logo Beartai 7HD ไอทีและยานยนต์

วงการรีไซเคิลคึกคัก! สาธารณสุข อนุญาต ให้ภาชนะใส่อาหารสามารถทำจาก "พลาสติกรีไซเคิล" แล้ว

Beartai 7HD ไอทีและยานยนต์ : กระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศ ให้ภาชนะใส่อาหารสามารถทำจาก "พลาสติกรีไซเคิล" ได้แล้ว โดยก่อนหน้านี้ ประเทศไทยมีข้อกำหนด หนุ่ย พงศ์สุข,แบไต๋,แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์เทคโนโลยี,CH7HDNEWS,TERODigital,beartai7HD,แบไต๋7เอชดีไอทีและยานยนต์,ช่อง7,ข่าวล่าสุด,ch7hdnews,ข่าวช่อง7,กด35,แบไต๋ 7 เอชดี ไอทีและยานยนต์,beartai7hd,ฟิล์มกรรญกฤต อรรควงษ์,เบนซ์ชนกนันท์ เสนปิ่น,ภูมิเกียรติภูมิ บันลือชัยฤทธิ์,พลาสติก,หนอน,รีไซเคิล,ซูเปอร์เวิร์ม,กระทรวงสาธารณสุข,พลาสติกรีไซเคิล,การไฟฟ้า,ค่าไฟแพง,ไฟฟ้าแพงขึ้น,ขึ้นค่าไฟ

534 ครั้ง
|
06 ก.ค. 2565
กระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศ ให้ภาชนะใส่อาหารสามารถทำจาก "พลาสติกรีไซเคิล" ได้แล้ว โดยก่อนหน้านี้ ประเทศไทยมีข้อกำหนด “ห้ามมิให้ใช้ภาชนะบรรจุที่ทำขึ้นจากพลาสติกที่ใช้แล้วบรรจุอาหาร เว้นแต่ใช้เพื่อบรรจุผลไม้ชนิดที่ไม่รับประทานเปลือก” ทำให้ธุรกิจรีไซเคิลพลาสติกของไทยให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง
 
เนื่องจากก่อนหน้านี้ ประเทศไทยมีข้อกำหนด “ห้ามมิให้ใช้ภาชนะบรรจุที่ทำขึ้นจากพลาสติกที่ใช้แล้วบรรจุอาหาร เว้นแต่ใช้เพื่อบรรจุผลไม้ชนิดที่ไม่รับประทานเปลือก”
 
แต่เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2565 กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดให้ภาชนะใส่อาหารสามารถทำจาก "พลาสติกรีไซเคิล" ได้แล้ว
 
โดยในเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 235) พ.ศ. 2565  ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติก ระบุว่า ภาชนะบรรจุที่ทำขึ้นจากพลาสติกแปรใช้ใหม่ (Recycled Plastic) ต้องมาจาก 3 กระบวนการ คือ
 
1. การแปรใช้ใหม่แบบปฐมภูมิ (Primary Recycling: Pre-Consumer Scrap) หมายถึง การแปรรูปชิ้นส่วนพลาสติกหรือเศษพลาสติก (Scrap) ภายในโรงงาน ซึ่งเหลือจากกระบวนการผลิตภาชนะบรรจุอาหาร เพื่อนำมาหมุนเวียนกลับมาผลิตใหม่ โดยชิ้นส่วนพลาสติกดังกล่าว ต้องไม่เคยใช้สัมผัสอาหารมาก่อน
 
2. การแปรใช้ใหม่แบบทุติยภูมิ (Secondary Recycling: Physical Reprocessing: Mechanical Recycling) หมายถึง การแปรรูปภาชนะพลาสติกที่ผ่านการบรรจุอาหารแล้วด้วยวิธีทางกายภาพ รวมทั้งวิธีทางกล เช่น การนำพลาสติกมาบด ล้าง และอาจใช้สารเคมีในการปรับปรุงคุณภาพแล้วหลอมอัดเป็นเม็ดพลาสติก เพื่อใช้ทำเป็นภาชนะบรรจุ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ต้องไม่ทำให้โครงสร้างพื้นฐานของพอลิเมอร์เปลี่ยนแปลง
 
3. การแปรใช้ใหม่แบบตติยภูมิ (Tertiary Recycling: Chemical Reprocessing) หมายถึง การแปรรูปภาชนะพลาสติกที่ผ่านการบรรจุอาหารแล้วให้กลับไปอยู่ในรูปของวัสดุตั้งต้น โดยใช้กระบวนการทางเคมี แต่ “ห้าม” นำพลาสติกที่เคยใช้บรรจุหรือหุ้มห่อปุ๋ย วัตถุมีพิษ หรือวัตถุที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ มาทำเป็นภาชนะบรรจุอาหาร 
 
ข่าวนี้ถือเป็นผลที่ทำให้ประเทศไทยสามารถใช้พลาสติกรีไซเคิลบรรจุอาหารได้เสียทีเช่นเดียวกับนานาชาติที่บังคับให้มีการใช้วัสดุรีไซเคิลในบรรจุภัณฑ์อาหาร เป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อม และช่วยส่งเสริมธุรกิจรีไซเคิลพลาสติกของไทยให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง
 
ติดตาม รายการ “แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.20-12.40 น. ทางช่อง 7HD กด 35
 
ชมผ่าน YouTube https://youtu.be/af1sZ550vGM

ข่าวที่เกี่ยวข้อง