logo Beartai 7HD ไอทีและยานยนต์

วิธีเช็กเครดิตแม่ค้าออนไลน์อย่างไร ไม่ให้ผิด พ.ร.บ. PDPA

Beartai 7HD ไอทีและยานยนต์ : ชวนคุย กับ "ทนายษิทรา เบี้ยบังเกิด" ผู้เลขาธิการมูลนิธิทีมงานทนายประชาชนเพื่อเยาวชนและสังคม ที่มาให้ความรู้เกี่ยวกับ หนุ่ย พงศ์สุข,แบไต๋,แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์เทคโนโลยี,CH7HDNEWS,TERODigital,beartai7HD,แบไต๋7เอชดีไอทีและยานยนต์,ช่อง7,ข่าวล่าสุด,ch7hdnews,ข่าวช่อง7,กด35,แบไต๋ 7 เอชดี ไอทีและยานยนต์,beartai7hd,ฟิล์มกรรญกฤต อรรควงษ์,เบนซ์ชนกนันท์ เสนปิ่น,ภูมิเกียรติภูมิ บันลือชัยฤทธิ์,Amazon,สินค้าออนไลน์,ร้านค้าออนไลน์,แอมะซอน,พ.ร.บ.PDPA,กฎหมาย,PDPA,เช็กเคดิตแม่ค้า,วิธีดูร้านค้าออนไลน์

609 ครั้ง
|
24 ส.ค. 2565
ชวนคุย กับ "ทนายษิทรา เบี้ยบังเกิด" ผู้เลขาธิการมูลนิธิทีมงานทนายประชาชนเพื่อเยาวชนและสังคม ที่มาให้ความรู้เกี่ยวกับ วิธีการเช็กเครดิตแม่ค้าออนไลน์ แบบไม่ผิด PDPA 
 
มาถึงช่วง “Tech Talk” ในรายการ “แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์” พบกับ "ทนายษิทรา เบี้ยบังเกิด"  ที่มาร่วมพูดคุย การขอเช็กเครดิตแม่ค้าออนไลน์ โดยการโพสต์รูป และข้อมูลส่วนตัวอาจผิด PDPA กฎหมายฐานละเมิดข้อมูลส่วนตัวผู้อื่น และวิธีการเช็กเครดิตแม่ค้าออนไลน์ แบบไม่ผิด PDPA 
 
ทนายษิทรา กล่าวว่า ในตอนนี้เมื่อมีกฎหมายใหม่เข้ามา มีคนตั้งคำถามเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็น การสอบถามก่อน เช็กประวัติแม่ค้าก่อน มีความผิดไหม ? เมื่อเราถูกโกง และไปโพสต์โซเซียลประจานผู้กระทำผิด นั้นมีความผิดอะไรอีก ? ทนายษิทรา ได้ตอบไว้ว่า ทั้งหมดนั้นเป็นความผิด 
 
ทนายษิทรา เผยว่า ในอดีตเราสามารถนำรูปแม่ค้าหรือร้านค้าไปตรวจสอบ สอบถามกับผู้อื่นได้ แต่ในปัจจุบันมีกฎหมาย PDPA นั้นมีความผิดแล้ว โดย PDPA คือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ-นามสกุล รูปภาพ เลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ อีเมล ไอพีแอดเดรส และหน้าตา ทั้งหมดนี้อยู่ในส่วนของข้อมูลส่วนบุคคล
 
โดยความจริงนั้น เพียงเรียกชื่อ+นามสกุล ก็ผิด PDPA โดยไปเปิดเผยหรือไปใช้อ้าง โดยที่เจ้าของชื่อนั้นเสียหาย แต่ในหลักยินยอมแล้ว = ไม่ผิดกฎหมาย ต้องมีการขออนุญาตก่อน
 
ทนายษิทรา กล่าวอีกว่า การที่นำข้อมูลส่วนบุคคลไปเผยแพร่ แม้ว่าจะไม่ใช่เชิงพาณิชย์ ถือว่ามีความผิดแล้ว แต่ความผิดจะลดหลั่นกัน หากใช้แบบไม่เชิงพาณิชย์ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือหากไปใช้ในเชิงพาณิชย์ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท โดยใน พ.ร.บ. PDPA สามารถตรวจสอบภายหลังได้ หากผู้เสียหายเกิดไม่ยินยอม แบบไม่มีกำหนดจำนวนปีย้อนหลัง
 
ทนายษิทรา ได้เตือนว่า หากโพสต์สินค้าที่ซื้อมาแล้วไม่ถูกใจ และต่อว่าผู้ขาย หรือการนำข้อมูลร้านค้ามาเผยแพร่ ถึงเป็นการเตือนประชาชนให้รู้เท่าทัน ก็ผิดกฎหมาย PDPA ได้ และอาจผิดฐานหมิ่นประมาทเช่นกัน  
 
ทนายษิทรา ได้ให้คำแนะนำว่า เพื่อความปลอดภัยควรรวบรวมหลักฐานและไปแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดำเนินการตามกฎหมาย เพื่อความปลอดภัยของตัวเรา และการต่อสู้กันในชั้นศาล
 
โดยวิธีการตรวจสอบที่ถูกต้อง ได้แก่ การไปตรวจสอบกับแพลตฟอร์มที่ซื้อ และช่องทางการรีวิวสินค้า เพื่อให้แน่ใจกับสินค้าที่เราจะซื้อ หากซื้อผ่าน Facebook หรือ Instagram สามารถตรวจสอบผ่านคอมเมนต์ หรือดูประวัติความน่าเชื่อถือ
 
ติดตาม รายการ “แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.20-12.40 น. ทางช่อง 7HD กด 35
 
ชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtu.be/DKbudh8HIso
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง