หลังจากข่าวการเสียชีวิตของ บีม ปภังกร ฤกษ์เฉลิมพจน์ นักแสดงวัยรุ่นชื่อดัง วัย 25 ปี ที่จู่ ๆ ก็เสียชีวิตอย่างไม่ทราบสาเหตุ กล่าวคือ เพียงนอนหลับไปเฉย ๆ หรือที่เรียกกันว่า “โรคไหลตาย” หลายคนอาจจะเคยทราบข่าวการเสียชีวิตด้วยโรคนี้มาบ้างแล้วจากดาวตลกอย่าง แวว จ๊กมก น้องสาวของ หม่ำ จ๊กมก ซึ่งในทางการแพทย์นั้นเรียกภาวะนี้ว่า “หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน” ความน่ากลัวของโรคนี้คือการเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน ที่ผู้ตายไม่มีโอกาสรู้ตัวมาก่อนเลย ดังนั้นเพื่อไขข้อข้องใจเราจะพาทุกคนไปทราบความหมายของโรค สาเหตุ วิธีการป้องกัน และวิธีการรักษา
โรคไหลตายนั้นเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของการนำเกลือแร่โซเดียมเข้าออกเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะขึ้นรุนแรงและเสียชีวิตอย่างกะทันหันได้
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคไหลตาย
โรคนี้มีสาเหตุสำคัญมาจากภาวะที่เกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน ทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ไม่เพียงพอ อีกทั้งยังเกิดจากการที่ร่างกายเกิดภาวะขาดแร่ธาตุโพแทสเซียม ซึ่งอาจเกิดจากพันธุกรรม หรือจากอาหารการกินโดยเฉพาะการกินข้าวเหนียว และยิ่งทานพร้อมกับเหล้าหรือเบียร์โดยมักจะพบในภาคอีสาน การที่โพแทสเซียมในร่างกายต่ำนั้นทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงส่งผลให้หัวใจเต้นแรงขึ้น หัวใจหยุดเต้นและทำให้เสียชีวิตในที่สุดหรืออาจเกิดจากโรคทางพันธุกรรมที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ หัวใจจึงมีโอกาสเต้นผิดปกติ และหยุดเต้นได้ ซึ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องของโรคไหลตาย ได้แก่
- บริโภคอาหารที่มีสารพิษวันเล็กน้อย จนเกิดการสะสมและเป็นพิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ เช่นการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เป็นต้น
- การใช้ยานอนหลับ
- ขาดสารอาหารที่เป็นวิตามินบี 1 อย่างรุนแรงเฉียบพลัน ทำให้รู้สึกอ่อนเพลียอยากนอนและเมื่อหลับก็อาจจะเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้
- เป็นไข้สูง
นอกจากนี้ยังพบว่า โรคไหลตายสัมพันธ์กับภาวทุพโภชนาการ และสุขนิสัยการกินที่ผิด
สัญญาณเตือนของโรคไหลตาย
ผู้ป่วยหลายคนไม่รู้ว่าตนเองนั้นมีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน หรือไหลตาย เพราะมักจะไม่มีสัญญาณที่บ่งบอกถึงความผิดปกติของร่างกาย แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ หายใจลำบาก เจ็บแน่นหน้าอก หรือใจสั่นได้
ในกรณีที่มีอาการกำเริบขณะนอนหลับ อาจมีเสียงหายใจดังครืดคราดคล้ายคนนอนละเมอ ซึ่งหากหัวใจไม่กลับมาเต้นเป็นปกติภายในเวลา 6 - 7 นาที อาจะทำให้เสียชีวิต
การรักษาโรคไหลตายในทางการแพทย์มี 2 วิธี
การใช้ยาและการเครื่องกระตุ้นหัวใจ โดยในการให้ยานั้นขึ้นอยู่กับอาการโรคไหลตายว่ารุนแรงแค่ไหน หากรุนแรงมาก การใช้ยารักษาก็อาจไม่ได้ผล และต้องใช้วิธีฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจเข้าไปในร่างกายแทน คนไข้ส่วนใหญ่ที่เป็นโรคไหลตายในวันปกติจะไม่มีผลอะไรเกิดขึ้น แต่ในวันที่พักผ่อนน้อย ดื่มแอลกอฮอล์ ใช้สารเสพติด การใช้ยาบางชนิด และในวันที่ไม่สบายอาจทำให้อาการไหลตายเกิดขึ้นละเสียชีวิตกะทันหันได้
แต่อย่างไรก็ตามโรคนี้มักจะไม่มีอาการบ่งบอกทำให้เราไม่ทราบว่าเรากำลังเผชิญกับโรคไหลตายอยู่และบางรายก็รักษาโรคนี้ไม่ทัน ซึ่งวิธีการรักษาที่ดีที่สุดคือ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอและการรับประทานอาหารนั้นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือหลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารพิษปนเปื้อน รับประทานอาหารที่สะอาดถูกหลักอนามัยมีสารอาหารที่ครบ 5 หมู่ รวมไปถึงการทานวิตามินบีร่วมด้วยอีกทั้งอย่าลืมตรวจสุขภาพประจำปีในทุกปีด้วยนะคะ
บีม
บีม ปภังกร
แวว จ๊กมก
โรคไหลตาย
ไหลตาย
บีมเสียชีวิต
หัวใจล้มเหลว
หัวใจวายเฉียบพลัน
หัวใจวาย
หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
ขาดวิตามินบี
หัวใจเต้นแรง
อาการโรคไหลตาย
สาเหตุโรคไหลตาย
โรคไหลตายคืออะไร