ชวนคุย กับ "รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์" ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และภัยพิบัติ ม.รังสิต ที่จะมาร่วมประเมินสถานการณ์น้ำที่กำลังมา ว่าจะเอาอยู่หรือไม่
มาถึงช่วง “Tech Talk” ในรายการ “แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์” พบกับ "รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์" ที่มาร่วมพูดคุย เนื่องจากกรมอุตุฯ ได้ออกประกาศเตือน ประเทศไทยอาจจะเจอมรสุมเพิ่มยิ่งขึ้น จนอาจเกิดน้ำท่วมได้ในหลายพื้นที่ ซึ่งเทคโนโลยีจัดการน้ำท่วมของไทยจะเอาอยู่ไหม ?
รศ.ดร.เสรี กล่าวว่า หากพูดถึงขนาดฝนที่ตกในกรุงโซล 1 ชั่วโมง ตกที่ประมาณ 140 มิลลิลิตร เป็นฝนในรอบ 80 ปี ของประเทศเกาหลี แต่ถ้าฝนที่ตกในกรุงโซลมาตกที่ประเทศไทย คือฝนที่ตกในรอบ 200 ปี ประเด็นสำคัญนั้นก็คือ โอกาสที่เกิดขึ้นในประเทศไทย มีแน่นอน
โดยเหตุผลหลัก ๆ จากข้อมูลนาซ่าล่าสุด เดือนมิถุนายน ปี 2565 อุณหภูมินั้นสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมา โดยที่ยุโรปมีอุณหภูมิสูงขึ้น 5 องศา ที่เกาหลีประมาณ 3-4 องศา และประเทศไทยสูงขึ้น 2 องศา หมายความว่า ทุก 1 องศาจะมีน้ำบนชั้นบรรยากาศ เพิ่มขึ้นโดยประมาณ 7% ที่รอวันตก ฉะนั้นการที่ประเทศเกาหลีเกิดฝนตกหนัก นั้นไม่ใช่เรื่องที่แปลกใจ เพราะว่าเป็นเรื่องที่คาดการณ์ไว้แล้ว ดังนั้น ประเทศเกาหลีจะมีฝนเพิ่มขึ้นจาก 50 ปีที่แล้วอยู่ที่ 30% และประเทศไทย น้ำฝนอาจเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 20% จึงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจว่า climate change ทำให้ทุกอย่างพังทลายลง เป็นภัยพิบัติที่มากยิ่งขึ้น
รศ.ดร.เสรี เผยว่า ในปัจจุบัน AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ที่เข้ามา เราต้องใช้ให้มีประโยชน์
จากรูปภาพ ตัว H หมายถึง ภัยคุกคาม E หมายถึง ล่อแหลม V หมายถึง เปราะบาง ในประเทศไทยอยู่ในกลุ่มที่ล่อแหลมและเปราะบางมาก ทั้งเรื่องความองค์ความรู้ การบริหารจัดการ เมื่อรวมกันทั้ง 3 วง รวมเป็นตัว R คือผลกระทบหมู่ Warming World ได้สร้างผลกระทบทำให้วงกลมนั้นใหญ่ยิ่ง จึงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
รศ.ดร.เสรี ยังกล่าวอีกว่า เราไม่ทราบหรอกว่าอนาคตฝนจะตกแบบไหน มีปริมาณเท่าไหร่ แต่การคาดการณ์ในลักษณะฉากทัศน์ โดยตั้งสมมุติฐานว่า หากฝนตกเท่าปริมาณกรุงโซล และนำฉากทัศน์มาวิเคราะห์เพื่อเตรียมการป้องกัน ทำให้การป้องกันล่วงหน้านั้นมีความสำคัญมาก เทคโนโลยีในปัจจุบันจึงช่วยได้มากเพราะมีฉากทัศน์จำนวนมากที่วางไว้ และนำมาวิเคราะห์เพื่อการเตรียมการเพื่อสู้กับภัยต่าง ๆ
รศ.ดร.เสรี กำลังพัฒนา Future Tales แพลตฟอร์มของเอกชน สามารถคำนวณปริมาณน้ำได้ ทำให้เราสามารถหาวิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างไร
การลอกท่อ ขุดคลอง เป็นการทำให้พื้นที่นั้นสามารถรับได้่อย่างเพียงพอ เนื่องจากได้มีการคาดการณ์ไว้ว่าปลายปีนี้ เดือน ก.ย.-ต.ค. จะมีปริมาณน้ำฝน แต่เป็นเรื่องที่ต้องทำการบ้านเพื่อจะแก้ไขและป้องกันน้ำฝนได้ เพราะโอกาสที่ฝน 100 ปีมีโอกาสที่จะมาตอนไหนก็ได้
ติดตาม รายการ “แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.20-12.40 น. ทางช่อง 7HD กด 35
VIDEO
+ อ่านเพิ่มเติม