logo Beartai 7HD ไอทีและยานยนต์

แก้จนให้เกษตรกร ! ด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำ ช่วยตัดสินใจปลูกพื้นให้ง่ายขึ้น

Beartai 7HD ไอทีและยานยนต์ : ชวนคุย กับ "ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย" ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค สวทช.) และ หนุ่ย พงศ์สุข,แบไต๋,แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์เทคโนโลยี,CH7HDNEWS,TERODigital,beartai7HD,แบไต๋7เอชดีไอทีและยานยนต์,ช่อง7,ข่าวล่าสุด,ch7hdnews,ข่าวช่อง7,กด35,แบไต๋ 7 เอชดี ไอทีและยานยนต์,beartai7hd,ฟิล์มกรรญกฤต อรรควงษ์,เบนซ์ชนกนันท์ เสนปิ่น,ภูมิเกียรติภูมิ บันลือชัยฤทธิ์,beartai IQ,ดาราช่อง7,แอปพลิเคชัน,แชต,ไลน์,line,whatsapp,WeChat,Facebook Messenger,เกษตรกร,การเกษตร

348 ครั้ง
|
21 ก.ย. 2565
ชวนคุย กับ "ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย" ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค สวทช.) และ "คุณเอิร์น อุกฤษ อุณหเลขกะ" ซีอีโอ บริษัท รีคัลท์ (ประเทศไทย) จำกัด พามาพูดคุย เรื่องการใช้เทคโนโลยี เข้ามาช่วยแก้จนให้กับเกษตรกร
 
มาถึงช่วง “Tech Talk” ในรายการ “แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์” พบกับ "ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย" และ "คุณเอิร์น อุกฤษ อุณหเลขกะ" พามาหาคำตอบ “เกษตรกรคือกระดูกสันหลังของชาติ” ประโยคที่อยู่คู่กับการเกษตรบ้านเรามาตลอด เพื่อสื่อสารว่าภาคการเกษตรยังสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ แต่ในทางกลับกัน เกษตรกรไทยกลับมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น และยังต้องเปลี่ยนสถานะจากผู้ถือครองที่ดินทำกินกลายมาเป็นเพียงผู้เช่าเท่านั้น
 
ดร.ชัย กล่าวว่า เกษตรกรถือว่าเป็น Sector ใหญ่ที่สุด เรียกได้ว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ ทำไมเราถึงจะไม่เข้ามาร่วมแก้ไข เพราะเราสามารถขยักให้มีดีกว่านี้
 
คุณเอิร์น เผยว่า ปัจจุบันเกษตรมมีประชากรกว่า 10 ล้านคน ยังทำการเกษตรแบบดั้งเดิมอยู่ ทำให้ล้าหลังกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ตนเชื่อว่าเทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา และช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่างจังหวัด และทำให้ประเทศไทยเจริญขึ้น สิ่งนี้คือแรงบันดาลใจ
 
ดร.ชัย ได้กล่าวถึงวิธีการแก้ไข คือ Internet of Things ในโลกการเกษตร และ Smart Farm ตัวคอนโทรลและต่อด้วยเซนเซอร์ เพื่อตรวจวัดสภาพอากาศ สภาพดิน อุณหภูมิ และน้ำ เพื่อมาคำนวณการควบคุมในการให้น้ำ เปิดแสง และการให้ปุ๋ย ให้เหมาะสม โดยสมัยก่อนที่เรามองว่าการทำเกษตรนั้นขาดทุน เป็นเพราะเราไม่มีการคำนวณ ให้น้ำ ปุ๋ย เกินจริงที่ไม่จำเป็น หากเราคำนวณได้จะสามารถลดต้นทุนได้ จากการทดลองสามารถลดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มผลผลิตได้มากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์
 
อีกสิ่งที่สำคัญได้แก่ Data = ข้อมูล เราต้องทราบอนาคตของอากาศ สภาพอุณหภูมิ เราจึงสามารถทำการเกษตรแม่นยำได้ โดยประเทศไทยมีข้อมูลที่เพียงพอ แต่ปัญหาคือข้อมูลมาป้อนเกษตรกรนั้นยาก เนคเทคจึงเข้ามาพยายามแก้ไขปัญหาเหล่านี้
 
โดยภาครัฐจะมีหน่วยงานที่เข้าให้ความรู้กับเกษตรอยู่แล้ว รวมถึงเนคเทค ที่กำลังจะปล่อยเทคโนโลยีแบบ Open เทคโนโลยีเปิด สามารถนำแบบไปผลิตได้เลย แต่นี้เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่จะผลิตมาให้เกษตรกรใช่้ และช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องต่าง ๆ 
 
ปัญหาสำคัญที่ทำให้เกษตรกรไทยยังทำให้มีรายได้น้อย ได้แก่การไม่ได้ทำการเกษตรแบบแม่นยำ ไม่ทราบความต้องการของผู้บริโภค โดยต้องเปลี่ยนการเปลี่ยนให้ตรงกับผู้บริโภค
 
คุณเอิร์น  เชื่อว่าเกษตรกรต้องเปิดใจสำหรับเทคโนโลยีที่กำลังจะเข้ามา และต้องเข้าใจบริบทของผู้บริโภค และส่วนมากเกษตรกรยังไม่สามารถปรับตัวเรื่องเทคโนโลยี แต่สิ่งนี้จะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นหากเปิดใจให้เทคโนโลยี
 
เกษตรกรมีความต้องการรู้เรื่องพยาการอากาศ เพื่อดูแลผลผลิต หากทำให้แม่นยำก็สามารถที่จะดึงเกษตรกรเข้ามาร่วมได้ โดยเราสามารถวางแผนการปลูกการเกษตรที่เข้ามาช่วยตัดสินใจให้เกษตรกรได้
 
ติดตาม รายการ “แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.20-12.40 น. ทางช่อง 7HD กด 35
 
ชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtu.be/iRPcn73ubB4

ข่าวที่เกี่ยวข้อง