คลัง จ่อเก็บภาษีความเค็ม เพื่อสุขภาพปชช. ขอเวลาศึกษาแนวทาง รอใช้ช่วงเวลาที่เหมาะสม
logo ข่าวอัพเดท

คลัง จ่อเก็บภาษีความเค็ม เพื่อสุขภาพปชช. ขอเวลาศึกษาแนวทาง รอใช้ช่วงเวลาที่เหมาะสม

ข่าวอัพเดท : วันที่ 26 พ.ย.64 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงการคลัง กำลังพิจารณาแนวทางการจัดเก็บ ภา คลัง,ภาษีความเค็ม,เค็ม,สุขภาพ,ประชาชน,แนวทาง,เหมาะสม,มาม่า,อาหารสำเร็จรูป,เกลือ,เครื่องปรุงรส

1,555 ครั้ง
|
27 พ.ย. 2564
     คลัง จ่อเก็บภาษีความเค็ม เพื่อสุขภาพปชช. ขนมขบเคี้ยว เครื่องปรุงรส อาหารสำเร็จรูป ก็ไม่รอด ขอเวลาศึกษาแนวทาง รอใช้ช่วงเวลาที่เหมาะสม
 
         วันที่ 26 พ.ย.64  นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า  ขณะนี้กระทรวงการคลัง กำลังพิจารณาแนวทางการจัดเก็บ ภาษีความเค็มตามปริมาณโซเดียม โดยจะดำเนินการจัดเก็บภาษีในช่วงเวลาที่เหมาะสม   เพื่อให้คนไทยลดการบริโภคเกลือโซเดียม  และให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรม ลดผลิตสินค้าที่มีปริมาณโซเดียมสูง   เนื่องจากขณะนี้พบว่า คนไทยบริโภคโซเดียมสูงเฉลี่ย 3,600 มิลลิกรัมต่อวัน  ซึ่งสอดคล้องกับที่ องค์การอนามัยโลกศึกษาพบว่า คนไทยบริโภคเกลือเฉลี่ยวันละ 9.1 กรัม สูงกว่าที่แนะนำที่ 5 กรัมต่อวัน หรือสูงเกือบ 2 เท่า  ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคไตวายเรื้อรังมากขึ้น  ดังนั้น การใช้ภาษีสรรพสามิตเข้ามาช่วยควบคุมปริมาณโซเดียมในอาหาร จะช่วยลดการบริโภคโซเดียมของประชาชนได้  เหมือนกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตความหวาน     ทั้งนี้ มีเป้าหมายลดการบริโภคโซเดียมของคนไทยในแต่ละวันลงให้น้อยกว่า 20% ต่อคนต่อวัน หรือประมาณ 2,800 มิลลิกรัมต่อคนต่อวัน 
 
     นายอาคม กล่าวอีกว่า ภาษีจากความเค็มจะจัดเก็บทั้งจากอาหารสำเร็จรูป และอาหารกึ่งสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว รวมถึงเครื่องปรุงอาหารทั้งหมด เช่น ผงชูรส น้ำปลา เกลือ ผงปรุงรส เป็นต้น โดยจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยดูแล ได้แก่ สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม ขณะที่ร้านอาหาร ภัตราคาร ก็ต้องมีองค์การอาหารและยา (อย.) เข้ามาช่วยดูคุณภาพ โดยจะใช้ระบบเดียวกับภาษีความหวานที่ต้องมีการวัดปริมาณที่ชัดเจน 
 
        อย่างไรก็ตาม  เมื่อมีการใช้เครื่องมือทางภาษีแล้ว จะต้องมีระบบการติดตามและประเมินผลของมาตรการลดการบริโภคโซเดียมด้วยว่า เครื่องมือทางภาษีแล้วจะมีผลต่อการลดการบริโภคอย่างไร อัตราการป่วยจากโรคไตเรื้อรังจะลดลงหรือไม่
 
         ด้านนพ.สุรศักดิ์  กันตชูเวสศิริ นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย และประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าวว่า  ขณะนี้มีคนไทยป่วยด้วย โรคไตเรื้อรัง 8 ล้านคน  และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น  ดังนั้น การจัดเก็บ ภาษีความเค็ม จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ควรกำหนดหลักเกณฑ์ความเค็มในการจัดเก็บ เช่น ความเค็มมาก เก็บมาก เค็มน้อยเสียน้อย  เป็นต้น