“มีเงินเหลือจากการออม” คำถามยอดฮิตหลังเก็บออมเงินแล้วเหลือ สามารถเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์อะไรเพิ่มเติมได้บ้าง เงินทองของจริงมีคำตอบ
บนโลกใบนี้มีคนที่มีปัญหาทางการเงินด้วยกันอยู่ 2 ประเภท เงินไม่พอใช้ และเงินเหลือเยอะไม่รู้จะใช้กับอะไรดี สำหรับคนที่แบ่งเงินเก็บได้ดี และยังมีเงินเหลือ อยากให้คิดว่า เงินที่แบ่งไปออม ไปลงทุน มันดีแล้วหรือยัง ที่ตัดจากเงินออมออกไป เหลืออยู่กี่ %
เงินที่ออมไป มีการจัดสรรมาดีแล้วหรือยัง สำหรับคนทั่วไปพื้นฐานจะต้องมีตะกร้าเงิน เอาไว้สะสมแบบ 2+1 (2 คือจำเป็นจริง ๆ 1 คือแล้วแต่บุคคล ) 2 อันดับแรกคือเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน 6 เดือน การเหลือออม ต้องอยู่ในสัดส่วนที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นจะต้องมีเงินส่วนหนึ่ง ไปอยู่ในตะกร้าสำรอง อาจจะลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ในช่วงวัยเกษียณ ในส่วนของ + 1 เรียกว่าการออมเพื่อเป้าหมายระยะสั้น อาจจะเก็บไว้เรียนต่อ แต่งงาน ก็จะอยู่ที่ตัวบุคคล
ในกรณีที่ ออมก็แล้ว เก็บสำรองก็แล้ว แต่เงินก็ยังเหลือ เอาไปใช้จ่ายกับตัวเองก็ดี แต่บางคนอาจจะมองไปถึงเรื่องของร่างกาย โรคภัยต่าง ๆ ก็อาจจะจัดสรรสัดส่วนตรงนี้ไปใช้ได้
บางคนอาจจะกันบางส่วนไว้ เผื่อใช้ในอนาคต เช่นทำธุรกิจ ก็สามารถเอาเงินส่วนนี้ไปใช้ได้ ที่จะไม่ไปแตะกับเงินสำรองฉุกเฉิน หรือตอนเกษียณ อาจจะมีแหล่งพักเงินตรงนี้เอาไว้ เผื่อมีโอกาสดี ๆ เข้ามาให้ต้องใช้เงินตรงส่วนนี้ อีกมุมหนึ่งที่สำคัญ “ คนเรารวยไม่ได้ ถ้าให้ไม่เป็น “ เพราะฉะนั้น อาจจะเอาเงินก้อนนี้ที่เหลือ ไปเติมเต็มในชีวิตของผู้อื่นได้ บริจาคตามองค์กรการกุศลก็ได้
ข่าวดีสำหรับพี่น้อง แท็กซี่ สามล้อ และ วินมอเตอร์ไซด์ ครม. ประกาศลดภาษีประจำปีลงถึง 90% จากที่กฎหมายกำหนด !
หลังจากที่เหล่าพี่น้องแท็กซี่ สามล้อ และวินมอเตอร์ไซด์ ได้รับผลกระทบจากราคาวิกฤตน้ำมันของโลกและ สถานการณ์ โควิด-19 ทำให้ต้นทุนการประกอบอาชีพชีพสูงขึ้นไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต เพื่อเป็นการลดผลกระทบดังกล่าวให้กับ ผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ที่มีการจดทะเบียนไว้ราว 270,000 คน จึงอนุมัติในหลักการให้ลดภาษีประจำปีลง 90% จากที่กฎหมายกำหนด
โดยรายละเอียดกำหนดให้ลดอัตราภาษีรถประจำปีสำหรับรถยนต์รับจ้าง รถยนต์รับจ้างสามล้อ และรถจักรยานยนต์สาธารณะ ที่ครบกำหนดเสียภาษีรถประจำปีระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 65 ถึง 30 กันยายน 66 ลงร้อยละ 90 ของอัตราภาษีประจำปีท้ายพ.ร.บ. รถยนต์พ.ศ. 2522
ยกตัวอย่างมาตรการลดอัตราภาษี ดังนี้
รถแท็กซี่ มีน้ำหนักรถ 1,300 กก. เสียภาษี 68.50 บาท จากเดิม 685 บาท น้ำหนักรถ 2,000 กก. เสียภาษี 106 บาท จากเดิม 1,060 บาท
รถยนต์รับจ้างสามล้อ น้ำหนัก 500 กก. เสียภาษี 18.50 บาท จากเดิม 185 บาท
รถจักรยานยนต์สาธารณะ (อัตราภาษีจะคิดต่อคัน) เสียภาษี 10 บาท จากเดิม 100 บาท
ถึงแม้ตัวเลขอาจจะไม่ได้มากมายอะไรถ้าเทียบเป็นต่อปี แต่อย่างน้อยก็สามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและภาระของเหล่าพี่น้อง รถแท็กซี สามล้อ และวินมอเตอร์ไซด์ได้ไม่มากก็น้อย
ติดตาม รายการ “เงินทองของจริง” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35