logo ถกไม่เถียง

เจอจ่ายจบ แต่ไม่จบ! บานปลาย ผู้ทำประกันบ้าน-รถ เคลมไม่ได้ หวั่นถูกลอยแพ ธุรกิจประกันส่อแววล้มทั้งระบบ : ช็อตเด็ด ถกไม่เถียง

ถกไม่เถียง : ประกันโควิด เจอจ่ายจบ จบไม่สวย! ผู้ทำประกันร้องไม่ได้เงิน บานปลายไปถึงผู้ทำประกันภัยบ้าน-รถ เคลมเงินไม่ได้ เหตุยอดเคลมพุ่ง ทำขาดสภาพ ถกไม่เถียง,ทินถกไม่เถียง,ช่อง7HD,TERODigital,ประกันภัย,ประกันโควิด,เจอจ่ายจบ,เบี้ยประกัน,คปภ,เยียวยา,ไม่ได้รับเงินเยียวยา,เงินประกัน,บริษัทประกัน,ฟ้องร้อง,ผู้ป่วย,โควิด19,บริหารความเสี่ยง,บังคับหนี้,กรมธรรม์,บอกเลิกกรมธรรม์,ค่าสินไหม,รักษา,ผู้ติดเชื้อ,วัคซีน,ผู้เอาประกัน,เคลมประกัน

1,159 ครั้ง
|
19 ม.ค. 2565

      ประกันโควิด เจอจ่ายจบ จบไม่สวย! ผู้ทำประกันร้องไม่ได้เงิน บานปลายไปถึงผู้ทำประกันภัยบ้าน-รถ เคลมเงินไม่ได้ เหตุยอดเคลมพุ่ง ทำขาดสภาพคล่อง หลายบริษัทเล็งเจรจา เปลี่ยนกรมธรรม์จากผู้เอาประกัน หวั่นวงการธุรกิจประกันอาจล้มทั้งระบบ

        นิตยา อ่วมหนู (ผึ้ง)  ได้เปิดเผยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นผ่านรายการ “ถกไม่เถียง” ทางช่อง 7HD ดำเนินรายการโดย ทิน โชคกมลกิจ เกี่ยวกับกรณีประกันเจอ จ่าย จบ ว่า ตนได้ซื้อประกันภัยให้พ่อและแม่จากเอเชียประกันภัย2 ฉบับ โดยอีก 4 ฉบับของครอบครัวซื้อของสินมั่นคงประกันภัย เหตุผลที่ตนซื้อประกันภัยจาเอเชียเพราะพ่อบังคับให้ตนซื้อ เพราะเหตุการณ์โควิดในช่วงนั้นอันตราย โดยตนได้ซื้อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2564 และทราบว่าพ่อติดเชื้อโควิดในอีก 3 เดือนต่อมา คือ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2564ต่อมาพ่อตนได้เสียชีวิตเมื่อเดือนสิงหาคม ตนคิดว่าอย่างน้อย ๆ ตนก็ต้องได้เงินประกัน แต่สุดท้ายตอนนี้ก็ยังไม่ได้ โดยตนเองยื่นเรื่องเพื่อดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม และรอดำเนินการมาเรื่อย ๆ แต่เรื่องก็เงียบ ซึ่งตนและครอบครัวต้องได้เงินจำนวน 509,000 บาท พอมีข่าวประกาศออกมาว่าบริษัทปประกันโดนสั่งปิด ตนทั้งช็อคและอึ้ง

ถกไม่เถียง : เจอจ่ายจบ แต่ไม่จบ! บานปลาย ผู้ทำปร

“…เช็คทุกวัน ตามทุกวัน มันก็ขึ้นแค่คำว่า สถานการณ์ทวงหนี้..ตอนนี้เครียดมากค่ะ พอไปตามกองทุน เขาก็บอกให้เรา คุณต้องเข้าใจระบบราชการ เราแค่ประชาชนทั่วไป เราก็แค่อยากได้สิ่งที่เราต้องได้ จนตอนนี้ก็ทำได้แต่คำว่ารอ…” นิตยา อ่วมหนู (ผึ้ง) กล่าว

      อีกด้าน จินตนา จินดารัตน์ (นก) ตัวแทนกิจการอู่ซ่อมรถ ได้เผยถึงผลกระทบสำหรับอู่และคู่ค้า คือ อู่และคู่ค้าจะไม่ได้รับเงิน และเล่าเพิ่มเติมว่า ตอนนี้รถค้างอยู่ในอู่ของตนเองเกือบ100 คัน และเดือดร้อนไปถึงผู้บริโภค เจ้าของรถ รถที่ถูกชน บางคนก็ต้องเอารถกลับ บางคนที่จะจ่ายก็ต้องรีบไปเบิกเงินเพื่อนำมาจ่าย และลูกค้าบางคนก็ไม่มีเงินจ่าย โดยตอนนี้ลูกค้าต้องสำรองเงินจ่ายก่อน อู่ของตนจึงจะซ่อมให้

ถกไม่เถียง : เจอจ่ายจบ แต่ไม่จบ! บานปลาย ผู้ทำปร

“….ตอนนี้อู่เดือดร้อน เพราะ อู่เรารับปประกันโควิดหมด เลยวิตกว่าอู่ที่เหลือ ประกันที่เหลืออยู่จะรับไหวไหม ลูกค้าก็จะวิตกอีกว่าอู่ไม่รับซ่อม อู่วิตก ซึ่งเราสงสารลูกค้า เพราะบงคนก็เป็นลูกค้าประจำของเรา และตอนนี้เขาจ่ายให้ผู้เอาประกันภัยก่อน ตอนเรายื่นเอกสารเขาบอกว่าเราจะได้เป็นลำดับถัดไป…” นก จินตนา จินดารัตน์ (ซ้าย) กล่าว

         นพเกล้า ห่อศรี (นพ) เจ้าของรถที่เคลมประกันไม่ได้ และรถของตนนั้นค้างอยู่ที่ศูนย์ตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 64 ได้ต่อสายเข้ารายการเพื่อเปิดเผยเรื่องราวของตนที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ว่า

“…ตอนนี้รถอยู่ที่ศูนย์หนองบัว ไม่ได้รับการซ่อม เพราะ บริษัทประกันล่มแล้ว ถ้าอยากซ่อมก็ต้องหาเงินมาซ่อมเอง เป็นเงิน 148,000 บาท รถก็ต้องผ่อนทุกเดือน เดือนละ 8,700 บาท และยังต้องหาเงินมาซ่อมอีก และตอนนี้เดือดร้อนมากค่ะ ตอนเราไปยื่นเรื่อง เขาก็บอกว่าตอนไปช่วยเกี่ยวกับโควิดก่อน…” นพเกล้า ห่อศรี (นพ) กล่าว

          และกล่าวทิ้งท้ายว่า ตนอยากเรียกร้องให้พิจารณาทุกกรณีให้เท่ากัน ไม่ควรมีลำดับก่อนหลัง และควรดำเนินการให้รวดเร็วกว่านี้ เพราะทุกคนเดือนร้อนเหมือนกัน...

ถกไม่เถียง : เจอจ่ายจบ แต่ไม่จบ! บานปลาย ผู้ทำปร

       ดร.พีรภัทร ฝอยทอง เลขาธิการ สมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัย แห่งประเทศไทย เผยว่า เหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นเมื่อสมัยน้ำท่วมใหญ่ ผู้ทำประกันมีการเคลมกันเยอะ ทำให้เกิดการดีเลย์ในการจ่ายค่าสินไหม ในกรณีที่บริษัทประกันล้ม ผู้ทำประกันจะได้เงินจากกองทุนฯ ไม่เกิน 1 ล้านบาท แต่ตอนนี้ที่ล่าช้า เพราะมีการโอนเคส ฉะนั้นจะต้องมีการตรวจสอบใหม่ ตอนนี้ ผู้ที่ได้รับผลกระทบไม่ใช่แค่คนที่ทำประกันโควิด แต่ยังมีพวกอู่ซ่อมรถ และประกันอื่นๆ อีก ส่วนเรื่องอู่ซ่อมรถที่ได้รับผลกระทบ ถ้าบริษัทประกันล้ม คนทำประกันสามารถไปเบิกเงินกับทางกองทุนก่อนได้ แต่อู่ไม่สามารถเบิกได้ จริงๆ อู่ควรจะสวมสิทธิทำได้ มันเป็นเรื่องของข้อกฎหมายที่ต้องไปแก้กัน 

 
        สำหรับเรื่องการทำเรื่องเคลมเงินจากกองทุนฯ ผู้เอาประกันภัยสามารถมาเคลมได้ แต่ยอดต้องไม่เกิน 1 ล้าน แต่คุณต้องสำรองจ่ายไปก่อน ที่ผ่านมามันไม่เคยเกิดเหตุแบบนี้ พนักงานพันกว่าคนจะต้องมาดูแล 4 ล้านกว่ากรมธรรม์ มันก็เลยล่าช้า แล้วเรื่องการเคลมประกัน ทำไมกรมธรรม์รถถึงมาทีหลัง ทั้งๆที่เขาก็เดือดร้อนเหมือนกัน ฉะนั้น คปภ.และกองทุน ต้องมาคุยกัน คุณจะดูแลแต่เคสโควิดไม่ได้ กรมธรรม์โควิดมีแค่ 10 ล้าน แต่กรมธรรม์อื่นๆ มีประมาณ 40 ล้าน ตอนนี้มีการโอนเงินของบริษัทที่ปิดไปทั้ง 2 แห่ง มาให้ กปว (กองทุนประกันวินาศภัย) ดูแล โดยพนักงานกองทุนที่ดูแลเรื่องนี้มันไม่พอ เพราะแค่เคลมโควิดยังไม่หมดเลย และการจะดูแลเรื่องเคลมรถยนต์ มันต้องใช้ผู้ที่เชี่ยวชาญด้านนี้ด้วย ผมมองว่าอาจจะเพราะว่ามีคนด้านนี้ไม่เพียงพอ เลยยังไม่มีการพิจารณาสั่งจ่าย และแค่เฉพาะ 2 บริษัทที่ล้มไป กองทุนก็เสียเงินไปครึ่งนึงแล้ว ถ้าเกิดบริษัทล้มเพิ่มอีก มีแววว่าเงินกองทุนอาจจะไม่พอ
 
          ดร.พีรภัทร เผยต่อว่า ในส่วนของการคิดเบี้ยประกัน อย่างโควิดเป็นเรื่องใหม่ ไม่มีใครคิดว่ามันจะกลายพันธุ์ ไม่มีใครคิดว่ามันจะระบาดนานขนาดนี้ ทุกๆ 3 เดือนเราเห็นแล้วว่าจำนวนคนติดมันเยอะขึ้น ดังนั้น มันก็ควรจะมีการพิจารณาเบี้ยใหม่ให้เหมาะสม ในปี 63 ความเสี่ยงยังน้อย เบี้ยเลยเป็นอีกแบบ แต่จำนวนคนติดมันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกๆเช้าเราเห็นอยู่แล้วว่าจำนวนผู้ติดเชื้อมันเพิ่มขึ้น ยิ่งความเสี่ยงเยอะ เบี้ยประกันก็ต้องเปลี่ยน ที่ต่างประเทศเขาทำกันแบบนี้มีการปรับเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นตามยอดความเสี่ยง แต่ของไทยเวลาคำนวณความเสี่ยงจะต้องส่งให้ คปภ.และ คปภ.จะเป็นผู้อนุมัติให้ ซึ่งจะอนุมัติเป็นรายปี ทำให้ไม่สามารถปรับเปลี่ยนเบี้ยประกันได้เมื่อความเสี่ยงเพิ่มขึ้น อย่างประกันรถเขาจะดูสถิติว่าในแต่ละปีมีอุบัติเหตุรถยนต์มากน้อยแค่ไหน เขาจะดูไล่ตามยี่ห้อรถเลย แล้วจะมีการเฉลี่ยว่าเท่าไหร่ถึงเท่าไหร่ เขาจะคำนวณกำไรให้เหมาะสม ประกันรถเป็นประกันที่มีจำนวนมหาศาล เขาเลยให้กำไรน้อยที่สุด ในเรื่องของประกันโควิดปีแรก หลายๆ บริษัทได้กำไร บางที่อาจเกิน 5% สิ่งที่ คปภ.ทำ เขาจะดูว่าที่ไหนกำไรเยอะเกิน เขาจะสั่งให้ลดเบี้ย แต่ต่อมาเกิดการระบาดเป็นวงกว้าง ตัวเลขก่อนจะมีการฉีดวัคซีน คนติดโควิดจำนวนน้อย แต่พอคนเริ่มฉีดวัคซีน ตัวเลขคนติดเยอะมากขึ้น อาจจะเพราะว่าคนเริ่มไม่กลัวโควิด หรืออาจจะเป็นเพราะรัฐควบคุมได้ไม่ดีพอ ส่งผลให้ยอดเคลมประกันพุ่งสูง และข่าวล่าสุด มีการจ้างเด็กเอ็นฯ ที่ติดโควิดมาเอ็นเตอร์เทน เพราะเขาไม่กลัว ถึงติดก็ไม่ตาย ได้ทั้งเด็กเอ็นฯ ได้ทั้งเงินประกัน อันนี้ถือว่าฉ้อโกงประกัน เป็นการพาตัวเองไปหาที่เสี่ยง เพื่อหวังเงินเคลมประกัน
 
        ทางออกตอนนี้ คปภ.ควรจะยกเลิกคำสั่งห้ามบริษัทประกันภัย ยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย แบบเจอ จ่าย จบ ซึ่งทางบริษัทประกันจะสามารถยกเลิกได้ แต่ต้องบอกผู้ทำประกันล่วงหน้า 30 วัน เพื่อลูกค้าจะได้มีเวลาเตรียมตัว และจริงๆ ในสัญญาลูกค้าเองก็สามารถบอกเลิกประกันได้ และสามารถบอกเลิกได้ทันที เงื่อนไขนี้ คปภ.เป็นคนอนุมัติเองในทุกกรมธรรม์ ไม่ใช่เฉพาะของโควิด แต่อยู่ดีๆ ก็มีการยกเลิกข้อนี้ แล้วไม่ใช่การยกเลิกไปข้างหน้า แต่ย้อนหลังไปด้วย ฉะนั้น กรมธรรม์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ก็ต้องถูกยกเลิกไปด้วย ถ้าจะแก้ปัญหาตอนนี้ มันต้องตัดวงจร ก่อนที่จะมีบริษัทประกันอื่นล้มตามไปด้วย คือ บริษัทประกันต้องสามารถคืนใบอนุญาต แล้วทำแผน เช่น ประกันโควิด สามารถคืนเบี้ยประกัน แล้วถ้าพวกประกันรถยนต์ หากบริษัทยังไม่ล้ม แล้วพอร์ตยังดีอยู่ เขาสามารถขายหรือโอนพอร์ตนี้ไปยังบริษัทอื่นๆ หากบริษัทอื่นรับซื้อไป ประกันรถก็จะยังเดินต่อไปได้ตามปกติ ส่วนประกันโควิด ตอนนี้ถือเป็นหนี้เสีย ก็ต้องเคลียร์มันให้จบ ซึ่งจะจบก็คือต้องบอกเลิก และถ้าบอกเลิกจะให้เป็นธรรมกับชาวบ้านก็คือการคืนเบี้ยเต็มๆ ไม่ใช่คืนตามสัดส่วน

 

ถกไม่เถียง : เจอจ่ายจบ แต่ไม่จบ! บานปลาย ผู้ทำปร

“…แก้ปัญหาตอนนี้คือต้องตัดวงจร คือคืนใบอนุญาต ถ้าเป็นเคสประกันโควิด ก็คืนเบี้ยให้ประชาชน ถ้าคิดว่าบริษัทตัวเองจะล้ม ก็ควรตัดสินใจขายพอร์ทให้บริษัทอื่น..” ดร.พีรภัทร ฝอยทอง กล่าว

 

         ติดตาม  รายการ “ถกไม่เถียง” ดำเนินรายการโดย “ทิน โชคกมลกิจ”  ภายใต้การผลิตของบริษัท เทโร เอ็นเทอร์เทนเม้นท์  ได้ทุกวันจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 17.00 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และสามารถรับฟังผ่านทาง  hitz955.com

 

ชมผ่าน YouTube ได้ที่  https://youtu.be/-2euhMLT7iE

ข่าวที่เกี่ยวข้อง