ญาติติดใจ สาววัย 24 ปี ท้อง 9 เดือน มีอาการน้ำเดิน มารพ.นอนรอคลอด กลับถูกบอกให้มาผ่าวันหลัง สุดท้ายลูกตายคาท้อง
จิราพร เภาโพธิ์ แม่ที่ลูกเสียชีวิตคาท้อง ได้ออกมาเล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ว่าเหตุการณ์เริ่มจากวันที่ 9 ก.พ.65 เกิดอาการน้ำเดิน มดลูกเปิด 1 เซนติเมตร จึงโทรไปหาคลินิก ที่ฝากท้องพิเศษที่อำเภอบึงสามพัน ทางหมอประจำคลินิก แนะให้รีบไปที่ โรงพยาบาลวิเชียรบุรี ที่ทำงานของหมอ เพื่อไปทำคลอด เมื่อไปถึงโรงพยาบาลแล้ว เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล บอกว่า ถ้าคลอดเองไม่ได้ ก็ต้องทำการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดจะต้องงดอาหาร กระทั่งเวลา 3 ทุ่มครึ่ง แพทย์จากโรงพยาบาลได้มาแจ้งกับทางญาติว่าจะทำการผ่าตัดให้ ในช่วงเช้า
จนมาช่วงสาย ของวันที่ 10 ก.พ.65 ทางเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล กลับมาบอกกับทางญาติว่า ให้พาคนท้องกลับบ้านได้ เอาไว้ผ่าวันหลัง สาเหตุอาจจะมาจาก เตียงข้างเคียงในห้องรอคลอด ตรวจพบว่าติดโควิด-19 และ นางสาวจิราภร อาจจะอยู่ในกลุ่มเสี่ยง กว่าจะเดินเรื่องเสร็จได้กลับบ้านก็ช่วง 10 โมง พอถึงบ้านช่วง 11 โมงถึงบ้าน ตอนนั้นลูกยังดิ้นอยู่ แต่น้อยลงกว่าปกติแต่ในเวลาบ่าย 3 โมงเย็น ของวันเดียวกัน แม่เด็กรู้สึกว่าลูกไม่ดิ้น จึงพากันไปที่โรงพยาบาลอีกครั้ง เมื่อไปถึงโรงพยาบาลก็พบเด็กไม่หายใจแล้ว ตอนผ่าเอาน้องออก เขาบล็อคหลังตนบังเบิญได้ยินว่าสายสะดือพันคอ 1 รอบ
นอกจากนี้ ตนติดใจว่าในบันทึกมีการตรวจคลื่นหัวใจเด็กตอนเช้าก่อนจะกลับบ้าน แต่จริงๆแล้วยืนยันว่าตอนเช้าไม่ได้ตรวจหัวใจเด็กให้ ตอนนี้ลูกอยู่ที่ห้องดับจิต ยังไม่ได้ผ่าชันสูตรเพราะทำใจไม่ได้ ตนอุ้มท้องมา 9 เดือน ยังไม่มีโอกาสได้อุ้มลูกเลย พ่อเด็กก็ยังไม่ได้อุ้ม
ทองแดง เภาโพธิ์ ตาของทารกที่เสียชีวิต กล่าวถึงเหตุการณ์ว่า หมอได้บอกกับตนว่า ไม่พบคลื่นหัวใจน้องแล้ว ถามหาสาเหตุหมอก็ตอบไม่ได้ จึงได้โทรตามลูกเขย ตอนที่คุณหมอให้กลับบ้าน ถ้าหมอตรวจดีดี อาจจะยื้อน้องให้ยังอยู่ได้ เพราะก่อนมาโรงพยาบาลเด็กก็ยังแข็งแรงดี ตอนนี้ก็ไม่อยากไปผ่าชันสูตรให้หลานเป็นรอยอะไร บอกกับลูกว่าให้ทำใจ เขาทำบุญกับเรามาน้อย อยากให้ทางโรงพยาบาล ออกมารับผิดชอบเรายังไง ดูแลเรายังไง
รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชศาสตร์ มศว. ได้ให้ความเห็นว่า การหาหลักฐานก็คือ บันทึกข้อมูลทางการแพทย์ ที่รักษา ฝากครรภ์ทั้งหมดมา หรือชันสูตรศพ เพราะต้องมีการตัดชิ้นเนื้อออกมาพิสูจน์ ทั้งนี้หากไม่ชันสูตร ก็ยังสามารถไปดูบันทึกทางการแพทย์ได้ แต่ทว่าบันทึกทางการแพทย์ไม่สามารถระบุได้ว่า การที่รกพันคอเด็กเป็นสาเหตุการเสียชีวิตหรือเปล่า ถ้าเราชันสูตรศพก็จะสามารถไล่ดูไทม์ไลน์บันทึกทางการแพทย์ได้ว่าข้อมูลตรงกันหรือไม่ ทั้งนี้ฝากทิ้งท้าย ว่าถ้าได้ทำการพูดคุยทำความเข้าใจในหลักการทางการแพทย์ แล้วก็มีข้อตกลงที่เราตกลงร่วมกันได้ ก็อาจจะไม่ต้องผ่าชันสูตร
พญ.ชัญวลี ศรีสุโข กรรมการแพทยสภา และสูตินรีแพทย์เชี่ยวชาญ กล่าวถึงเหตุการณ์ว่า จากการตรวจ Nonstress Test(nst) พบว่าเด็กปกติดี แต่ว่าเป็นผู้เสี่ยงโควิดจึงไม่ได้ผ่าคลอด ทั้งนี้การตรวจ nst ไม่ได้ทำให้รู้ถึงเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น รกหลุด หรือสายดือพันคอ แต่ถ้าเสียชีวิตเพราะเด็กขาดออกซิเจน มีอาการตั้งแต่แรกแต่ปล่อยให้กลับบ้าน อันนี้ก็ไม่ถูกต้อง ดังนั้นต้องตรวจว่าเด็กเสียชีวิตเพราะเหตุใด เป็นเหตุการณ์ที่มีการประมาทเลินเล่ออะไรหรือเปล่า ตอนนี้ก็แนะนำให้ชันสูตรพลิกศพ หรือหาหลักฐานให้ชัดเจนว่าเสียเพราะอะไร
นพ.กอบชัย จิรชาญชัย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวิเชียรบุรี ได้กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ว่า จากเหตุการณ์ตอนนี้ได้มีการประชุมกันแล้ว และได้หาสาเหตุว่าเราได้ทำผิดอะไรหรือเปล่า ทั้งนี้เบื้องต้นทางผู้เสียหายเป็นสิทธิประกันสังคม ทางกองทุนประกันสังคมก็จะเยียวยาเบื้องต้น ในส่วนของโรงพยาบาลตอนคนไข้กลับบ้านได้เยียวยาไปส่วนหนึ่งแล้ว แต่ในส่วนอื่นก็ได้มีการนัดทางผู้เสียหายมาตกลง และทำความเข้าใจกัน ในวันศุกร์ที่จะถึงนี้
สำหรับเรื่องที่จะมี การผ่าในช่วงเช้าของวันที่ 10 ก.พ. 65 คิดว่าน่าจะมีการให้ข้อมูลคลาดเคลื่อน เหตุการณ์คืนนั้นได้มีการจับแยกผู้ป่วย เนื่องจากมีผู้ติดโควิด จนกว่าจะถึงช่วงเวลาที่ปลอดภัย แต่ในเคสของน้องมีความไม่แน่นอนในการคลอด จึงได้ให้งดน้ำงดอาหารหลังเที่ยงคืนเตรียมเอาไว้ เผื่อเกิดเหตุผ่าตัดคลอดฉุกเฉิน แต่ว่าตอนเช้าหลังจากตรวจแล้ว ไม่มีสัญญานของการเจ็บครรภ์คลอด ไม่มีน้ำเดิน และเด็กก็ปกติดี จากบันทึกทางการแพทย์
ถกไม่เถียง
ทิน โชคกมลกิจ
สาวท้อง
ผ่าคลอด
โรงพยาบาล
หมอไม่ว่าง
โรงพยาบาลวิเชียรบุรี
ให้กลับบ้าน
น้ำเดิน
ลูกตายคาท้อง
ลูกเสียชีวิต
ญาติคาใจ
เยียวยา