logo ถกไม่เถียง

หนุ่ม รปภ. ร้อง นายจ้างไม่แยแส แถมตกงาน เหตุช่วยชีวิตเพื่อนพนักงาน จนตัวเองนิ้วขาด

ถกไม่เถียง : หนุ่ม รปภ. ร้อง ! เข้าเวรห้างดังย่านพระราม 2 เห็นพนักงานรถล้มปรี่เข้าช่วย จนตัวเองนิ้วขาด ! เคราะห์ซ้ำ ! เบิกประกันสังคมไม่ได้ เหตุเ ถกไม่เถียง,ทินถกไม่เถียง,ช่อง7HD,TERODigital,รปภ,ประกันสังคม,พลเมืองดี,นิ้วขาด,เบิกค่ารักษา,ปฏิบัติหน้าที่,กองทุนประกันสังคม,ค่ารักษาพยาบาล,นายจ้าง,ช่วยเหลือ,แม่ค้า,รถเข็น,ยาม,ลูกจ้าง,เข้าเวรยาม,สูญเสียอวัยวะ,สัญญาจ้าง,ให้ออก,เลิกจ้าง,ลาหยุด

1,116 ครั้ง
|
26 ก.ค. 2565
หนุ่ม รปภ. ร้อง ! เข้าเวรห้างดังย่านพระราม 2 เห็นพนักงานรถล้มปรี่เข้าช่วย จนตัวเองนิ้วขาด ! เคราะห์ซ้ำ ! เบิกประกันสังคมไม่ได้ เหตุเจ้านายอ้าง ไม่เกี่ยวข้องในการทำงาน แถมเจ้าหน้าที่ฟังความข้างเดียว
 
วันที่ 26 ก.ค. 2565 ในรายการ “ข่าวเย็นประเด็นร้อน” ช่วง "ถกไม่เถียง" ทางช่อง 7HD กด 35 ดำเนินรายการโดย ทิน โชคกมลกิจ
 
ธงชัย สละทอง (เอ๋) อดีตพนักงานรักษาความปลอดภัย ผู้เสียหาย เล่าว่า เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2565 ตนเข้าเวรยามตามปกติที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งย่านถนนพระรามที่ 2 บริเวณพื้นที่ลานจอดรถจักรยานยนต์ และรถเข็นผู้ค้า โดยเวลาประมาณ 13.30 น. มีพนักงานเข็นรถเข็นของผู้ค้ามาด้วยรถจักรยานยนต์ ทันใดนั้น เสื้อของพนักงานคนดังกล่าวก็เข้าไปติดกับสเตอร์รถจักรยานยนต์ ส่งผลให้รถเข็นคว่ำหน้าลง เมื่อเห็นดังนั้น ตนจึงรีบวิ่งเข้าไปช่วย โดยเอามีดเข้าไปตัดเสื้อออกแล้วเอามือไปดึงเสื้อที่ติดอยู่ แต่เนื่องจากเครื่องยนต์ยังติดอยู่จึงทำให้มือของตนถูกดึงรูดเข้าไป ตนจึงรีบดึงออก แล้วแจ้งให้หัวหน้านำตนไปส่งโรงพยาบาล
 
ถกไม่เถียง : หนุ่ม รปภ. ร้อง นายจ้างไม่แยแส แถมต
 
ในตอนแรก ธงชัย ตั้งใจจะไปโรงพยาบาลบางปะกอก 8 เพราะสิทธิ์ของตนอยู่ที่นั่น แต่หัวหน้าบอกว่าไปโรงพยาบาล ดีเอ็นพี พระราม 2 ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดก็ได้ เนื่องจากเป็นการบาดเจ็บจากการทำงาน จากนั้น โรงพยาบาลก็แจ้งรายละเอียดไปยังบริษัทว่าจะใช้เงินกองทุนอะไรในการออกค่ารักษาพยาบาล ซึ่งขณะนั้น ตนกำลังทำแผลอยู่ และตนคิดว่าคงไม่มีปัญหาอะไรแล้ว ไม่ต้องออกค่ารักษาพยาบาลเอง ก็เลยไม่ได้สนใจอะไรต่อ
 
สำหรับอาการบาดเจ็บ ธงชัย ให้ข้อมูลว่า นิ้วชี้ซ้าย เส้นเอ็นขาด กระดูกแตก ต้องใช้เหล็กดาม และนิ้วโป้งซ้ายขาดเกือบครึ่งข้อ โดยโรงพยาบาลให้พักรักษาตัว 4 คืน รวมค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด 50,800 บาท
 
ธงชัย เปิดเผยต่อไปว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2565 ทางบริษัทก็ยังคงติดต่อสอบถามอาการอยู่เรื่อย ๆ ตนก็บอกว่ายังคงปวดแผลอยู่ราว 2-3 สัปดาห์ จนกระทั่งใกล้วันที่ 23 มิ.ย. 2565 ทางโรงพยาบาลติดต่อกลับมาว่า ทางบริษัทระงับเงินกองทุนไว้ เนื่องจากอุบัติเหตุดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ทำให้ตนต้องหาเงินมาชำระค่ารักษาพยาบาลเอง
 
ถกไม่เถียง : หนุ่ม รปภ. ร้อง นายจ้างไม่แยแส แถมต
 
ด้าน ขนิษฐา ทองปรางค์ (ยุ้ย) แฟนของผู้เสียหาย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ทางโรงพยาบาลแจ้งให้สำรองจ่ายก่อน แล้วให้ไปหาช่องทางในการเบิกเอง ซึ่งตนก็ได้ไปที่สำนักงานประกันสังคมแล้ว แต่ก็ไม่มีการรับเรื่องใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะเขาเชื่อหนังสือที่นายจ้างส่งให้เขา ซึ่งหนังสือฉบับดังกล่าวก็ต่างกับที่ส่งไปให้ทางโรงพยาบาล และมีการกล่าวหาว่าทางฝั่งตนให้ความเท็จกับทางโรงพยาบาล
 
ขนิษฐา เล่าต่อไปว่า เมื่อวันที่ 11 ตนไปสำนักงานประกันสังคม เจ้าหน้าที่ให้ข้อมูลว่า นายจ้างกล่าวว่า ในช่วงที่เกิดอุบัติเหตุ ธงชัย ออกไปรับงานเสริม ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ดังนั้น ฝั่งตนต้องกลับไปคุยกับนายจ้างเอง จากนั้นตนจึงเดินทางไปที่ศาลกรมแรงงาน ก็ได้รับการแจ้งว่า ตนต้องยื่นเรื่องตามระบบ คือ ต้องยื่นขอวินิจฉัยใหม่ ว่าสมควรจะได้ใช้เงินกองทุนนั้นหรือไม่ ถ้าไม่เป็นประโยชน์ก็ให้ยื่นอุทธรณ์ ขนิษฐา กล่าวว่า ต่างกับสำนักงานประกันสังคมที่ไม่รับเรื่องอะไรเลย
 
ขนิษฐา เปิดใจทั้งน้ำตาว่า ขณะนี้ตนไม่มีเงิน 50,800 บาท ไปจ่ายค่ารักษาพยาบาล เพราะตอนนี้ ตนต้องทำงานอยู่คนเดียว ค่าบ้านก็ต้องผ่อนเป็นรายสัปดาห์ เพราะหาเงินมาจ่ายไม่ทัน ครั้นไปสำนักงานประกันสังคมก็ไม่รับเรื่องอะไรสักอย่าง กลับให้ยื่นเรื่องว่างงาน พร้อมบอกอีกว่า ตนยังโชคดีที่นายจ้างยังปราณีให้ R2 หรือ R5 ซึ่งตนก็ไม่เข้าใจว่าคืออะไร จึงถามไปว่า ถ้าอย่างนั้น แฟนตนก็นิ้วขาดฟรีเหรอ เขาก็ตอบกลับมาว่าใช่ เพราะเขาเชื่อในหนังสือของนายจ้างมากกว่า ซึ่งตนก็ข้องใจว่าหากนายจ้างให้ข้อมูลเท็จเขาก็เชื่อตามนั้นเหรอ เพราะที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีการมาสอบสวนอะไรกับแฟนตนเลย อีกทั้งวันเกิดเหตุ หัวหน้าชุดของแฟนตนเป็นคนนำไปส่งโรงพยาบาล ก็เป็นที่ยืนยันได้ว่าแฟนตนได้รับบาดเจ็บขณะการทำงานจริง จึงไม่เข้าใจว่าทำไมเหตุการณ์ถึงเป็นเช่นนี้ ทำไมเขาไม่รับอะไรเลย
 
ถกไม่เถียง : หนุ่ม รปภ. ร้อง นายจ้างไม่แยแส แถมต
 
ด้าน เอกภพ เหลืองประเสริฐ ผู้ก่อตั้งเพจสายไหมต้องรอด ซึ่งได้รับการร้องทุกข์มา กล่าวว่า ธงชัย คือพลเมืองดี ปฏิบัติหน้าที่เป็น รปภ. เห็นคนประสพอุบัติเหตุก็รีบเข้าไปช่วย กลับกัน หากวันนั้น ธงชัย ยืนอยู่เฉย ๆ ไม่เข้าไปช่วย แล้วมีผู้ถ่ายภาพบันทึกเหตุการณ์ไว้ นายจ้างก็คงมาตำหนิธงชัยอีก แต่พอวันนั้นเขาลงไปช่วยเหลือ แล้วเกิดอุบัติเหตุจริง นายจ้างก็ควรจะชื่นชมเขา และตนมั่นใจว่า นายจ้างรายอื่น ๆ ก็พร้อมที่จะรับเขาเข้าทำงาน เพราะ ธงชัย ไม่ได้เพิกเฉยต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ยอมที่จะไปเผชิญเหตุ เมื่อตนทราบเรื่องนี้ ก็ได้มีการให้กำลังใจ และเชื่อมั่นว่าทางกระทรวงแรงงานจะต้องดำเนินการและให้ความเป็นธรรมได้อย่างแน่นอน
 
เอกภพ ให้ความเห็นว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่แน่นอน กอปรกับเป็นหน้าที่รักษาความปลอดภัยโดยตรง เมื่อมันเกิดอุบัติเหตุตรงนั้นก็ไม่ควรจะตีความเป็นอย่างอื่น
 
ในส่วน จำรุญ ทวีเขตร์กิจ ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนามาตรฐานและระบบเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า สำนักงานประกันสังคม คุ้มครองลูกจ้าง 24 ชม. เพราะ มีทั้งกองทุนเงินทดแทน ที่คุ้มครองเกี่ยวการทำงาน และกองทุนประกันสังคม คุ้มครองลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่ไม่เกี่ยวกับการทำงาน เพราะฉะนั้น ลูกจ้างมีสิทธิ์ใช้ทั้ง 2 กองทุน
 
ถกไม่เถียง : หนุ่ม รปภ. ร้อง นายจ้างไม่แยแส แถมต
 
จำรุญ กล่าวว่า ในกรณีนี้ หากดูตามข้อเท็จจริง ตนเห็นว่าข้อเท็จจริงยังไม่ยุติเนื่องจากเป็นการฟังความนายจ้างเพียงข้างเดียว โดยปกติแล้ว ในกรณีที่ลูกจ้าประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน เป็นหน้าที่ของในจ้างที่ต้องแจ้งสำนักงานประกันสังคมภายใน 15 วัน แต่ถ้านายจ้างไม่แจ้งเอง ลูกจ้าก็มีสิทธิที่จะแจ้งได้ภายใน 180 วัน โดยกรณีนี้ หากยังยืนยันว่าเป็นไปตามเรื่องราวที่ได้กล่าวมา ก็สามารถที่จะยื่นเรื่องเองได้เลย โดยยื่นเป็น กท.16 พร้อมกับหลักฐาน
 
จำรุญ ยืนยันว่า เจ้าหน้าที่จะต้องรับ แล้วไปสืบหาข้อเท็จจริงจากทุกฝ่าย ว่าเข้าลักษณะเกี่ยวข้องกับการทำงานหรือไม่ แล้วก็ดำเนินการตามกระบวนการต่อไป โดยยื่นกับตนโดยตรงได้เลย ประกอบกับหลักฐานอื่น ๆ เช่น ใบรับรองแพทย์
 
จำรุญ กล่าวต่อไปว่า ถึงแม้ ธงชัย จะไม่มีสิทธิ์ในกองทุนนี้ ก็ยังมีสิทธิ UCEP (Universal Coverage for Emergency Patients) หรือ สิทธิการรักษาตามนโยบายรัฐเพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ให้สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจนพ้นวิกฤตและสามารถคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง ได้ โดยยังสามารถเบิกได้ภายใน 2 ปี
 
แต่หากวินิจฉัยแล้วเกี่ยวข้องกับการทำงาน จำรุญ เปิดเผยว่า ก็จะได้รับการชดเชยค่ารักษาพยาบาล หากเป็นโรงพยาบาลเอกชนได้ชดเชยวงเงิน 1 ล้านบาท หากเป็นโรงพยาบาลรัฐบาลได้รับชดเชยจนสิ้นสุดการรักษา ไม่จำกัดวงเงิน กรณีที่ต้องนอนโรงพยาบาลก็ได้รับค่าทดแทนการหยุดงาน 70% ของค่าจ้างตามที่แพทย์สั่งให้หยุดงาน และกรณีที่สูญเสียอวัยวะหรือสมรรถภาพก็มีการกำหนดราคาไว้อยู่
 
ถกไม่เถียง : หนุ่ม รปภ. ร้อง นายจ้างไม่แยแส แถมต
 
ติดตาม  รายการข่าวเย็นประเด็นร้อน ช่วง "ถกไม่เถียง"  ดำเนินรายการโดย “ทิน โชคกมลกิจ”  ได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.00 น. ทางช่อง 7HD กด 35 
 
ชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtu.be/uqgmV-cqn9Q

ข่าวที่เกี่ยวข้อง