logo Beartai 7HD ไอทีและยานยนต์

ทางเลือกช่วยโลกใหม่ ! เครื่องบินพลังงานเชื้อเพลิงจากแบคทีเรีย

Beartai 7HD ไอทีและยานยนต์ : นักวิจัยพบในอนาคตเครื่องบินอาจบินได้ด้วยเชื้อเพลิงจากแบคทีเรียที่กินน้ำตาล "สเตรปโตมายซิส" ทางเลือกที่ช่วยรักษาสมดุล หนุ่ย พงศ์สุข,แบไต๋,แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์เทคโนโลยี,CH7HDNEWS,TERODigital,beartai7HD,แบไต๋7เอชดีไอทีและยานยนต์,ช่อง7,ข่าวล่าสุด,ch7hdnews,ข่าวช่อง7,กด35,แบไต๋ 7 เอชดี ไอทีและยานยนต์,beartai7hd,ฟิล์มกรรญกฤต อรรควงษ์,เบนซ์ชนกนันท์ เสนปิ่น,ภูมิเกียรติภูมิ บันลือชัยฤทธิ์,beartai IQ,ดาราช่อง7,USB,Universal Serial Bus,หูฟัง,คำศัพท์,เครื่องบิน,แบคทีเรีย,พลังงาน,พลังงานแบคทีเรีย,เชื้อเพลิงแบคทีเรีย

262 ครั้ง
|
19 ก.ย. 2565
นักวิจัยพบในอนาคตเครื่องบินอาจบินได้ด้วยเชื้อเพลิงจากแบคทีเรียที่กินน้ำตาล "สเตรปโตมายซิส" ทางเลือกที่ช่วยรักษาสมดุลโลก ไม่ต้องปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ
 
ปัจจุบันคนเราเดินทางข้ามโลกกันด้วยเครื่องบินกันเยอะ บินสะดวก แป๊ปเดียวถึงไม่ต้องข้ามน้ำข้ามทะเลกันแบบเมื่อก่อนแล้ว แต่ความสะดวกสบายก็แลกมากับหลายอย่างเช่น สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป 
 
ปัจจุบันราคาน้ำมันเชื้อเพลิงทะยานสูงขึ้นมาก เนื่องจากปริมาณน้ำมันในธรรมชาติเริ่มลดน้อยลง และอาจจะรุนแรงไปถึงการเกิดสภาวะขาดแคลนน้ำมันไปทั่วโลก การหาแหล่งเชื้อเพลิงทางเลือกจึงเป็นสิ่งที่ต้องกระทำอย่างเร่งด่วน แนวทางหนึ่งที่กำลังเป็นที่น่าจับตามองคงหนีไม่พ้นการหาแหล่งเชื้อเพลิงที่ไม่ทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพราะปกติแล้วเครื่องบินจะใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล เช่น น้ำมันและแก๊ส 
 
ล่าสุดนักวิจัยพบว่ามีแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ชื่อ "สเตรปโตมายซิส" (Streptomyces) อาจจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงการใช้เชื้อเพลิง และเป็นทางเลือกที่ช่วยรักษาสมดุลโลกได้มากยิ่งขึ้น แถมไม่ต้องปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศด้วย 
 
โดยเจ้าแบคทีเรียสเตรปโตมายซิสนี้สามารถสร้าง "โมเลกุลระเบิด" ขึ้นมาเมื่อมันได้กินน้ำตาลเข้าไป ซึ่งโมเลกุลนี้เองที่นักวิจัยอ้างว่าอาจกลายเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกได้ โดย ดร.พาโบล ครูซ โมราเลส (Pablo Cruz-Morales) นักจุลชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยเทคนิคเดนมาร์ก ระบุว่า “ถ้าเราสามารถสร้างเชื้อเพลิงจากสิ่งนี้ได้ ก็ไม่มีข้ออ้างที่เราจะต้องใช้น้ำมันอีกต่อไป แถมยังช่วยเปิดโอกาสให้เกิดการใช้พลังงานยั่งยืนมากยิ่งขึ้นด้วย”
 
แล้วแบคทีเรียจะสร้างเชื้อเพลิงได้ขึ้นมาได้ยังไง ? ดร.โมราเลส อธิบายแบบนี้ว่า ทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติ หมายความว่า เมื่อแบคทีเรียเหล่านี้กินน้ำตาลหรือกรดอะมิโนเข้าไป มันจะย่อยสลายและเปลี่ยนเป็นองค์ประกอบของพันธะคาร์บอน คล้าย ๆ กันกับการสร้างไขมันของร่างกายเรา
 
แต่จุดที่แตกต่างกันก็คือพันธะคาร์บอนของแบคทีเรียตัวนี้เป็นสามเหลี่ยม ซึ่งจะแตกต่างจากปกติที่จะยืดหยุ่นและไม่มีมุมแหลม เมื่อพันธะเหล่านี้มีมุมแหลมทำให้มันสามารถโค้งงอได้ แล้วเมื่อมันหัก พันธะเหล่านี้จะปลดปล่อยพลังงานออกมา ซึ่งอาจนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงได้
 
ปัจจุบัน คาร์บอนไดออกไซด์จากการขนส่งทางอากาศนั้นคิดเป็น 2% ของทั้งโลก โดยการเดินทางไปกลับด้วยเครื่องบินชั้นประหยัดจากลอนดอนไปนิวยอร์กแค่ครั้งเดียว ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากเท่ากับปริมาณที่คน ๆ หนึ่งในประเทศกานาผลิตได้ทั้งปีเสียอีก แต่หากนั่งเครื่องบินชั้นธุรกิจก็จะยิ่งผลิตมากขึ้นเป็น 3 เท่า ต่อ 1 คน โดยเฉลี่ย
 
ดร.โมราเลส กล่าวอีกว่า ปัญหาในตอนนี้คือเชื้อเพลิงฟอสซิลได้รับการสนับสนุนอยู่ แต่สักวันหนึ่งเชื้อเพลิงฟอสซิลก็จะหมดไป และเราก็ต้องหาทางเลือกในการแก้ปัญหาในเร็ว ๆ นี้อยู่ดี เพราะฉะนั้น การแก้ปัญหานี้มันไม่ใช่แค่เรื่องการวิจัยทางเทคโนโลยี แต่มันต้องแก้ไขทั้งเรื่องภูมิศาสตร์การเมืองและสังคมการเมืองโลกด้วย
 
ติดตาม รายการ “แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.20-12.40 น. ทางช่อง 7HD กด 35
 
ชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtu.be/u9gMuCqiu1g

ข่าวที่เกี่ยวข้อง