
โดยนี่คือต้นกำเนิดของพัดลมที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ทุกวันนี้พัดลมถูกแยกออกเป็นหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็เหมาะกับการใช้งานที่ต่างกันไป
 
ประเภทที่หนึ่งและสองคือ พัดลมตั้งโต๊ะ และ พัดลมตั้งพื้น สองประเภทนี้จะมีหน้าตาคล้าย ๆ กัน จุดที่ต่างกันชัดเจนคือความสูง พัดลมตั้งโต๊ะจะปรับความสูงไม่ได้ แต่พัดลมตั้งพื้นจะปรับความสูงได้ จุดเด่นของพัดลมสองแบบนี้ ราคาไม่ได้สูงมากนัก และสามารถเคลื่อนที่และทำความสะอาดได้ง่าย จึงเป็นที่นิยมมาก
 
ถัดมาคือ พัดลมติดผนัง ที่มีฐานตั้งจะอยู่ทางด้านหลังตัวเครื่อง เพื่อใช้ยึดติดกับกำแพง ข้อดีของพัดลมแบบนี้คือสามารถส่งลมไปได้ทั่วทั้งห้องโดยไม่ต้องกังวลถึงสิ่งกีดขวาง แถมยังประหยัดพื้นที่เพราะยึดติดกับกำแพง เราจึงพบเห็นบ่อยตามร้านขายอาหารที่มีโต๊ะให้คนนั่ง  แต่การทำความสะอาดก็ทำได้ยากเนื่องจากอยู่สูง
 
ประเภทต่อมาที่ปัจจุบันเห็นน้อยลงคือ พัดลมติดเพดาน เอกลักษณ์ของพัดลมประเภทนี้คือ มีใบพัดขนาดใหญ่ที่หมุนช้า ๆ บางรุ่นก็มีโคมไฟตรงกลาง ข้อดีของพัดลมแบบนี้คือประหยัดพื้นที่ และสามารถส่งลมไปได้ทั่วทั้งห้อง แต่ข้อเสียคือทำความสะอาดยาก การถอดต้องปีนบันไดอย่างเดียว และยังมีพัดลมอีกประเภทที่ติดตั้งกับเพดานเหมือนกันคือ พัดลมโคจร ที่มีขนาดเล็กกว่าพัดลมติดผนัง แต่ใช้การหมุนแบบ 360 องศา ซึ่งพอตัวเล็กกว่า ก็สร้างแรงลมได้น้อยกว่า และทำความสะอาดยากเหมือนกัน
 
ต่อมาเป็นพัดลมที่ไม่ได้ให้ความเย็นคือ พัดลมดูดอากาศ หลายบ้านน่าจะมีติดไว้ในที่ห้องครัวหรือห้องน้ำเพื่อช่วยให้อากาศถ่ายเท หรือระบายกลิ่นไม่พึงประสงค์ พัดลมประเภทนี้จะมีการหมุนเหมือนพัดลมปกติ เพียงแต่จะกลับด้านใบพัด ทำให้เปลี่ยนจากผลักลมออก เป็นการดูดลมเข้าแทน 
 
สุดท้ายเป็น พัดลมไอน้ำ ทำงานแบบไฮบริด ใช้น้ำและลมในการทำให้เกิดความเย็น มีการพ่นละอองน้ำ แล้วใช้พัดลมเป่าให้ละอองกระจายไป จึงรู้สึกเย็นกว่าปกติเพราะมีละอองน้ำติดมาด้วย ส่วนข้อเสียคือต้องเติมน้ำบ่อย ๆ และไม่เหมาะกับการใช้ในห้องปิด เพราะทำให้เกิดความชื้นสูงเสี่ยงต่อการเกิดกลิ่นอับหรือเชื้อรา และทำให้เหนียวตัว ส่วนใหญ่เราจึงเห็นการใช้งานพัดลมไอน้ำตามที่กลางแจ้งซะมากกว่า เช่น งานวัด เป็นต้น
 
ติดตาม รายการ “แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.20-12.40 น. ทางช่อง 7HD กด 35
 
ชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtu.be/Wu_qjZ5MOI4

ข่าวที่เกี่ยวข้อง