logo ถกไม่เถียง

เริ่มวันนี้! “กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” ไลฟ์ เซลฟี่ อัพโหลด อย่างไรไม่โดนฟ้อง?

ถกไม่เถียง : เริ่มใช้แล้ว PDPA กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ถกไม่เถียง,ทินถกไม่เถียง,ช่อง7HD,TERODigital,PDPA,พรบข้อมูลส่วนบุคคล,ข้อยกเว้น,ภาพ,คลิป,กฎหมาย,คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล,Vlog,ยูทูบเบอร์,โพสต์,แชร์,ข้อมูลส่วนบุคคล,ข้อห้าม,ไลฟ์,เซลฟี่

669 ครั้ง
|
01 มิ.ย. 2565

       เริ่มใช้แล้ว PDPA กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ บัญชีธนาคาร อีเมล ลายนิ้วมือ ข้อมูลสุขภาพ ฯลฯ แต่ก็เกิดข้อสงสัยในหมู่ประชาชนขึ้นมาว่า การเซลฟี่ ไลฟ์ หรือ ถ่ายคลิป ติดรูปคนอื่นถือว่าผิดกฎหมาย PDPA หรือไม่ 

ถกไม่เถียง : เริ่มวันนี้! กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่
 
            วันที่ 1 มิ.ย. 2565 ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เเละระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ กฎหมาย PDPA ผ่านรายการ "ถกไม่เถียง" ทางช่อง 7HD กด35 ดำเนินรายการโดย ทิน โชคกมลกิจ ใจความว่า กฎหมาย PDPA คือ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อาทิ ข้อมูลบัตรเครดิต ธนาคาร ประกันภัย หรือที่เราไปลงทะเบียนตามที่ต่างๆ ซึ่งประเทศไทยประสบปัญหาถูกล่วงละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล การโทรมาขายของต่างๆ แบบนี้มาเป็น 10 ปี แล้ว ถ้าถามกลับเขาสามารถรู้เบอร์เราได้อย่างไร ถ้าเจอสถานการณ์แบบนี้ พ.ร.บ. ตัวนี้สามารถช่วยได้ คำว่าส่วนบุคคลคน คือ พฤติกรรมต่างๆ ชอบทำอะไร กินอะไร และข้อมูลละเอียดอ่อน ทั้งรสนิยมทางเพศ หรืออาการป่วยต่างๆ ถ้าข้อมูลพวกนี้หลุดออกไปแย่เลย
 
ถกไม่เถียง : เริ่มวันนี้! กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่
 
            ทั้งนี้ กฎหมายตัวนี้เขียนไว้ชัดเจนว่า ถ้าหากเอาข้อมูลของเรามาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต จะมีโทษ เราจะต้องเป็นคนยินยอมขออนุญาตไปก่อน ทีนี้เราต้องกลับมาดูว่าได้ให้อนุญาตให้ใครไปบ้างหรือเปล่า แต่ถ้าเราเกิดความไม่ไว้วางใจ หลังวันที่ 1 มิ.ย. นี้ เราสามารถโทรไปขอให้เขาลบข้อมูลส่วนตัวของเราได้ หากหลังจากนั้นเขายังโทรมาอีก เราสามารถดำเนินคดีได้เลย เพราะเราไม่ได้อนุญาตเขาแล้ว 
 
ถกไม่เถียง : เริ่มวันนี้! กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่
 
            สำหรับประเด็นเรื่องการถ่ายภาพแล้วไปติดคนอื่น อ.ปริญญา ตอบว่า การเซลฟี่ การถ่ายรูปติดคนอื่นนั้น โดยทั่วไปไม่ผิด เพราะเราไม่ได้มีเจตนาให้เกิดความเสียหาย หรือไม่ได้นำไปหารายได้ อันนี้ไม่ผิด แต่ถ้าเรานำรูป หรือคลิปคนอื่นโดยที่เจ้าตัวไม่ยอมไปหากำไรทางการค้า ข้อนี้อาจมีความผิด ขณะเดียวกัน หากเราถ่ายรูปภาพ หรือคลิป และติดภาพคนอื่น โดยที่เขาไม่ได้ยินยอม และทำให้เจ้าตัวเสียหาย ในกรณีนี้ ตราบใดที่ยังไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายกฎหมายไม่ได้ห้ามไว้ แต่ถ้าเขามีปัญหาเกิดความเสียหาย เขาอาจจะมาร้องเรียนว่าเราละเมิดเขาได้ ขึ้นอยู่กับว่าเขาจะมาร้องเรียนเราหรือเปล่า ซึ่งหากเราไม่ได้มีเจตนาทำให้เขาเสียหาย เราก็สามารถปกป้องตัวเองได้ ทั้งนี้ พ.ร.บ. มีข้อยกเว้นอยู่ คือ ในมาตรา 4 (1) ถ้าถ่ายเพื่อประโยชน์ส่วนตนในครอบครัวให้รับการยกเว้น ไม่มีความผิด ส่วนอีกกรณีถ้าเราถ่ายภาพติดคนอื่น และไม่มีโอกาสได้ขออนุญาตเขา เราต้องชั่งน้ำหนักเอาว่าเขาจะเสียหายไหม แต่ส่วนตัว ถ้าเป็นตนเองจะเบลอหน้าเขา และเอาแค่ครอบครัวตัวเองพอ เพื่อลดความเสี่ยง 
 
ถกไม่เถียง : เริ่มวันนี้! กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่
 
            ขณะที่ ประเด็นการติดกล้องวงจรปิดหน้าบ้านนั้น ต้องระบุว่าติดกล้องตรงไหนด้วยหรือ อ.ปริญญา ตอบว่า ข้อนี้ประชาชนเข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิงเลย ถ้าหากเราติดกล้องวงจรปิดในบ้านเพื่อดูขโมยอันนี้ไม่ผิด แต่ถ้าหากติดบริเวณที่อยู่นอกบ้าน จับภาพเห็นที่สาธารณะ อันนี้ควรจะมีป้ายระบุว่าบริเวณนี้มีกล้อง แต่ตอนนี้ยังไม่มีการฟันธงว่าข้อนี้ผิดกฎหมายไหม ทั้งนี้ก็ต้องรอดูว่าจะมีการออกกฎหมายลดหย่อนในช่วง 6 เดือน - 1 ปี แรกหรือเปล่า 
 
            ส่วนกรณีที่เป็นประเด็นของ Youtuber หากถ่ายรีวิวร้านอาหาร หรือเดินถ่าย Vlog แล้วติดคนอื่นเข้ามา ข้อนี้ อ.ปริญญา ตอบว่า สามารถทำได้ปกติทุกอย่าง เพราะเราไม่ได้มีเจตนาจะจับภาพเขา เขาเข้ามาในกล้องเราเอง แต่ถ้าหากเจ้าตัวไม่อยากให้ภาพตัวเองถูกเผยแพร่ ก็สามารถขอให้เขาเอาภาพตนออกได้ อะลุ่มอล่วยกันไป แต่ทั้งนี้ทาง Youtuber ก็สามารถป้องกันตัวเองได้โดยการเบลอหน้าเขาตั้งแต่ต้นเลย หรือไม่ก็ขออนุญาตเจ้าตัวตั้งแต่ตอนถ่ายเลย
 
ถกไม่เถียง : เริ่มวันนี้! กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่
 
            แต่ถ้าเป็นประเด็นการไลฟ์สดนั้น ทาง อ.ปริญญา ตอบว่า ขอยกตัวอย่างในกรณี ว่าในงานอีเว้นท์ใหญ่ จัดที่ไอคอนสยามตอนนั้นเขามีการบอกเลยว่าบริเวณนี้ถ่ายไลฟ์ตลอด หากเราไม่อยากให้ภาพตนเองถูกเผยแพร่ก็ไม่ต้องเข้างาน ซึ่งตนเห็นแบบนี้ในต่างประเทศตลอด              
 
            อีกหนึ่งกรณี คือเรื่องของด่านตำรวจ เวลาถูกเรียกตรวจ ประชาชนจะสามารถถ่ายตำรวจตอนปฏิบัติงาน เพื่อเป็นหลักฐานได้หรือไม่ อ.ปริญญา ตอบว่า ในข้อนี้สามารถคุยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ ขออนุญาตเขา เพราะเรารู้สึกกังวล แต่ไม่ควรแอบถ่าย ส่วนกรณีที่เขาไม่ให้ถ่าย ก็ต้องคุยกันว่าเราสามารถถ่ายเขาได้ไหม และตำรวจสามารถถ่ายเราได้ไหม ทั้งนี้ควรเคารพสิทธิ์ซึ่งกันและกัน
 
ถกไม่เถียง : เริ่มวันนี้! กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่
 
            ประเด็นของกล้องหน้ารถ อ.ปริญญา ตอบเพิ่มว่า หากเราถูกเฉี่ยวชนแล้วหนี และจะนำภาพทะเบียนของเขาไปโพสต์ตามหาในโซเชียลมีเดีย ข้อนี้ควรให้ตำรวจเป็นคนดำเนินการหาให้ ควรจะหลีกเลี่ยงการโพสต์ข้อมูลทะเบียน หากเราจะโพสต์ก็ไม่ควรระบุทะเบียน ส่วนตำรวจที่ติดกล้องไว้ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ อันนี้เขาสามารถติดได้เพื่อเก็บภาพไว้ประกอบหลักฐานพิจารณาคดี แต่เขาไม่ควรเอาออกมาเผยแพร่ส่วนตัว 
 
            ทั้งนี้ ข้อดีของกฎหมายข้อนี้ จะช่วยปกป้องคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเรา พวกโทรมาขายของก็ซาลงไป เพราะเขาไม่สามารถบอกแหล่งที่มาข้อมูลของเราได้ แต่จะไม่รวมถึงพวกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เพราะพวกนี้ไม่ได้ทำตามกฎหมาย แต่คนที่ขายข้อมูลไปก็คงจะระวังมากขึ้น อาจทำให้สาวถึงตัวได้ สุดท้าย กฎหมายตอนนี้ยังอยู่ในช่วงปรับตัว ให้ความรู้เข้าใจกันก่อน อย่างมากก็แค่ตักเตือน ยังไม่ถึงขั้นจับปรับแน่นอน 
 
         ติดตาม  รายการ “ถกไม่เถียง” ดำเนินรายการโดย “ทิน โชคกมลกิจ”  ภายใต้การผลิตของบริษัท เทโร เอ็นเทอร์เทนเม้นท์  ได้ทุกวันจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 17.00 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และสามารถรับฟังผ่านทาง  hitz955.com
 

ชมผ่าน YouTube ได้ที่  https://youtu.be/COOtfuMLDRs