logo ถกไม่เถียง

ถอดบทเรียนดรามากระหึ่มเมือง แม่ค้ายุคใหม่ ปัง ดัง รวย ต้องสร้างกระแส?

ถกไม่เถียง : ในยุคปัจจุบันของพ่อค้าแม่ค้า หันมาขายของออนไลน์ เป็นทางเลือกหลัก ซึ่งหลายคนได้นำกลยุทธ์การขาย ที่เป็นการสร้างตัวตนให้คนจดจำ และกลายเ ถกไม่เถียง,ทินถกไม่เถียง,ช่อง7HD,TERODigital,ดรามา,สร้างกระแส,พ่อค้า,แม่ค้า,ขายของออนไลน์,สินค้าออนไลน์,โป๊,วาบหวิว,จุดเด่น,สินค้า,การตลาด,กระทรวงวัฒนธรรม,ยอดขาย,ถอดบทเรียน,นักวิชาการ,โป๊,เปลือย,หยาบคาย,พฤติกรรมเลียนแบบ,เซ็กซี่

1,741 ครั้ง
|
20 ม.ค. 2565

      ในยุคปัจจุบันของพ่อค้าแม่ค้า หันมาขายของออนไลน์ เป็นทางเลือกหลัก ซึ่งหลายคนได้นำกลยุทธ์การขาย ที่เป็นการสร้างตัวตนให้คนจดจำ และกลายเป็นกระแสเป็นที่พูดถึง จนถึงขั้นก่อดรามา ทั้งการใช้ภาษาดุดัน หยาบคาย การใช้การแต่งกายวาบหวิว เซ็กซี่ เพื่อให้ได้ยอดขาย ยอดไลค์ จนอาจทำให้หลายคนมองว่าเป็นเรื่องปกติ 

       จากประเด็นนี้เอง วันที่ 20 ม.ค.65 นายประสพ เรียงเงิน รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และโฆษกกระทรวงวัฒนธรรม ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ “ถกไม่เถียง” ทางช่อง 7HD ดำเนินรายการโดย ทิน โชคกมลกิจ ถึงประเด็นการขายของบนโลกออนไลน์ในปัจจุบันนี้ว่า กระทรวงมีบทบาทหน้าที่ ในการฟื้นฟู เฝ้าระวัง สร้างสรรค์วัฒนธรรม วัฒนธรรมต้องรับใช้วิถีชีวิต คนจะต้องอนุรักษ์สืบสาน เราเข้าใจว่าการสร้างรายได้ต้องมีวิธีการสื่อสารการตลาด ผมเข้าใจว่าการตลาดที่ดีต้องทำให้คนสนใจ คนขายของได้ แต่การตลาดก็มีหลายวิธีในการสื่อสาร ที่ไม่จำเป็นจะต้องหยาบคาย หรือโป๊เปลือย หากทำสิ่งที่ดี คนก็จะจดจำในสิ่งที่ดี ทำสิ่งไม่ดี คนก็ะจดจำในสิ่งที่ไม่ดี คุณสามารถทำสิ่งที่สังคมยอมรับให้และให้การสนับสุนนได้ ทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ กระทรวงพร้อมสนับสนุน ทางกระทรวงวัฒนธรรม มีหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกัน สร้างการรับรู้ ช่วยทำให้คนเข้าใจว่าสิ่งที่ดีคืออะไร เราจะมีเครือข่ายคอยเฝ้าระวัง ซึ่งทุกๆวันจะมีข่าวร้ายขึ้นมาเสมอ แต่เราไม่ได้โฆษณาออกไป เพราะเชื่อว่าคนอยากเห็นสิ่งที่ดีมากกว่าสิ่งที่ไม่ดี สำหรับบางคน แค่ กระทรวงวัฒนธรรมโทรไปเตือน เขาก็ยินดี ยอมปรับเปลี่ยน แต่บางกรณีก็อาจจะอ้างว่านี่เป็นอาชีพของฉัน แต่เขาก็ยอมปรับให้ แค่ขอเวลาหน่อย
 
ถกไม่เถียง : ถอดบทเรียนดรามากระหึ่มเมือง แม่ค้าย
 
           นายประสพ เรียงเงิน กล่าวต่อไปว่า กระทรวงไม่ได้มีหน้าที่สั่งให้ทุกคนต้องทำเหมือนกันหมด ถ้าคุณมีรายได้จากการทำธุรกิจใดๆ ก็ตาม มันมาจากสิ่งที่ดีงามต่อสังคมหรือไม่ ถ้ามันไม่ใช่สิ่งที่ดีงาม คุณควรมีการตั้งคำถามว่าคุณจะคืนอะไรให้สังคมได้หรือไม่ ทุกส่วนต้องร่วมกันสร้าง ถ้าครอบครัวสามารถให้ความสำคัญในการดูแลเด็ก ถือเป็นเรื่องดี เป็นภูมิคุ้มกันชั้นแรกของเด็ก ส่วนกระทรวงก็มีวิธีคือ เราเอาไอดอลของเด็กมานำเสนอในรูปแบบการใช้ชีวิตของเขา เช่น เบิร์ด ธงไชย, น้องเทนนิส , น้องสไปรค์ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดี ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรมเองก็มีการส่งเสริมในเรื่องการขาย ปัจจุบันเรามีสินค้าชุมชนให้เข้ามาร่วมโครงการของเราด้วย
 
ถกไม่เถียง : ถอดบทเรียนดรามากระหึ่มเมือง แม่ค้าย
 
         น.ส.สุนีย์ ศรีสง่าตระกูลเลิศ รองอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวว่า ทาง พม. ทำตั้งแต่คุ้มครองสิทธิของเด็กและเยาวชน และส่งเสริมพัฒนาศักยภาพ โลกออนไลน์เป็นโลกอีกโลกนึงของเด็ก เข้าถึงได้ง่าย ช่วงโควิด เด็กๆสามารถเข้าถึงออนไลน์ได้ และเด็กสามารถเข้าถึงร้านออนไลน์ได้มากที่สุด และอาจเป็นร้านที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน  เราเป็นห่วงว่าการที่เด็กเสพสื่ออะไรเด็กก็จะมีพฤติกรรมแบบนั้น ถ้าเสพคำพูดที่รุนแรง หยาบคาย เด็กก็จะซึมซับสิ่งเหล่านี้ หรือการแต่งกายโป๊เปลือย พ่อแม่อาจจะเป็นห่วงเป็นใย แต่ลูกก็อาจจะตั้งคำถามว่าแล้วทำไมจะทำไม่ได้ สิ่งเหล่านี้มันจะนำไปสู่การขัดแย้งกันในครอบครัว พฤติกรรมหยาบคาย แต่งกายโป๊เปลือย ตลาดออนไลน์อาจจะมองว่า หากแสดงออกแบบนี้จะขายได้ ขายดี แต่อีกสังคมนึง ก็จะมองว่าไม่เห็นต้องทำแบบนั้นก็ขายได้ ลูกหลานจะเติบโตไปแบบไหน ก็ขึ้นอยู่ที่ว่าเราจะให้เขาเสพอะไรแบบไหน
 
          ทางกระทรวงเองได้รับเรื่องร้องเรียน ขอความช่วยเหลือ กรณีที่มีการคุกคามทางเพศในตัวเด็กและเยาวชน เราตระหนักถึงประเด็นเรื่องนี้ส่วนตอนนี้เรากำลังทำให้เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งประเด็นการโป๊เปลือย อาจไม่ได้มีการส่งผลโดยตรง แต่มันอาจกระตุ้น ยุยง อาจถูกนำไปสู่การยุยงให้เด็กถ่ายรูปโป๊เปลือย และนำไปขาย สุดท้ายอาจนำไปสู่การเกิดอาชญากรรมทางเพศ การแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศกับเด็ก จึงอยากฝากเป็นข้อคิดกับเด็กไว้ 3 ข้อ คือ Stop (หยุด) หยุดเสพสื่อที่ไม่ดี Block (ปิดกั้น) ไม่ให้สิ่งไม่ดีเข้ามาใกล้เรา Tell (สื่อสาร) คือต้องกล้าสื่อสารกับสังคม หากโดนกระทำก็ต้องบอกผู้ปกครอง หรืออาจจะโทรหาสายด่วน พม. 1300
 
ถกไม่เถียง : ถอดบทเรียนดรามากระหึ่มเมือง แม่ค้าย
 
            ด้าน นายเทพรัตน์ สงเคราะห์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์สื่อสารการตลาดและนักอภิปรัชญา เผยว่า ก่อนจะถามว่าโป๊เปลือยเป็นเรื่องที่ดีไหม ทำให้ขายได้ไหม ต้องถามก่อนว่าโป๊เปลือยคืออะไร ในทางการตลาดมันคือการสื่อสาร มันคือคอนเทนต์ คุณอยากสื่อสารให้ใครฟัง และคุณอยากขายให้ใคร แต่ในแง่การตลาด คุณต้องทำให้เขาซื้อสินค้าด้วย การโป๊เปลือย อาจจะเป็นชุดข้อความที่สร้างแรงจูงใจสูงหน่อย คอนเทนต์เรื่องเพศ เป็นการกระตุ้นให้คนขาดการแยกแยะ คนอาจจะโฟกัสแค่เรื่องโป๊เปลือย แต่สินค้าเป็นยังไงไม่รู้ ดังนั้น โป๊เปลือยเป็นแค่ 1 เนื้อหา แต่ถ้าคุณสามารถหาเนื้อหาที่คุณจะขายได้ ก็เป็นอีกทางเลือก การขายถูก การส่งของตรงเวลา การซื่อสัตย์ต่อลูกค้า ก็เป็นเนื้อหาที่ดี ตลาดออนไลน์เหมือนมหาสมุทรที่กว้างใหญ่ ขณะเดียวกันก็เป็นมหาสุมทรที่พร้อมจะกลืนกินเราได้ทุกขณะ 
 
          ทศวรรษที่แล้วเป็นเรื่องของ Propaganda  การโฆษณาชวนเชื่อ โดยมีงบประมาณในการซื้อโฆษณา เน้นย้ำคำเดิมซ้ำๆจนคนจำ คนเชื่อ แต่ยุคนี้เป็นเรื่องของ Influencer ใช้บุคคลชี้นำ คุณต้องจับตลาดให้ได้ พูดภาษาเดียวกันกับเขาให้ได้ เช่น ทำไมเด็กต่างจังหวัดหน้าตาไม่ได้แต่ทำไมเขาขายได้ เพราะเขาพูดภาษาที่สื่อสารได้ รู้จักกลุ่มเป้าหมายตัวเอง ผู้ซื้อหลายคนตัดสินใจซื้อเพราะแค่อยากเลียนแบบ ซื้อมาแล้วก็วางกองๆไว้ แต่ไม่ได้ใช้ เพราะคุณถูกชี้นำ เราอยากเป็นบางสิ่งที่เราเป็นไม่ได้ สิ่งสำคัญคือมองคุณค่าตัวเองให้เจอ แล้วคุณจะไม่หลงไปกับสิ่งยั่วยุที่เห็น
 
ถกไม่เถียง : ถอดบทเรียนดรามากระหึ่มเมือง แม่ค้าย
 
          น.ส.ฟารีดา มะหวีเอ็น หรือแม่ดา แม่ค้าออนไลน์ที่ประสบความสำเร็จได้ แม้ไม่ต้องหยาบคาย หรือ แต่งกายวาบหวิว กล่าวว่า การขายออนไลน์ เมื่อประมาณ 4 ปีก่อน เป็นเรื่องที่ใหม่มาก เป็นเรื่องที่ทำง่าย ต่อให้ไม่มีทุน ไม่เป็นคนดัง ก็สามารรถแสดงตัวตนได้ เราสามารถเลือกได้ว่าจะแสดงตัวตนอย่างไร เราเลือกแสดงตัวตนด้วยการขายกระเป๋า ตอนนั้นที่เราไลฟ์คือมีคนดูแค่ 20-30 คนเอง แต่เราก็ดีใจมาก เราไลฟ์ทุกวัน วันละชม. หลังเลิกงาน วันแรกๆที่เราไลฟ์ มีคนซื้อบ้าง ไม่ซื้อบ้าง แต่พอเริ่มมีคนซื้อแค่ 2 ใบ เราก็รู้สึกสุดยอดมาก เราไม่ต้องมีหน้าร้าน เราก็ขายได้ มันทำให้เราเห็นช่องทาง แล้วก็เริ่มขายได้มากขึ้นๆ ทุกวันนี้ เวลาไลฟ์ก็คือมีคนดูหลักพันหลักหมื่น ช่วงพีคๆขายได้ 2-3 ล้านบาทต่อวัน จุดเด่นของร้านเราคือ ลูกค้าอาจซื้อแค่ร้อยสองร้อย แต่เราก็ส่งของขวัญเซอร์ไพรส์ไปให้ลูกค้า เป็นเซอร์วิสแทนใจที่เราให้ลูกค้า ลูกค้าที่ซื้อกับเรามาตั้งแต่ 4 ปีก่อน จนตอนนี้เขาก็ยังซื้อกับเราอยู่
 
         ปัญหาที่เจอส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาเรื่องที่ลูกค้าได้ของไม่ตรงที่สั่ง เพราะจำนวนลูกค้ามันเยอะมาก เราเพิ่งแก้ไขปัญหานี้ได้เมื่อช่วงปี 2 ปีที่ผ่านมา ลูกค้าได้ของไม่ตรงปก ก็สามารถส่งเคลมได้ บางคนคิดว่าการขายของออนไลน์ ความสำเร็จคือต้องมีเงินสิบล้าน ซื้อรถซื้อบ้าน พอทำไม่ได้ก็จะท้อ จริงๆแล้วมันไม่ถูกต้อง เรามองว่าความสำเร็จของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ถ้าเป้าหมายแรกเราคืออยากจุนเจือครอบครัว อยากให้พ่อแม่สบาย อันนี้คือเราสำเร็จไป 1 ขั้นแล้ว แต่ขณะเดียวกันเราก็สามารถพัฒนาตัวเองไปได้ด้วย
 
ถกไม่เถียง : ถอดบทเรียนดรามากระหึ่มเมือง แม่ค้าย
 
       น.ส.ฟารีดา มะหวีเอ็น เผยว่า เคยเจอคอมเม้นต์ลูกค้า ที่ทั้งดีและไม่ดี เราก็มีการนำไปปรับปรุงบริการของเรา ที่เรายังอยู่ได้ เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ได้ของเราไป เอาไปฝากพ่อ ฝากแม่ แล้วก็ชอบมาก บางทีลูกค้าก็ซื้อขนมซื้อผลไม้ส่งกลับมาให้เรา เรารู้สึกดีมาก ลูกค้าของเรามีหลากหลายพื้นที่มาก ตอนแรกทีมงานมีแค่ 2 คน มีแค่แม่ดากับคนถือกล้อง วันนี้มีทีมงานร้อยกว่าคนแล้ว จนตั้งเป็นบริษัทเลย
 
          สำหรับเทคนิคที่เราใช้ในการไลฟ์ขายของ เราต้องจับสินค้า ดูว่าสินค้าชนิดนี้งานเป็นยังไง ถ้าต้องเทสก็ต้องเทสก่อน ยกตัวอย่าง โรตีกล่อง  เราเอามาโชว์แบบไม่ได้ทอดให้ดู ขายได้ 50 กล่อง วันต่อมาเราแก้ตัว เอาโรตีมาทอดโชว์ให้ดูเลย วันนั้นขายหมดเกลี้ยงพันกล่อง บางทีก็ทานให้ดู เหมือนเราเป็นตัวแทนของลูกค้า ทดลองเอง เราให้ความรู้สึกว่าการขายของของเรา ถือว่าเป็นการส่งต่อของดี ที่เรารู้สึกว่าใช้ดีมากอยากส่งต่อให้ลูกค้าได้ใช้ 
 
         ติดตาม  รายการ “ถกไม่เถียง” ดำเนินรายการโดย “ทิน โชคกมลกิจ”  ภายใต้การผลิตของบริษัท เทโร เอ็นเทอร์เทนเม้นท์  ได้ทุกวันจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 17.00 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และสามารถรับฟังผ่านทาง  hitz955.com
 
ชมผ่าน YouTube ได้ที่  https://youtu.be/2V4233auNfg

ข่าวที่เกี่ยวข้อง