แม่อดีตพยาบาลขอความเป็นธรรม หลังลูกชายฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วมีเลือดออกที่วุ้นลูกตา สุดท้ายตาบอดทั้ง 2 ข้างเป็นอุปสรรคต่อชีวิต ร้องเรียนไปหลายที่ แต่ไม่มีหน่วยงานไหนช่วยเหลือ
ธิติสุดา อุลซาเมอร์ แม่ของผู้เสียหาย เผยว่า ตนนั้นเชื่อว่าเหตุที่ทำให้ลูกชายของตนตาบอดเพราะการฉีดวัคซีนเพราะไม่มีสิ่งแปลกปลอมอื่นใดเข้าไปในร่างกายเลย โดยลูกชายของตนนั้นได้ไปฉีดวัคซีนไฟเซอร์ เข็มที่ 1 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564 และในวันรุ่งขึ้นลูกชายได้โทรมาแจ้งกับตนว่า รู้สึกปวดตามเนื้อตามตัว มึนงงในหัว สายตาพร่ามัวมองเห็นไม่ชัดเจน จากนั้นลูกชายของตนได้เข้าพบหมอตาในวันที่ 29 ธันวาคม 2564 หมอแจ้งว่ามีเลือดออกในช่องน้ำวุ้นตาทั้ง 2 ข้างแต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเกิดจากอะไรและนัดมาฉีดาเข้าตาอีก 2 เดือน
อีกทั้งตนก็ยังสอบถามอาการลูกชายอยู่เสมอ โดยลูกชายของตนได้บอกเล่าอาการว่า เห็นว่ามีการเคลื่อนไหวแต่ระบุไม่ได้ว่าคือใคร ทั้งนี้ลูกชายของตนก็ทำการรักษาอาการกับหมอตามาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั้งวันที่ 19 มกราคม 2565 ลูกชายของตนได้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ เข็มที่ 2 อีกทั้งยังแจ้งอีกว่าลูกชายของตนป่วยเป็นไตวายมาตั้งแต่ปี 2562 และจะต้องเข้ารับการฟอกไตอยู่เป็นประจำ แต่ทางโรงพยาบาลยโสธรได้บังคับให้ลูกชายของตนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด โดยอ้างว่าถ้าไม่ฉีดวัคซีนจะไม่สามารถเข้ารับการฟอกไตได้ลูกชายของตนจึงยินยอมฉีด พอฉีดเข็มที่ 2 อีกยิ่งทำให้ให้มองเห็นไม่ชัดเจนมากขึ้น
ก่อนหน้านี้ตนได้ไปหารือที่สำนักงานสาธารณธสุขจังหวัด โดยทางสำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดได้แจ้งกับตนว่าให้ไปที่โรงพยาบาลเพราะว่ามีหน่วยงานที่รับผิดชอบอยู่ และมีประวัติการรักษาจะอยู่ที่นั่น ตนจึงทำการไปยื่นเรื่องในวันที่ 7 ธันวาคม 2565 แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีหน่วยงานใดออกมาแสดงความรับผิดชอบหรือออกมาให้ความช่วยเหลือแต่อย่างใด จึงได้เข้าร้องเรียนต่อสื่อมวลชน
ต้อง ศกุลเชษฐ์ (หนุ่มฉีดวัคซีนโควิด ตาบอด 2 ข้าง) เผยว่า อาการของตนนั้นค่อนข้างแย่มาก โดยก่อนหน้าที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีนตนนั้นไม่มีอาการแบบนี้เลย ปกติดีทุกอย่าง สามารถ ขับรถ ทำงาน และใช้ชีวิตได้ปกติ หลังจากฉีดวัคซีนไปตนตื่นเช้ามาภาพที่เห็นเหมือนหมอกลง ตาพร่ามัว มองไม่เห็นว่าเป็นใคร และภายหลังฉีดเข็มที่ 2 อาการก็หนักขึ้น คือ ตามองไม่เห็นเลย มืดสนิท
นพ.สุดชาย เลยวานิชย์เจริญ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลยโสธร เผยว่า เหตุที่ต้องให้ฉีดวัคซีนครบทั้ง 2 เข็มก่อนถึงจะเข้าโรงพยาบาลเพื่อไปทำการรักษาได้นั้น คือ ทางโรงพยาบาลนั้นมีแนวทางการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโควิด ถ้าเกิดมีการติดเชื้อที่เป็นกลุ่มก่อน หรือ ถ้าเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลมีการติดเชื่อก็อาจจะทำให้การบริการคนไข้ได้น้อยลง ทางโรงพยาบาลจึงจำเป็นต้องมีมาตรการในการตรวจ ATK ก่อนเข้ารับบริการในโรงพยาบาลเพื่อไม่ให้มีการติดเชื้อภายใน ทั้งนี้ถ้าคนไข้ไม่ยอมตรวจ ATK ทางโรงพยาบาลก็จะให้บริการเช่นเดิมแต่จำเป็นต้องแยกส่วนในการให้บริการ และยังยืนยันว่าถ้าคนไข้ไม่ฉีดวัคซีนทางโรงพยาบาลก็จะยังรับการรักษาเช่นเดิม อีกทั้งทางโรงพยาบาลไม่ได้ไม่นิ่งนอนในใจในเรื่องของการให้บริการ การรักษา และการส่งเยียวยา ซึ่งจะทำตามมาตรฐานให้ดีที่สุด
นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่า เคสนี้มีปัญหาเลือดออกที่ตาพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง ซึ่งโอกาสมันน้อยมาที่ตาจะบอดพร้อมกันทั้ง 2 ข้างซึ่งในกรณีนี้ตาบอดทั้ง 2 ข้าง อาจจะมีปัจจัยอื่นเข้ามาร่วมด้วย ทั้งนี้ยังมีงานวิจัยว่า ตัววัคซีนนั้นทำให้เส้นเลือดอักเสบได้เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็ยังปฏิเสธไม่ได้ทันทีว่าไม่ได้เกิดจากการฉีดวัคซีน และสิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือ ในเข็มที่ 2 ถ้าพูดในเรื่องของจรรยาบรรณแพทย์นั้นมันไม่สามารถทำได้ กล่าวคือ ถ้าฉีดเข็มแรกแล้วเมื่อมีปัญหาก็ไม่ควรไปบังคับให้ฉีดเข็มที่ 2 ต่อ
นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการ สปสช.เผยว่า ต้องเรียนว่าอาการใด ๆที่เกิดหลังจากการฉีดวัคซีนให้คิดไว้ก่อนว่าเกิดจากการฉีดวัคซีน ถ้าหากไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีนเราก็จะมีกระบวนการชดเชยหรือว่าเยียวยา ส่วนอัตราเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ
ถกไม่เถียง
ทิน โชคกมลกิจ
ขอความเป็นธรรม
อดีตพยาบาลวิชาชีพ
ลูกชาย
วัคซีนโควิด19
ตาบอด
ตาพร่ามัว
วุ้นลูกตา
ช่วยเหลือ
สธ
หน่วยงาน
รับผิดชอบ
เบาหวาน