สปสช. แจงเกณฑ์ใหม่เบิกจ่ายดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 สอดคล้องแนวทางรักษาของกรมการแพทย์ รองรับบริการ “ผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้าน” ตรวขจ RT-PCR เฉพาะผู้ป่วยที่ต้องเข้ารักษาใน รพ.เท่านั้น กลุ่มสีเขียวจ่ายเรทเดียว
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยถึงหลักเกณฑ์เงื่อนไขการเบิกจ่ายกรณีบริการดูแลรักษาโรคโควิด-19 ที่มีการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.65 โดย พญ.กฤติยา ศรีประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สปสช. กล่าวว่า ตามที่กรมการแพทย์ได้มีการปรับแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด สปสช. จึงปรับหลักเกณฑ์การจ่ายค่าบริการดูแลรักษาโรคโควิด-19 ที่เป็นการรักษาIแบบผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้าน เฉพาะผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเท่านั้น
แยกการจ่ายชดเชยค่าบริการเป็น 2 ส่วน คือ
1.ค่าบริการดูแลรักษาที่เป็นจ่ายแบบเหมาจ่าย 1,000 บาท/ราย ครอบคลุมการให้คำแนะนำแยกกักตัวที่บ้าน การให้ยารักษา การประสานติดตามอาการ และการจัดระบบส่งต่อ
2.ค่าบริการสำหรับการให้คำปรึกษาหรือการดูแลรักษาเบื้องต้นหลังครบ 48 ชม.ไปแล้ว เหมาจ่ายอัตรา 300 บาท/ราย
กรณีการรักษาผู้ป่วยโควิด กลุ่มสีเขียว กำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเช่นเดียวกับ HI/CI แบบเหมาจ่าย ครอบคลุมบริการดูแลผู้ติดเชื้อ ค่าอาหาร 3 มื้อ/วัน อุปกรณ์ในการดูแลและติดตามสัญญาณชีพ ค่ายา และค่าเอกซเรย์ปอด หรือ Chest X-ray
พญ.นฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ ที่ปรึกษากรมการแพทย์ กล่าวว่า การปรับแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วย ตามข้อมูลวิชาการในประเทศและต่างประเทศ เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.65 กำหนดให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 เมื่อตรวจ ATK กรณีมีผลบวก หากประเมินอาการไม่มีความเสี่ยงให้เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกหรือลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ (HI) และแยกกักตัวที่บ้านได้ ซึ่งกรณีรับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก ระบบจะโทรติดตาอาการเมื่อครบ 48 ชั่วโมง หากมีอาการที่แย่ลงก็จะส่งต่อรักษาในโรงพยาบาล
ส่วนกรณีผู้มีอาการและมีความเสี่ยง รวมถึงที่บ้านไม่มีความพร้อมในการแยกกักตัว จะเข้าสู่การดูแลในระบบ Hotel Isolation, Hospitel แล Community Isolation โดยไม่ต้องตรวจ RT-PCR ซึ่งการตรวจ RT-PCR จะทำการตรวจเฉพาะในกรณีที่ต้องเข้ารักษาหรือส่งต่อรักษาที่โรงพยาบาล
ส่วนการให้ยารักษานั้น ย้ำว่าในกรณีผู้ป่วยไม่มีอาการหรือสบายดี จะไม่ให้ยาต้านไวรัส โดยแพทย์จะรักษาตามอาการ ให้ยาฟ้าทะลายโจร ขึ้นอยู่ตามดุลยพินิจของแพทย์ ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการ แพทย์จะพิจารณาให้ยาฟาวิพิราเวียร์ โดยเริ่มให้ยาเร็วที่สุด แต่หากมีอาการมาแล้วเกิน 5 วัน โดยผู้ป่วยไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยอาจไม่จำเป็นต้องให้ยา เพราะจากข้อมูลการรักษาพบว่าเชื้อโอมิครอน 80% ผู้ป่วยจะหายเองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน
+ อ่านเพิ่มเติม