logo ถกไม่เถียง

ไลฟ์ เซลฟี่ ถ่ายคลิป ติดรูปคนอื่น ผิดกฏหมาย PDPA หรือไม่ ดร.ปริญญา มีคำตอบ : ช็อตเด็ด ถกไม่เถียง

ถกไม่เถียง : คลายข้อสงสัย พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 บังคับใช้วันนี้ ไลฟ์ เซลฟี่ ถ่ายคลิป ที่ติดคนอื่นโดยไม่ขออนุญาต ผิดกฎหมาย PDPA ถกไม่เถียง,ทินถกไม่เถียง,ช่อง7HD,TERODigital,PDPA,พรบข้อมูลส่วนบุคคล,ข้อยกเว้น,ภาพ,คลิป,กฎหมาย,คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล,Vlog,ยูทูบเบอร์,โพสต์,แชร์,ข้อมูลส่วนบุคคล,ข้อห้าม,ไลฟ์,เซลฟี่

1,326 ครั้ง
|
01 มิ.ย. 2565

         คลายข้อสงสัย พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 บังคับใช้วันนี้ ไลฟ์ เซลฟี่ ถ่ายคลิป ที่ติดคนอื่นโดยไม่ขออนุญาต ผิดกฎหมาย PDPA หรือไม่?

ถกไม่เถียง : ไลฟ์ เซลฟี่ ถ่ายคลิป ติดรูปคนอื่น ผ

นายปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เเละระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ กล่าวถึงประเด็นกฎหมาย PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act เป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่ผ่านมาคนไทยถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลมาโดยตลอด 

 

ตัวอย่างเหตุการณ์ถูก Call Center โทรมาและบอกว่ามีข้อมูลส่วนตัวของเรา กฎหมายฉบับนี้สามารถลงโทษผู้ที่นำข้อมูลส่วนบุคคลของเรามาใช้โดยไม่ขออนุญาตได้ โดยสามารถแจ้งไปที่บริษัทต่าง ๆ ว่าเราขอให้บริษัทเหล่านี้ลบข้อมูลของเราได้ ถ้าหากมีการโทรซ้ำมาอีก สามารถแจ้งความได้เลย

ถกไม่เถียง : ไลฟ์ เซลฟี่ ถ่ายคลิป ติดรูปคนอื่น ผ

 

ตัวอย่างเหตุการณ์ถ่ายภาพแล้วติดคนอื่น โดยเจ้าตัวไม่ยินยอม ถ้าไม่มีเจตนาให้เกิดความเสียหาย โดยทั่วไปแล้วไม่ผิด แต่ถ้าหากถ่ายแล้วนำรูปไปโพสต์ หากำไรทางการค้า และก่อให้เกิดความเสียหาย อาจมีความผิด ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ต้องผ่านศาล จึงจะตัดสินได้ว่ามีความผิดหรือไม่ 

ถกไม่เถียง : ไลฟ์ เซลฟี่ ถ่ายคลิป ติดรูปคนอื่น ผ

 

ตัวอย่างเหตุการณ์ถ่ายภาพหรือวีดีโอแล้ว ติดภาพผู้อื่นโดยไม่ยินยอม แล้วนำไปโพสต์ โดยไม่เจตนาที่จะทำให้เสียหาย แต่ถ้ามีผู้มาร้องเรียนในภายหลัง ว่าทำให้เกิดความเสียหาย เช่นปัญหาสามีภรรยา อาจจะโดนฟ้องได้ว่าไปละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งผู้ถ่ายสามารถให้เหตุผลได้ว่าไม่มีเจตนาที่จะละเมิด โดยผู้ถ่ายสามารถป้องกันการถูกฟ้องได้ด้วยการเบลอหน้าผู้อื่น หรือไม่นำไปโพสต์ในสื่อสาธารณะ เช่นเดียวกับ Google Earth ที่เบลอหน้าคนและเบลอเลขทะเบียนรถก่อนเผยแพร่

 

ตัวอย่างเหตุการณ์ติดกล้องวงจรปิดในบ้าน หรือหน้าบ้าน เพื่อความปลอดภัย แต่กล้องถ่ายติดผู้อื่นที่เดินผ่านไปมา ควรจะมีป้ายบอกว่ามีกล้องวงจรปิดหน้าบ้าน เพื่อป้องกันการถูกฟ้องจากผู้อื่น 

ถกไม่เถียง : ไลฟ์ เซลฟี่ ถ่ายคลิป ติดรูปคนอื่น ผ

 

ตัวอย่างเหตุการณ์ยูทูบเบอร์ถ่ายวีดีโอ แล้วติดภาพผู้อื่นที่อยู่ในบริเวณนั้น ควรจะเบลอหน้าผู้อื่นในวีดีโอก่อน จึงจะโพสต์ลงสื่อออนไลน์ หรือสามารถพูดคุยกับผู้ที่มีภาพติดอยู่ในวีดีโอ ว่าเราสามารถนำวีดีโอที่ถ่ายติดพวกเขาไปลงได้หรือไม่ 

 

ตัวอย่างเหตุการณ์ไลฟ์สดตามงานกิจกรรมต่าง ๆ ในต่างประเทศจะมีการติดป้ายเตือน ขออนุญาตผู้คนที่เข้าร่วมงาน ว่าจะมีการถ่ายวีดีโอไลฟ์สด เพราะไม่สามารถมาทำการเบลอหน้าคนระหว่างไลฟ์สดได้

 

ตัวอย่างเหตุการณ์เจอด่านตำรวจ เมื่อประชาชนมีความกังวลว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะปฏิบัติหน้าที่อย่างสุจริตหรือไม่ ในกรณีนี้สามารถขออุญาตเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เลย ว่าจะถ่ายวีดีโอไว้เป็นหลักฐาน ไม่ควรแอบถ่าย ถ้าตำรวจไม่ให้ถ่าย ก็ต้องคุยหาเหตุผลว่าทำไมถึงต้องถ่ายวีดีโอเก็บไว้ 

ถกไม่เถียง : ไลฟ์ เซลฟี่ ถ่ายคลิป ติดรูปคนอื่น ผ

 

ตัวอย่างเหตุการณ์กล้องหน้ารถ หากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น แล้วต้องการที่จะประกาศตามหาตัวคู่กรณี ควรจะแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ช่วยหาตัวคู่กรณีให้ ไม่ควรนำภาพจากกล้องหน้ารถไปโพสต์หาเองตามสื่อออนไลน์ ถ้าหากโพสต์บนสื่อออนไลน์แล้วเบลอทะเบียนรถ ก็จะไม่มีความผิด

 

ตัวอย่างเหตุการณ์ใบสั่งที่มีภาพผู้อื่นที่นั่งข้างคนขับ เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบและเบลอหน้าผู้อื่นในรถ ก่อนส่งใบสั่งมาที่บ้านเสมอ เรื่องนี้จึงสามารถสบายใจได้ว่าจะไม่ถูกละเมิดสิทธิ์แน่นอน ส่วนกรณีกล้องบนหมวกของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เมื่อถ่ายเพื่อประกอบการพิจารณาคดี ควรนำไปใช้ในชั้นศาล ไม่ควรนำมาเผยแพร่ในที่สาธารณะ 

 

ตัวอย่างเหตุการณ์การทำหน้าที่ของสื่อ ที่มีการนำเสนอข่าวนอกสถานที่ ถ่ายทอดสดติดภาพผู้อื่น กรณีนี้จะได้รับการยกเว้นในกฎหมายนี้ โดยการทำหน้าที่ของผู้สื่อข่าวจะต้องเป็นไปตามจรรยาบรรณสื่อ

ถกไม่เถียง : ไลฟ์ เซลฟี่ ถ่ายคลิป ติดรูปคนอื่น ผ

 

นายปริญญากล่าวถึงข้อดีของกฎหมาย PDPA ว่า สามารถลดการก่อกวนของ Call Center บริษัทต่าง ๆ ลงได้ แต่กรณีนี้ไม่รวมแก๊ง Call Center ที่ทำผิดกฎหมาย แต่จะทำให้คนที่ขายข้อมูลให้แก๊ง Call Center มีน้อยลง เพราะสามารถสืบหาตัวและเอาผิดคนขายข้อมูลได้ ในระยะยาวอาจจะทำให้แก๊ง Call Center ลดลงได้ โดยตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป หลังจากบังคับใช้กฎหมาย ประชาชนจะได้รับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย จะยังไม่มีการจับหรือปรับในช่วง 6 เดือนนี้ ส่วนบริษัทต่าง ๆ จะต้องเริ่มปฏิบัติตามกฎหมายโดยทันที เพื่อเป็นการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน

 
         ติดตาม  รายการ “ถกไม่เถียง” ดำเนินรายการโดย “ทิน โชคกมลกิจ”  ภายใต้การผลิตของบริษัท เทโร เอ็นเทอร์เทนเม้นท์  ได้ทุกวันจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 17.00 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และสามารถรับฟังผ่านทาง  hitz955.com
 
 
ชมผ่าน YouTube ได้ที่  https://youtu.be/q-l-CsrSE9A