ปัจจุบัน ได้มีการจัดทำบันทึกแผนที่ทางมหาสมุทรกว่า 25% แล้ว จากโครงการระดับนานาชาติที่เรียกว่า “Seabed 2030” จะช่วยให้เราเข้าใจการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความพยายามในการอนุรักษ์มหาสมุทรมากขึ้น และหวังว่าจะทำแผนที่ของพื้นมหาสมุทรให้ได้ 100% ภายในปี 2030
อย่างที่ทราบกันดีว่าโลกของเรามีขนาดกว้างใหญ่มาก โดยมีขนาดพื้นผิว 510,100,000 ตร.กม. คิดเป็น “พื้นที่” ของน้ำ 71% ส่วนอีก 29% คือพื้นที่ดินแดน
ล่าสุดได้มีการจัดทำบันทึกแผนที่ทางมหาสมุทร ซึ่งในปัจจุบันมีพื้นทะเลของโลกประมาณ 25% ได้รับการจดบันทึกเป็นแผนที่แล้ว จากโครงการระดับนานาชาติที่เรียกว่า “Seabed 2030” (ซีเบด สองพันสามสิบ) โดยเป็นการร่วมมือของรัฐบาล บริษัท และสถาบันวิจัยจากหลายประเทศ
โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของความคิดริเริ่มที่นำโดย UN หรือ องค์การสหประชาชาติ ที่ตั้งชื่อว่า “The Ocean Decade Seabed 2030” (ดิ โอเชียน เด๊กเขต ซีเลด ทเว็นตี้ เธอร์ตี้) เพื่อหวังว่าจะทำแผนที่ของพื้นมหาสมุทรให้ได้ 100% ภายในปี 2030
สำหรับโครงการนี้ นักวิจัยบอกว่าจะเป็นไปได้ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและข้อมูลที่รวบรวมไว้แล้ว อย่างในปีที่ผ่านมาเพียงปีเดียว Seabed ได้วัดพื้นที่เพิ่มขึ้นประมาณ 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร (เทียบเท่าประมาณขนาดของทวีปยุโรป)
การวัดความลึกของพื้นทะเลส่วนใหญ่ประเมินโดยใช้เครื่องวัดระยะสูงจากดาวเทียมซึ่งให้แนวคิดเกี่ยวกับรูปร่างของพื้นผิวก้นทะเล นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการรวบรวมข้อมูลการวัดระดับความลึกจะช่วยให้เราเข้าใจการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความพยายามในการอนุรักษ์มหาสมุทรมากขึ้น ที่สำคัญ การทำแผนที่พื้นมหาสมุทรยังช่วยในการตรวจจับสึนามิและภัยธรรมชาติอื่น ๆ อีกด้วย
ติดตาม รายการ “แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.20-12.40 น. ทางช่อง 7HD กด 35
+ อ่านเพิ่มเติม