ชวนคุย กับ "ดร.ทิว จิรวัฒน์ ตั้งปณิธานนท์" Co-Founder บริษัท Quantum Technologies Foundation of Thailand (QTFT) ที่มาให้ความรู้เกี่ยว ควอนตัมคอมพิวเตอร์’ (Quantum Computer) เทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาให้กับมนุษย์ ด้วยพลังการคำนวณอันมหาศาลที่คาดว่าจะมาเปลี่ยนแปลงโลกนี้ได้
มาถึงช่วง “Tech Talk” ในรายการ “แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์” พบกับ "ดร.ทิว จิรวัฒน์ ตั้งปณิธานนท์" ที่มาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับ "ควอนตัมคอมพิวเตอร์" (Quantum Computer) เทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาให้กับมนุษย์ ด้วยพลังการคำนวณอันมหาศาลที่คาดว่าจะมาเปลี่ยนแปลงโลกนี้ได้ ถ้าถูกนำมาใช้จริง มนุษย์จะการคาดการณ์ปัญหาล่วงหน้าได้ไวมาก ทั้งนี้ ควอนตัมคอมพิวเตอร์ก็มีข้อเสียอันใหญ่หลวงที่สามารถย้อนกลับมาทำลายโลกเราจนขาดสมดุล แต่ในเมื่อไม่อาจหยุดการสร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์ได้ เราจะป้องกันตัวเองอย่างไร ?
ดร.ทิว กล่าวว่า คำว่า ควอนตัม นั้นมีคนเคยกล่าวไว้ว่า คนที่บอกว่าตัวเองเข้าใจควอนตัมแสดงว่ายังไม่เข้าใจควอนตัม หากฟังแล้วไม่เข้าใจ แสดงว่ามาถูกทางแล้ว เพราะมันเป็นเรื่องที่เราไม่เคยพบเห็นในชีวิตประจำวัน เป็นเรื่องที่เกิดในสิ่งที่มันเล็กและเย็น ๆ เช่น พวกอะตอม
ดร.ทิว อธิบายคำว่าควอนตัม ควอนตัมคือสาขาหนึ่งในรายวิชาฟิสิกส์ ที่เรียกว่า สาขาฟิสิกส์แบบดั้งเดิม (Classical Physics) เป็นฟิสิกส์ที่เรียนตอนมัธยมศึกษาตอนปลาย หากคนไหนเรียนสายวิทย์จะได้เรียน F = ma ที่เอาไว้ศึกษาว่าวัตถุนั้นเคลื่อนที่อย่างไร เคลื่อนยนต์กลไกมีการทำงานกันอย่างไร
โดยควอนตัม คือศาสตร์ที่เอาไว้ศึกษาพฤติกรรมของสิ่งที่มันเล็ก ๆ และก็เย็น ๆ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์มีการค้นพบว่าเป็นเวลานานนับร้อยปี ในโลกที่เล็กขนาดนั้น แต่กลับมีพฤติกรรมที่แตกต่างออกไปจากที่เราเคยเห็นในชีวิตประจำวัน ตัวอย่าง อะตอมสามารถอยู่ได้หลายตำแหน่งในเวลาเดียวกัน คำว่าตำแหน่ง หมายถึง สถานที่ หากเราอยู่ในโลกแบบดั้งเดิมจะสามารถอยู่อีก 2 ที่ได้ ในเวลาเดียวกัน แต่ควอนตัมใสามารถอยู่ได้หลายตำแหน่งในเวลาเดียวกัน เรียกว่า Quantum Superposilion
ดร.ทิว เผยว่า เรียกได้ว่านี่คือ มัลติเวิร์ส์ (Multiverse) เป็นการตีความอีกแบบหนึ่งของพฤติกรรมนี้ คืออาจจะมีจักรวาลนี้ และอีกจักรวาลหนึ่งที่อยู่อีกฝั่ง และ 2 จักรวาลนี้เกิดขึ้นในเวลาพร้อมกัน หรือเรียกว่า จักรวาลคู่ขนาน
เมื่อเรากล่าวว่าควอนตัมเป็นสิ่งเข้าใจไม่ได้ เพราะถ้าเราบอกเข้าใจอะไรสักอย่าง แปลว่าเราต้องเข้าใจเคยพบเจอและเชื่อมโยงเข้ามาในชีวิตประจำวันได้ แต่ในโลกของอะตอมที่มีขนาดเล็ก มนุษย์ไม่เคยเข้าไปอยู่ เพราะฉะนั้นจึงมีคุณสมบัติที่แปลก ๆ เช่นการอยู่ได้หลายตำแหน่งในเวลาเดียวกัน เพราะเราไม่ใช่อะตอม หากมนุษย์ตัวเล็กเท่าอะตอมอาจจะไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะคิดว่าจะสามารถอยู่ได้หลายตำแหน่งในเวลาเดียวกัน
ดร.ทิว ได้กล่าวว่า วิธีที่เข้าใจควอนตัมที่ดีที่สุดคือ การฟังบ่อย ๆ และคุ้นชินไปเอง คิดได้ว่าธรรมชาตินั้นเป็นแบบนี้เป็นเรื่องธรรมดา และเทคโนโลยีหลายอย่างที่พบเห็นกันในชีวิตประจำวัน เป็นผลพลอยได้มาจากวิชาควอนตัมฟิสิกส์ทั้งนั้นเลย
โดยคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน มีการใช้คุณสมบัติทางควอนตัมบางอย่างเหมือนกัน แต่ใช้เพียงส่วนหนึ่งไม่ได้ใช้อย่างเต็มที่ โดยปรกติแล้ว CPU หรือ หน่วยประมวลผล 1 ตัว จะมีทรานซิสเตอร์นับล้าน ๆ เป็นหน่วยประมวลผลที่กระจายตัวอยู่ในสิ่งที่เรามองไม่เห็น ที่คอยคุยและเชื่อมโยงกัน ทรานซิสเตอร์จะมีการใช้คุณสมบัติบางอย่างของควอนตัมเป็นส่วนหนึ่งเหมือนกัน
ทรานซิสเตอร์ที่กล่าวถึงนั้น จะใช่้คุณสมบัติควอนตัมบางอย่างในการผลิตตัวนั้นขึ้นมา ที่เรียกว่า Quantum Tunnelling หรือ การทะลุผ่าน เสมือนโยนลูกบอลทะลุผ่านกำแพงไปได้เลย โดยไม่ต้องกระโดดข้าม ซึ่งเป็นคุณสมบัติของทรานซิสเตอร์ที่เราใช้กันในปัจจุบัน
ทำให้เห็นว่า ควอนตัม ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เกิดขึ้น เพราะคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันมาโดยตลอดนั้นเป็นผลพลอยได้ของ "ควอนตัมฟิสิกส์" อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าเทคโนโลยีของดิจิทัลจะใช้ควอนตัมประกอบเพียงเล็กน้อย
ดร.ทิว ได้ให้มุมมองว่า หากควอนตัมได้มนุษย์จะสบายยิ่งขึ้น เช่น เราสามารถลดค่าการขนส่งได้ 10-20% ทำให้มันถูกลงยิ่งขึ้น
ติดตาม รายการ “แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.20-12.40 น. ทางช่อง 7HD กด 35