เผยวิธี มีหนี้ติดตัวอยู่ ก็สามารถลงทุนได้ หากมีหนี้บริโภค ควรเคลียร์ให้เสร็จสิ้นก่อน ถึงจะลงทุนได้
มีหนี้ติดตัวอยู่ ก็สามารถลงทุนได้ ก่อนอื่นต้องดูที่กลุ่มหนี้ ถ้าเป็นหนี้กลุ่มบริโภค บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือสินเชื่อส่วนบุคคล จะต้องเคลียร์หนี้ก่อนเพราะดอกเบี้ยสูง แต่ถ้าไม่มีหนี้จำพวกนี้ มีแต่หนี้บ้าน สามารถลงทุนได้เลย เพราะถ้ารอหนี้บ้านหมดจะใช้เวลานาน
โจทย์สำคัญที่อยากจะชวนคิดเลย คือ หลาย ๆ คน ที่ผ่อนบ้าน กู้ซื้อบ้าน 3 ล้าน ผ่อนประมาณ 18,000 บาท ผ่อนไปเรื่อย ๆ ไม่รีบ เมื่อผ่อนไปนาน ๆ เข้า บางที หนี้ก็เหลือ 2 ล้าน ถ้าไม่ได้เปลี่ยนแปลงสัญญาใด ๆ แต่ถ้าเปลี่ยนสัญญา รีไฟแนนซ์บ้าง ปรับดอกเบี้ย หนี้ที่เคยเหลือ ก็อาจจะผ่อนลดลงมาได้ ไม่ต้องผ่อน 18,000 เท่าเดิม ก็จะสามารถเอาเงินที่เคยจ่าย ไปลงทุนได้ หรือจะจ่ายเท่าเดิม แต่จะกลายเป็นจ่ายงวด แล้วก็โปะบางส่วน
ในขณะเดียวกัน ผ่อนปกติ และโปะได้ ระหว่างโปะ ให้หมดเร็วขึ้น กับ ลงทุน ตรงส่วนนี้ ต้องทำให้บาลานซ์กัน ถ้าทยอยโปะเพิ่มอยู่ตลอด สัญญาจาก 30 ปี อาจจะเหลือ 15 ปี อาจจะปรับสัญญาประกอบกันไปด้วย แต่ถ้าในระหว่างนั้น ไม่ได้เอาเงินไปลงทุน เวลาที่ผ่านไป ก็จะก้าวเข้าสู่วัยเกษียณเรื่อย ๆ
อาจจะต้องมีการทำตัวเลขทางการเงินเพิ่ม ห้ามคิดในหัวเด็ดขาด ต้องจดลงบนกระดาษ ให้เห็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของเราจริง ๆ ว่ามีเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นจะเริ่มเห็นว่า ภาระการเงินจากรายได้ หักทุกอย่างแล้ว จะเหลือเงินให้ไปลงทุนได้เท่าไหร่
มีหนี้แต่อยากลงทุน ทำอย่างไรดี
1. ให้ดูว่าเป็นหนี้อะไร ถ้าเป็นหนี้บริโภคให้เคลียร์ก่อน
2. ถ้าเป็นหนี้บ้าน หาทางลดเงินผ่อน
3. อย่าลืมศึกษาหาความรู้ในการลงทุน
4. กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน
คงเคยได้ยินคำว่า เงินเฟ้อ บ่อยขึ้นตามสื่อต่าง ๆ โดยขณะนี้ภาวะเงินเฟ้อเกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก เช่น เงินเฟ้อสหรัฐอเมริกาสูงสุดในรอบ 41 ปี เงินเฟ้อของประเทศไทยก็สูงสุดในรอบ 14 ปี เช่นกัน
เงินเฟ้อ คืออะไร ? อธิบายอย่างง่าย ๆ เลย เงินเฟ้อ คือ สภาวะที่ราคาสินค้าและบริการมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น ง่ายกว่านั้นอีกก็คือ ของแพงขึ้น เช่น เคยซื้อขนม 2 ถุงได้ในราคา 10 บาท แต่ปัจจุบันอาจจะซื้อได้ในราคาถุงละ 10 บาท เป็นต้น
เงินเฟ้อ เกิดจากอะไร ?
ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อสินค้า-บริการเพิ่มขึ้น แต่สินค้า-บริการนั้นกลับมีในตลาดไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ขายมีการปรับราคาสินค้า-บริการสูงขึ้น หรือ
ผู้ผลิตต้องแบกรับต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น จึงทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้า-บริการให้สูงขึ้นตามไปด้วย
โดยหน่วยงานที่จะเข้ามาดูแลและควบคุมสภาวะ เงินเฟ้อ ก็จะมีอยู่ 2 หน่วยงานหลัก หน่วยงานแรกคือ
ธนาคารกลาง หรือธนาคารแห่งประเทศไทย เรียกง่ายๆ ว่าแบงก์ชาติจะคอยช่วยควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ไม่ว่าจะเป็น การกำหนดอัตราดอกเบี้ย ที่จะช่วยให้ค่าเงิน แข็งค่ามากขึ้น หรือง่าย ๆ คือ เงินจะมีค่ามากขึ้นนั่นเอง
กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งจะช่วยควบคุมเงินเฟ้อ ผ่านมาตรการกำหนดและควบคุมราคาสินค้า เพื่อช่วยไม่ให้ราคาสินค้าพุ่งสูงจนผิดปกติ
ส่วนตัวเลขเงินเฟ้อของประเทศไทยสามารถติดตามได้จากประกาศจากหลายหน่วยงาน เช่น เว็ปไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย และเว็ปไซต์ของกระทรวงพาณิชย์ครับ ตามที่ขึ้นอยู่ในขณะนี้ได้เลย
ติดตาม รายการ “เงินทองของจริง” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35