อยู่กลางทะเล ป่าเขาก็ไถฟีดได้ด้วย เน็ตผ่านดาวเทียม
logo Beartai 7HD ไอทีและยานยนต์

อยู่กลางทะเล ป่าเขาก็ไถฟีดได้ด้วย เน็ตผ่านดาวเทียม

Beartai 7HD ไอทีและยานยนต์ : หากพูดถีงดาวเทียม เราอาจจะคุ้นเคยกับทีวีผ่านดาวเทียม ที่ทำให้คนไทยทั้งประเทศไม่ว่าจะอยู่บนเขากลางป่า หรือเกาะกลางทะเ หนุ่ย พงศ์สุข,แบไต๋,แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์เทคโนโลยี,CH7HDNEWS,TERODigital,beartai7HD,แบไต๋7เอชดีไอทีและยานยนต์,ช่อง7,ข่าวล่าสุด,ch7hdnews,ข่าวช่อง7,กด35,แบไต๋ 7 เอชดี ไอทีและยานยนต์,beartai7hd,ฟิล์มกรรญกฤต อรรควงษ์,เบนซ์ชนกนันท์ เสนปิ่น,ภูมิเกียรติภูมิ บันลือชัยฤทธิ์,beartai IQ,ดาราช่อง7,โปรแกรมท่องเว็บ,เบราว์เซอร์,Google Chrome,Microsoft Edge,Safari,Firefox,เน็ตดาวเทียม,จำกัดเวลาการใช้หน้าจอ

569 ครั้ง
|
06 ก.ย. 2565
หากพูดถีงดาวเทียม เราอาจจะคุ้นเคยกับทีวีผ่านดาวเทียม ที่ทำให้คนไทยทั้งประเทศไม่ว่าจะอยู่บนเขากลางป่า หรือเกาะกลางทะเลได้ชมทีวีชัด ๆ แต่รู้ไหมว่า ปัจจุบันเรากำลังจะเข้าสู่ยุคอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมที่มีประสิทธิภาพ ต่อไปอยู่กลางป่าก็สามารถเล่น โซเชียลได้
 
ในเมื่อทีวีรับข้อมูลจากดาวเทียมเหมือนกัน ทำไมอินเทอร์เน็ตดาวเทียมถึงมาตามหลังทีวีดาวเทียมตั้งหลายสิบปี เป็นเพราะรูปแบบการใช้งานที่ต่างกัน เวลาเราดูทีวีดาวเทียม เราก็ดูภาพที่สถานีส่งมาหาเราอย่างเดียว ไม่ต้องส่งข้อมูลอะไรไปบอกสถานี
 
ซึ่งแตกต่างจากเวลาเราดู Youtube ผ่านอินเทอร์เน็ต เราต้องเลือกว่าเราจะดูคลิปอะไร Youtube ถึงจะส่งภาพมาหาเรา ซึ่งการที่ต้องส่งข้อมูลกลับไปแบบการสื่อสาร 2 ทางแบบนี้ ทำให้อินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมเกิดช้า เพราะจานดาวเทียมติดบ้านเราไม่มีความสามารถยิงข้อมูลกลับไปกลับไปที่ดาวเทียมในอวกาศนั่นเอง
 
ในปัจจุบันเทคโนโลยีดาวเทียมและการส่งดาวเทียมพัฒนาขึ้น เราจึงมีดาวเทียมที่อยู่ใกล้โลกมากขึ้น หรือเรียกว่าดาวเทียมวงโคจรต่ำ ทำให้จานดาวเทียมเล็ก ๆ ก็สามารถส่งข้อมูลกลับขึ้นไปบนอวกาศได้รวดเร็ว โดยปัจจุบันทำความเร็วดาวน์โหลดได้ในหลัก 100 mbps แล้ว ซึ่งใกล้เคียงกับความเร็วเน็ตในหลาย ๆ ประเทศ 
 
เมื่อดาวเทียมอยู่ใกล้โลกมากขึ้น ทำให้ใช้เวลาในการยิงสัญญาณไปกลับระหว่างผิวโลกกับดาวเทียมน้อยลง ทำให้เน็ตดาวเทียมยุคนี้มีความหน่วงต่ำ จนสามารถใช้ประชุมออนไลน์ หรือเล่นเกมออนไลน์ได้มีประสิทธิภาพ
 
แต่อินเทอร์เน็ตดาวเทียมที่ครอบคลุมทั้งโลกได้ ไม่ได้ใช้ดาวเทียมดวงเดียวก็ส่งสัญญาณได้เหมือนทีวีดาวเทียม แต่ต้องใช้ดาวเทียมขนาดเล็กเป็นพันเป็นหมื่นดวง โคจรเรียงกันเหมือนแหอยู่รอบโลก เพื่อรับและส่งต่อสัญญาณระหว่างกันในอวกาศและกระจายไปทั่วโลกได้
 
ปัจจุบันก็มีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตดาวเทียมหลายรายที่กำลังแข่งขันในระดับโลก นำโดย Starlink ของ Elon Musk ที่เป็นผู้นำอยู่ แล้วก็มีโครงการ OneWeb (วันเว็บ) ของอังกฤษ และโครงการ Kuiper (ไคเปอร์) ของ Amazon ที่เป็นดาวเทียมในลักษณะเดียวกัน
 
ซึ่งโครงการที่ดูมีหวังจะให้บริการในไทยมากที่สุดจะเป็น Starlink ที่ประกาศเตรียมให้บริการในฟิลิปปินส์เป็นประเทศแรกของเอเชียช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 2022 นี้ และมีแผนจะให้บริการในไทยช่วงปี 2023 นี้ แต่ก็ต้องได้รับอนุญาตจากกสทช. ก่อน ถึงจะให้บริการในไทยได้
 
แน่นอนว่าอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมเป็นเทคโนโลยีใหม่ ต้องมีค่าบริการสูงกว่าอินเทอร์เน็ตบนพื้นดินปกติที่เราใช้กันอยู่แล้ว โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับค่าบริการอินเทอร์เน็ตของไทยที่จัดว่าอยู่ในกลุ่มราคาถูกแต่มีประสิทธิภาพดีของโลก เราอาจต้องจ่ายค่าอุปกรณ์สูงถึงหลักหมื่นบาท และค่าบริการอีกหลักพันบาทต่อเดือน สำหรับชุดพื้นฐานที่ใช้ตามบ้านทั่วไป และจะจ่ายแพงขึ้นอีกสำหรับชุดที่ใช้บนเรือกลางทะเลหรือชุดสำหรับภาคธุรกิจ
 
โดยอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมนั้นสร้างโอกาสการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกลของไทยได้ เมื่ออินเทอร์เน็ตที่ดีเข้าถึงพื้นที่ห่างไกล  ก็เปิดโอกาสหลาย ๆ อย่าง เช่นทำการค้าออนไลน์ได้ สามารถขายของออกสู่โลกภายนอกได้ง่ายขึ้น หรือสามารถซื้อหาสินค้าที่ไม่มีในพื้นที่ให้เข้าไปส่งผ่านอินเทอร์เน็ตได้ รวมถึงสร้างโอกาสเข้าถึงความรู้ใหม่ ๆ จากทั่วโลกได้ ที่สำคัญคือใช้สนับสนุนการท่องเที่ยวได้ด้วย โปรโมทความสวยงามให้โลกรู้ หรือนักท่องเที่ยวมาเที่ยวก็ยังติดต่อโลกภายนอกได้
 
เมื่อประเทศไทยมีการให้บริการอินเทอร์เน็ตดาวเทียมจากต่างชาติ ก็ยิ่งทำให้เกิดการแข่งขันด้านการให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศ ซึ่งยิ่งจะทำให้ภาพรวมอินเทอร์เน็ตไทยที่ดีอยู่แล้ว ดียิ่งขึ้นไปอีก
 
ติดตาม รายการ “แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.20-12.40 น. ทางช่อง 7HD กด 35
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtu.be/umaNG1Wqv9w
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง