มาถึงช่วง “Tech Talk” ในรายการ “แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์” พบกับ "คุณโสภณ โพธิ์ขาว" ที่มาร่วมพูดคุย จากความชอบสู่สตาร์ตอัปผู้ผลิต มอเตอร์ไซค์อีวีไทยประดิษฐ์ วิศวกรผู้หลงรักมอเตอร์ไซค์คลาสสิค ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากโมเดลของเล่น
คุณโสภณ ได้นำผลงานมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า รุ่น SP-1 Classic จัดว่าเป็นมินิไบค์ ใช้ไฟฟ้า 100 เปอร์เซ็นต์ จุดเด่นได้แก่รูปทรงของมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่มีคอนเซป Retro Go EV มีกล่องแบตเตอรี่ที่มีฝาคล้ายกับฝาครอบวาร์ลเครื่องยนต์ที่สวยงาม ตัวถึงน้ำมันที่ออกแบบมาเพื่อซ่อนระบบควบคุมไฟฟ้า
คุณโสภณ กล่าวว่า การที่เราจะออกแบบมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ควรออกแบบให้แตกต่างจากรูปเดิม แต่ว่าในมอตเตอร์ไซค์รุ่น P-1 Classic มีความตั้งใจที่ต้องการให้ออกมาเป็นเหมือนว่าอยู่ในช่วงเวลาคาบเกี่ยว เรื่องการออกแบบมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้านั้นขึ้นอยู่กับการออกแบบวางเลย์เอาท์ให้สวยงามตามความเหมาะสม
การขับขี่ มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า รุ่น SP-1 Classic ถือว่าง่าย มีกุญแจระบบ Remote Keyless ไม่ต้องเสียบกุญแจก็สามารถขับขี่ได้ปกติ มีระบบไฟสูง-ต่ำ และเสียงแตรที่ออกแบบให้มีน้ำเสียงที่โบราณ ระบบเกียร์ 3 Speed มีความเร็วสูงสุด 72 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จับจาก GPS ความจุแบตเตอรี่ 1.4 กิโลวัตต์ มีเป้าหมายวิ่งได้ไกล 60 กิโลเมตรต่อการชาร์จ
คุณโสภณ เผยว่า จุดเด่นที่สุดของมอเตอร์ไซค์รุ่นนี้อยู่ที่ รูปทรงและขนาดไซซ์นี้ ยังไม่เคยเห็นคนไหนนั้นทำมาขายก่อน ส่วนเรื่องระบบการชาร์จยังใช้พาร์ตการชาร์จแบบอะแดปเตอร์หม้อแปลงเสียบชาร์จ ในอนาคตได้วางแผนการผลิตมอเตอรไซค์ไฟฟ้าที่ใช้การชาร์จแบบหับชาร์จ Type 2 ที่เป็นมารตรฐานรถ EV เพราะในรุ่น SP-1 Classic มีขนาดเล็ก จึงไม่สามารใช้อุปกรณ์ชาร์จแบบ Type 2 ได้ สามารถชาร์จจากไฟบ้านได้เลย ใช้เวลาชาร์จเพียง 4 ชั่วโมง
คุณโสภณ ได้กล่าวว่า ในอดีตได้ทำผลิตมอเตอร์ไซค์ที่มีเครื่องยนต์ มีความสึกว่า เครื่องยนต์มีความเสียงดังอาจก่อให้เกิดความรำคาญ จึงเริ่มสนใจรถไฟฟ้า และหมดความสนใจกับรถที่เป็นระบบน้ำมัน
คุณโสภณ ต้องการให้รถไฟฟ้านั้น โตขึ้นไปเรื่อย ๆ ตรงตามความต้องการของทุกคน แต่ในปัจจุบันยังไม่สามารถทำได้ ยังต้องการมีการจองมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ากันอยู่ ในปีที่ มีการสั่งจอง 27 คัน มีทั้งหมด 8 โมเดล ขายเพียง 5 โมลเดียว ได้แก่ รุ่น Bug Scooter รุ่น Bug4 Herbie Limited รุ่น Monster BUG รุ่น Neo 50's และรุ่น Rat BUG
จุดเริ่มต้นการผลิตรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า เริ่มต้นจากการสนใจรถไฟฟ้า จึงสมัครเข้าคอร์สยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้เราลองฝึกลองทำในการประกอบแบตเตอรี่ และได้ให้คำแนะนำกับคนที่เริ่มสนใจที่อยากจะผลิตรถไฟฟ้าว่า ในยุคสมัยนี้ค่อนข้างหาความรู้ได้สะดวกขึ้น เนื่องจากมีอินเทอร์เน็ต ส่วนเรื่องการออกแบบและการทำโครงสร้าง เรื่องอะไหล่มาใส่รถก็ไม่ใช่เรื่องยาก ต้องอาศัยควมทุ่มเทกับมัน โดยคุณโสภณ ไม่สนับสนุนการ Copy แบบ การที่เราจะทำรถ เราต้องผลิตการออกแบบการผลิตที่ง่ายต่อการ Service ด้วยไม่ใช่เพียงความสวยงามอย่างเดียว
ติดตาม รายการ “แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.20-12.40 น. ทางช่อง 7HD กด 35