logo Beartai 7HD ไอทีและยานยนต์

ไขข้อสงสัย ! ไฟล์ภาพแต่ละนามสกุล ต่างกันอย่างไร

Beartai 7HD ไอทีและยานยนต์ : คนทั่วไปส่วนใหญ่อาจจะคุ้นหูและคุ้นเคยเพียงแค่ไฟล์ภาพ JPEG เท่านั้น แต่จริง ๆ เเล้วนั้นยังมีรูปแบบของไฟล์อีกหลายประเภ หนุ่ย พงศ์สุข,แบไต๋,แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์เทคโนโลยี,CH7HDNEWS,TERODigital,beartai7HD,แบไต๋7เอชดีไอทีและยานยนต์,ช่อง7,ข่าวล่าสุด,ch7hdnews,ข่าวช่อง7,กด35,แบไต๋ 7 เอชดี ไอทีและยานยนต์,beartai7hd,ฟิล์มกรรญกฤต อรรควงษ์,เบนซ์ชนกนันท์ เสนปิ่น,ภูมิเกียรติภูมิ บันลือชัยฤทธิ์,สิงคโปร์,ตรวจคนเข้าเมือง,Drive Thru,Ducati,มอเตอร์ไซต์ไฟฟ้า,MotoE,ไฟล์ภาพ,ไฟเตือน,ไฟเตือนรถ

499 ครั้ง
|
29 ก.ค. 2565
คนทั่วไปส่วนใหญ่อาจจะคุ้นหูและคุ้นเคยเพียงแค่ไฟล์ภาพ JPEG เท่านั้น แต่จริง ๆ เเล้วนั้นยังมีรูปแบบของไฟล์อีกหลายประเภท ที่มีจุดเด่นแตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมของการใช้งาน  มีจุดประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกันอีกด้วย
 
เริ่มจากไฟล์ .JPG ที่คนชอบเรียกติดปากว่า ‘เจ-เปก’ เป็นไฟล์ภาพยอดนิยมที่มักเจอในภาพถ่าย เป็นประเภทของภาพที่มีความสะดวกสบายมากที่สุด เพราะนอกจากจะนำไปใช้ต่อได้ง่ายแล้ว ยังมีขนาดไฟล์ที่เล็ก เหมาะอัปโหลดลงโซเชียลด้วย แต่ไม่เหมาะสำหรับการบันทึกภาพลายเส้น ภาพการ์ตูนที่ขอบคม ๆ เพราะจะถูกบีบอัดจนเสียคุณภาพได้ง่าย และเอาไปแต่งต่อได้ไม่เยอะ เพราะมีการบีบอัดของข้อมูลมาก
 
พูดถึงภาพถ่ายแล้วจะลืมภาพ RAW ไปไม่ได้เลย ภาพ RAW หรือไฟล์นามสกุล RAW, DNG, ARW หรือ CR3 แม้จะชื่อต่างกัน แต่เป็นไฟล์ภาพที่มาจากกล้องถ่ายภาพโดยตรง เก็บข้อมูลดิบเพื่อนำมาประมวลผล ตกแต่งต่อในภายหลัง ทำให้ปรับแต่งได้ยืดหยุ่นกว่าการนำเอาไฟล์ JPG มาปรับแต่ง โดยกล้องถ่ายภาพแต่ละแบรนด์ก็จะมีไฟล์ RAW เป็นนามสกุลของตัวเอง แต่ภาพ RAW พวกนี้จะไม่สามารถเปิดได้แบบธรรมดา ต้องมีโปรแกรมเฉพาะในการช่วยเปิดภาพนี้ หรือเปิดผ่านโปรแกรมแต่งภาพอย่าง Photoshop หรือ Lightroom ก็ได้เหมือนกัน
 
ต่อกันที่ไฟล์ .PNG เลยค่ะ ภาพ PNG จะเป็นรูปแบบไฟล์ที่บีบอัดแบบไม่สูญเสียคุณภาพ ทำให้มีขนาดใหญ่กว่า JPG แถมยังสามารถทำภาพแบบพื้นหลังใสได้ด้วย เหมาะสำหรับภาพทุกประเภท แต่ถ้าบันทึกภาพความละเอียดสูง ไฟล์จะใหญ่มาก
 
อีกภาพที่อยากแนะนำคือภาพ GIF หรือ ‘จิ๊ฟ’ ภาพนี้น่าจะคุ้นตากันบ้างแล้วทั้งในเฟซบุ๊ก และแอปแชต Messenger ที่จะมีการส่งภาพแสดงความรู้สึกแบบเคลื่อนไหวได้ นั่นแหละค่ะภาพ GIF นอกจากที่จะทำเป็นภาพเคลื่อนไหวได้แล้ว ยังทำภาพที่พื้นหลังใสได้ด้วย แต่ไฟล์ภาพที่ได้ก็จะรองรับสีได้ไม่ ถ้าเป็นรูปถ่ายจะเห็นเม็ดสีแตก ๆ ชัดเจนเลย
 
อีกนามสกุลนึงที่น่าจะได้เจอกันบ่อย ๆ ในตอนนี้ก็คือนามสกุล WEBP โดย WEBP เป็นมาตรฐานไฟล์ภาพของ Google ที่ใช้งานแบบเดียวกับ JPG แต่ขนาดไฟล์เล็กกว่า เหมาะกับการนำเอาไปแสดงผลบนเว็บมาก ๆ เลย แต่มีข้อเสียที่เปิดในคอมพิวเตอร์ยากกว่า JPG เพราะโปรแกรมมากมายยังไม่รองรับไฟล์นี้
 
มาตรฐานไฟล์ภาพแต่ละประเภท ต่างก็มีประโยชน์ในการใช้งาน และข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ขอเแค่เราเลือกใช้ภาพให้ถูกกับงาน เราก็สามารถใช้ประโยชน์จากจุดเด่นของไฟล์ภาพเหล่านั้นได้มากที่สุดเลย
 
ติดตาม รายการ “แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.20-12.40 น. ทางช่อง 7HD กด 35
 
ชมผ่าน Youtube ได้ที่ https://youtu.be/CCJBfvUfy3c
 
 
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง