logo Beartai 7HD ไอทีและยานยนต์

หุ่นยนต์ไทยไปไกลระดับโลก กับเทคโนโลยีการกู้ภัยที่่ช่วยเหลือชีวิตคนได้จริง !

Beartai 7HD ไอทีและยานยนต์ : ชวนคุย กับ ทีม iRAP Robot ทีมหุ่นยนต์กู้ภัย จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ทีมหุ่นยนต์กู้ภัยจากประเทศ หนุ่ย พงศ์สุข,แบไต๋,แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์เทคโนโลยี,CH7HDNEWS,TERODigital,beartai7HD,แบไต๋7เอชดีไอทีและยานยนต์,ช่อง7,ข่าวล่าสุด,ch7hdnews,ข่าวช่อง7,กด35,แบไต๋ 7 เอชดี ไอทีและยานยนต์,beartai7hd,ฟิล์มกรรญกฤต อรรควงษ์,เบนซ์ชนกนันท์ เสนปิ่น,ภูมิเกียรติภูมิ บันลือชัยฤทธิ์,รหัสผ่าน,ปี2021,password,หุ่นยนต์,หุ่นยนต์กู้ภัย,irap

685 ครั้ง
|
10 ส.ค. 2565
ชวนคุย กับ ทีม iRAP Robot ทีมหุ่นยนต์กู้ภัย จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ทีมหุ่นยนต์กู้ภัยจากประเทศไทยที่คว้ารางวัลในเวทีโลก 
 
มาถึงช่วง “Tech Talk” ในรายการ “แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์” พบกับ “อาจารย์นพดล พัดชื่น” กับ " ดร.อรัญ แบล็ทเลอร์" และทีม iRAP Robot ทีมหุ่นยนต์กู้ภัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ที่มาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับ ความสำเร็จของ "หุ่นยนต์กู้ภัย" จากประเทศไทยที่คว้ารางวัลในเวทีโลก
 
ดร.อรัญ เผยว่า iRAP Robot เป็นชื่อทีมที่ใช้มานาน เพื่อสร้างแบนรด์ติดหู ให้ทราบว่า iRAP Robot เป็นทีมจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (KMUTNB) 
 
การแข่งขันเป็นรูปแบบ Knowhow (ความรู้เชิงปฏิบัติการ) สามารถหยิบอุปกรณ์ในท้องถิ่นมาสร้างเป็นหุ่นยนต์ได้ โดยการแข่งขันหลัก ๆ คือ การส่งหุ่นยนต์เข้าไปหาผู้ประสบภัย จะต้องตรวจจับอุณหภูมิของผู้ประสบภัย และส่วนต่าง ๆ เช่นตัวกล้อง ที่สามารถส่งสัญญาณมาให้ผู้ควบคุมให้ทราบว่า ผู้ประสบภัยมีอาการแบบไหน และสิ่งสำคัญหุ่นยนต์ต้องสื่อสารกับผู้ประสบภัยได้
 
อาจารย์นพดล กล่าวถึงหน้าที่ของทีม โดยแบ่งออกเป็น ทีม Mechanic ดีไซน์ภาพรวมของหุ่นยนต์ กลไกต่าง ๆ , ทีมไฟฟ้า เปรียบเสมือน เส้นประสาท เส้นเลือด ในการโยงกลไกต่าง ๆ ให้ติดต่อสื่อสารกันได้ และ Program ก็คือสมอง ปัจจุบันหุ่นยนต์สามารถรับรู้ปริมาณน้ำหนัก สามารถรับรู้สิ่งกีดขวาง เพราะฉะนั้นแขนของตัวหุ่นยนต์กู้ภัย นำไปทำเป็นแขนเครื่องจักรอุตสาหกรรม เรียกว่า COBOT 
 
ดร.อรัญ เผยว่า ในการแข่งขันปีนี้ คะแนนทั้ง 3 ทีมที่ผ่านรอบ Final สามารถผ่านเข้ารอบและเข้าไปเล่นในรอบชิงชนะเลิศได้ มีทีม iRAP Robot ทีม Hector  จากประเทศเยอรมัน และทีม Shinobi จากประเทศญี่ปุ่น เมื่อนำคะแนนออกมาแล้วห่างกันไม่ถึง 5% ดร.อรัญ ภูมิใจกับทีม iRAP Robot เพราะทุกคนนั้นได้เต็มที่กับมันแล้ว ประสบการณ์ที่ได้รับคุ้มค่ากว่าเงินรางวัล
 
อาจารย์นพดล กล่าวว่า ปัจจุบันงานที่ทำหลัก ๆ คืองานซ่อมบำรุง เพื่อให้หุ่นยนต์เข้าไปในพื้นที่อับอากาศ เช่น พื้นที่ควันไฟ เพื่อวัดความหนาโดยนำซอฟต์แวร์มาดำเนินการ โดยซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ไม่แตกต่างกับหุ่นยนต์ในร้านอาหาร แต่ที่แตกต่างคือ ซอฟต์แวร์ทั้งหมด ทางทีมเป็นคนเขียนขึ้นมาเอง 
 
โดยหุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นได้ทำประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบในท่อขนาดใหญ่ ที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงให้กับมนุษย์ และหุ่นยนต์ที่แจกจ่ายยาให้กับผู้ป่วยโควิดในโรงพยาบาลสนามต่าง สามารถลดการสัมผัสของมนุษย์ได้อีกด้วย
 
ดร.อรัญ ยังกล่าวอีกว่า หุ่นยนต์ในปัจจุบันยังไม่สามารถแทนที่มนุษย์ได้ เพราะหุ่นยนต์ไม่มีการตัดสินได้เหมือนมนุษย์ การช่วยเหลือมนุษย์นั้นยังคงต้องมีการวิเคราะห์ที่นุ่มลึก ต้องดูองค์ประกอบหลาย ๆ อย่าง เพราะมนุษย์มีการตัดสินที่ดีกว่า 
 
ติดตาม รายการ “แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.20-12.40 น. ทางช่อง 7HD กด 35
 
ชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtu.be/80tUgtui8tg

ข่าวที่เกี่ยวข้อง