รู้หรือไม่ ? พันธบัตรรัฐบาล เป็นรูปแบบหนึ่งของการลงทุน ที่มีความน่าเชื่อถือสูง และเป็นรูปแบบของการออมเงินอย่างหนึ่ง ให้ผลตอบแทนดีกว่าการออมในรูปแบบของการฝากประจำหรือฝากออมทรัพย์
พันธนบัตรรัฐบาล คือ สินทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ หรือ สัญญากู้ยืมเงิน อีกแบบหนึ่ง เวลาที่รัฐฯ มีความจำเป็นต้องใช้เงิน ในโครงการภาครัฐฯ ต่าง ๆ วิธีการของรัฐบาล คือออกพันธบัตร เพื่อให้ประชาชนมาซื้อ แล้วจะรวบรวมเงินตรงนี้ เอาไปทำกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล
ประชาชนที่มาซื้อพันธบัตร จะมีสถานะภาพเป็นเจ้าหนี้ของรัฐฯ แต่ตอนนี้ก็จะมีชื่อเรียกว่า พันธบัตรเราไม่ทิ้งกัน เมื่อไหร่ที่รัฐฯ ออกพันธบัตรแปลว่าขอกู้ยืมเงินจากประชาชน สถาบันการเงิน ทั้งในและนอกประเทศ สามารถซื้อได้ โดยในสัญญาของพันธบัตรก็อาจจะมีระยะเวลา 3 ปี 5 ปี 10 ปี ซึ่งระยะเวลาการยืมก็จะต้องตอบแทนด้วยดอกเบี้ย ยืมไม่นาน ดอกเบี้ยก็จะต่ำ ถือว่าไม่เสี่ยงมาก ถ้ายืมนาน ดอกเบี้ยก็จะแพง
โดยหลักการ พันธบัตร เป็นตราสารหนี้ที่ความเสี่ยง แทบจะไม่มี ความเสี่ยงต่ำมาก ๆ ถ้าจะโกง สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา อาจจะกระทบรุนแรงได้ ออกพันธบัตรมาแล้ว 3 ปี แล้วอีก 3 ปีข้างหน้า รัฐฯ ไม่มีเงินมาจ่าย ก็จะมาจัดการกับภาษีประชาชนต่อ
ข้อดี คือ ความเสี่ยงต่ำ แต่ก็มีสิ่งที่ต้องระมัดระวังในเรื่องของ สภาพคล่อง เพราะ มันสามารถเอาไปขายในตลาดรองได้ ซื้อไป 3 ปี ถือไว้ 1 ปี ได้ดอกเบี้ยปีแรก อีก 2 ปีอยากเปลี่ยนเป็นเงิน ต้องเอาไปขายเองในตลาดรอง ดอกเบี้ยก็จะมากกว่าเงินฝากประจำ ในปัจจุบันซื้อได้ง่ายขึ้น ผ่านธนาคาร ผ่านแอปพลิเคชันก็ได้ และหน่วยก็ต่ำลงไปเยอะ หลักพันสามารถซื้อได้แล้ว
สำหรับผู้เกษียณอายุ อยากได้ดอกเบี้ยที่สูงมากกว่าเงินฝาก ความมั่นคงสูง สิ่งนี้เหมาะ แต่ไม่เหมาะกับผู้ที่คาดหวังเรื่องของผลตอบแทน เงินก้อนนั้นมีความจำเป็นที่ต้องใช้เลย ต้องระมัดระวังอย่างมาก ถ้าซื้อพันธบัตร ให้ดอกเบี้ย 1.5% แล้วช่วงนั้น ดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น ถ้าเอาไปขายตอนยังไม่ครบสัญญา พันธบัตรก็จะลดลง เพราะดอกเบี้ยใหม่แพงกว่า
แชร์วิธีการ ปิดบัญชีธนาคารที่ถูกต้องควรทำอย่างไร และทำไมไม่ควรปิดบัญชีจนเหลือ 0 บาท พร้อมเผยเทคนิคที่คุณผู้ชมอาจไม่เคยรู้มาก่อน เงินทองของจริงมีคำแนะนำให้
สาเหตุที่ไม่ควรถอนเงินในบัญชีจนเหลือ 0 บาท เพื่อปิดบัญชี เพราะหากถอนเงินออกมาก่อนถึงวันที่ธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ย ดอกเบี้ยที่ค้างในบัญชีธนาคารจะถูกหักเอาไปจ่ายค่าธรรมเนียมในการรักษาบัญชี ทำให้ดอกเบี้ยออมทรัพย์ที่ควรจะได้รับกลับเป็นเงินของธนาคาร
วิธีปิดบัญชีธนาคารที่ถูกต้อง
1. เตรียมเอกสารการปิดบัญชีให้พร้อม
2. แจ้งเจ้าหน้าที่ธนาคาร ว่ามีความประสงค์จะปิดบัญชีธนาคาร อย่าเพิ่งถอนเงินออกมาจนหมดก่อนจะทำเรื่องปิดบัญชี หรืออย่าให้เหลือ 0 บาท ก่อนที่จะไปแจ้งปิดบัญชีนั่นเอง
3. เจ้าหน้าที่จะคำนวณดอกเบี้ยค้างจ่ายตามจำนวนวันที่ได้ฝากเงิน และคืนดอกเบี้ยมาให้ แม้จะยังไม่ถึงกำหนดจ่ายดอกเบี้ยก็ตาม
4. ในกรณีที่สมุดบัญชีธนาคารหายสามารถปิดบัญชีธนาคารได้ แต่ต้องไปแจ้งความก่อน แล้วนำใบแจ้งความพร้อมบัตรประชาชนติดต่อที่สาขาธนาคารเพื่อปิดบัญชีต่อไป
ติดตาม รายการ “เงินทองของจริง” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35