นักวิทยาศาสตร์ พบ Superworm (ซูเปอร์เวิร์ม) หนอนชนิดหนึ่งที่กินเศษอาหารที่อยู่ในกล่องโฟม โดยย่อยพลาสติกผ่านเอนไซม์ในลำไส้ นี่จะเป็นการช่วยปฏิวัติการรีไซเคิลได้ครั้งยิ่งใหญ่
บรรดานักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลียพบว่า Zophobas morio (โซโฟบัส โมริโอ) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Superworm (ซูเปอร์เวิร์ม) เป็นหนอนชนิดหนึ่งที่กินเศษอาหารที่อยู่ในกล่องโฟม ซึ่งทำจากพลาสติกพอลีสไตรีน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์บอกว่านี่จะเป็นการช่วยปฏิวัติการรีไซเคิลได้ครั้งใหญ่เลยทีเดียว
อธิบายได้ว่า เจ้าหนอนซูเปอร์เวิร์มเป็นเหมือนโรงงานรีไซเคิลขนาดเล็ก เพราะพวกมันไม่ได้กินแค่อาหาร แต่กินกล่องโฟมเข้าไปด้วย จากนั้นก็ป้อนแบคทีเรียเข้าไปในลำไส้ ทำให้ย่อยพลาสติกผ่านเอนไซม์ในลำไส้
ทีมงานของมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ในออสเตรเลีย ได้ทำการทดลองให้อาหารที่แตกต่างกันแก่เจ้าหนอนซูเปอร์เวิร์ม 3 กลุ่มเป็นเวลานานกว่า 3 สัปดาห์ ทีมงานพบว่า เอนไซม์หลายชนิดในลำไส้ของหนอนเหล่านี้มีความสามารถในการย่อยสลายพลาสติกพอลิสไตรีนและสไตรีนได้ ซึ่งพลาสติกทั้ง 2 อย่างนี้พบได้ทั่วไปในชีวิตประจำวันในกล่องพลาสติกบรรจุอาหาร และอีกผลิตภัณฑ์อีกหลายอย่าง
แต่การวิจัยนี้ไม่น่าจะนำไปสู่การสร้างฟาร์มหนอนขนาดใหญ่ให้เป็นโรงงานรีไซเคิล เพราะทีมนักวิจัยหวังแค่ว่าจะระบุประเภทของเอนไซม์ในตัวหนอนที่สามารถย่อยสลายพลาสติกได้มากที่สุด เพื่อให้สามารถนำมาทำซ้ำได้ในปริมาณมากและนำไปใช้กับการรีไซเคิลในอนาคต
ติดตาม รายการ “แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.20-12.40 น. ทางช่อง 7HD กด 35
+ อ่านเพิ่มเติม