logo Beartai 7HD ไอทีและยานยนต์

“ไขคำตอบ” NFT คืออะไร สินทรัพย์ดิจิทัลแบบใหม่ ที่นักลงทุนควรจับตามอง

Beartai 7HD ไอทีและยานยนต์ : การลงทุนดิจิทัลแบบใหม่ ที่กำลังหน้าจับตามองของนักลงทุน NFT หรือ Non-fungible token สินทรัพย์ดิจิทัล ที่มีความเฉพาะตั หนุ่ย พงศ์สุข,แบไต๋,แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์เทคโนโลยี,CH7HDNEWS,TERODigital,beartai7HD,แบไต๋7เอชดีไอทีและยานยนต์,ช่อง7,ข่าวล่าสุด,ch7hdnews,ข่าวช่อง7,กด35,แบไต๋ 7 เอชดี ไอทีและยานยนต์,beartai7hd,ฟิล์มกรรญกฤต อรรควงษ์,เบนซ์ชนกนันท์ เสนปิ่น,ภูมิเกียรติภูมิ บันลือชัยฤทธิ์,NFT,ไอโฟน

486 ครั้ง
|
22 มิ.ย. 2565
การลงทุนดิจิทัลแบบใหม่ ที่กำลังหน้าจับตามองของนักลงทุน NFT หรือ Non-fungible token สินทรัพย์ดิจิทัล ที่มีความเฉพาะตัว มีจำนวนจำกัด ทำซ้ำกันไม่ได้ แต่สามารถซื้อ-ขายถ่ายโอนได้
 
NFT มาจากคำว่า Non-fungible token แปลตรงตัวคือโทเคนที่ทดแทนไม่ได้ แต่ละโทเคนมีความเฉพาะตัว มีจำนวนจำกัด ทำซ้ำกันไม่ได้ แต่สามารถซื้อ-ขายถ่ายโอนได้ และต้องซื้อเต็มโทเคนเท่านั้น ไม่สามารถซื้อเป็นหน่วยย่อยหรือซื้อครึ่งโทเคนได้ ที่สำคัญการซื้อ-ขายจะถูกบันทึกและะตรวจสอบในระบบ Blockchain ที่ขึ้นชื่อเรื่องการทำงานแบบไม่มีศูนย์กลาง 
 
ทำให้คนทั้งระบบรู้ว่า NFT ชิ้นนั้นเป็นของใคร ซึ่งไม่สามารถมีเจ้าของเกินจำนวนที่ผู้สร้างกำหนดได้ ด้วยการกำหนดคุณสมบัติเหล่านี้ ทำให้เราใช้ NFT เพื่อแทนสินทรัพย์ดิจิทัลที่ตั้งใจให้มีชิ้นเดียวในโลกได้
 
ซึ่งเป็นขั้วตรงข้ามกับ fungible token หรือโทเคนที่ทดแทนได้ เช่น Bitcoin ที่แต่ละเหรียญก็เหมือน ๆ กัน เราจ่าย Bitcoin ไป ก็รับ Bitcoin อะไรกลับมาก็ได้ เพราะมันก็คือเหรียญเหมือนกัน มูลค่าเท่ากัน แตกต่างจาก NFT ที่แต่ละโทเคนนั้นมีเอกลักษณ์ของตัวเอง ส่งมอบทดแทนกันไม่ได้
 
โดยผู้สร้างสามารถกำหนดจำนวนของไอเทมนั้นบนโลกของ Blockchain ได้ จึงมีการทำ NFT ไปใช้ในหลายวงการ ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะดิจิทัล วงการการ์ดสะสม ที่สามารถแลกเปลี่ยนการ์ดดิจิทัลกันได้ วงการเกมก็สามารถสร้างทรัพย์สินในเกมขึ้นมา อาจจะเป็นไอเท็ม ชุดแต่ง หรือที่ดินในเกมที่มีจำกัดสามารถซื้อขาย หรือใช้แทนทรัพย์สินจริง ๆ อย่างแหวนแต่งงานแบบ NFT ก็มีมาแล้ว 
 
ข้อที่หลายคนสงสัย อย่างภาพดิจิทัล ที่สามารถเห็นภาพนั้นในอินเทอร์เน็ต แถมเซฟเป็นไฟล์ลงเครื่องได้ฟรี ๆ ทำไมจะต้องซื้อแบบ NFT แพง ๆ ด้วย? ประเด็นนี้ต้องตอบในเชิง “สิทธิความเป็นเจ้าของ” เพราะการซื้อผ่าน NFT นั้นหมายความว่า ผู้ซื้อเป็นเจ้าของงานดิจิทัลชิ้นนั้นจริง ๆ ไม่ใช่การเซฟมาใช้ที่ไม่มีสิทธิ์เอาไปขายต่อเพื่อสร้างมูลค่าได้
 
แต่ไม่ได้หมายความว่าการซื้อผ่าน NFT จะได้ลิขสิทธิ์ทั้งหมดของผลงานชิ้นนั้น สิทธิทั้งหมดของงานก็ยังเป็นของเจ้าของผลงานอยู่ เว้นแต่จะมีสัญญาตกลงให้เป็นอย่างอื่น ถ้าวันดีคืนดี เจ้าของผลงานเอางานนั้นมาขายบน NFT เพิ่ม ก็เป็นสิทธิ์ของเจ้าของงานที่ทำได้เช่นกัน แต่ไม่มีใครทำเพราะถือเป็นการทำลาย หรือลดทอนคุณค่าของงาน และตัวศิลปินที่สร้างสรรค์ชิ้นงานก็จะเสียความน่าเชื่อถือ
 
ติดตาม รายการ “แบไต๋ 7HD ไอทีและยานยนต์” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.20-12.40 น. ทางช่อง 7HD กด 35
 
 
ชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtu.be/qdT2aJNGLE8

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง