กรมควบคุมโรค เตือน เที่ยวป่ากางเต็นท์นอนช่วงหน้าหนาว ระวังไรอ่อนกัด-เสี่ยงป่วยไข้รากสาดใหญ่
logo ข่าวอัพเดท

กรมควบคุมโรค เตือน เที่ยวป่ากางเต็นท์นอนช่วงหน้าหนาว ระวังไรอ่อนกัด-เสี่ยงป่วยไข้รากสาดใหญ่

ข่าวอัพเดท : วันที่ 15 พ.ย.64 กรมควบคุมโรค พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพ คาดว่าในช่วงปลายฝนต้นหนาว มีโอกาสพบผู้ป่วยโรคไข้รากสาดใหญ่เพิ่มขึ้น เนื่องจากช่ ไข้รากสาดใหญ่,เที่ยวป่า,ไรอ่อนกัด,ระวัง,เที่ยวป่าหน้าหนาว,กางเต็นท์นอน,กรมควบคุมโรค

720 ครั้ง
|
16 พ.ย. 2564
     วันที่ 15 พ.ย.64 กรมควบคุมโรค พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพ คาดว่าในช่วงปลายฝนต้นหนาว มีโอกาสพบผู้ป่วยโรคไข้รากสาดใหญ่เพิ่มขึ้น เนื่องจากช่วงนี้อากาศเริ่มเย็นลง ประชาชนมักเดินทางท่องเที่ยวตามป่าเขา และกางเต็นท์นอนเพื่อสัมผัสอากาศหนาว และยังเป็นฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตของเกษตรกร  จึงต้องระวังโรคไข้รากสาดใหญ่ หรือโรคสครับไทฟัส (Scrub typhus) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย “โอเรียนเทีย ซูซูกามูชิ” โดยถูกตัวไรอ่อนที่มีเชื้อกัด
 
       ไรอ่อนนี้มีขนาดเล็กมาก และอาศัยอยู่ตามใบไม้ ใบหญ้าใกล้กับพื้นดินที่มีความชื้นแต่ไม่เปียกแฉะ จะเกาะติดไปตามเสื้อผ้าของคนและกัดผิวหนัง บริเวณที่มักถูกกัดคือ รักแร้ ขาหนีบ รอบเอว หลังถูกกัดประมาณ 10-12 วัน จะแสดงอาการ ได้แก่ ปวดศีรษะ มีไข้ หนาวสั่น ไอ ตาแดง คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตัว อ่อนเพลีย มีผื่นแดงขนาดเล็กค่อยๆ นูนหรือใหญ่ขึ้น และอาจจะพบแผลคล้ายบุหรี่จี้ แต่จะไม่ปวดและไม่คัน ผู้ป่วยบางรายอาจหายได้เอง บางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ เช่น ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบ อาจทำให้เสียชีวิตได้  
 
        ในปีนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.- 27 ต.ค. 64 มีรายงานพบผู้ป่วยโรคไข้รากสาดใหญ่ 2,506 คน เสียชีวิต 1 คน  พบผู้ป่วยสูงสุดในภาคเหนือ โดยเครือข่ายบริการสุขภาพเขต 1 พบผู้ป่วยสูงสุด จำนวน 1,246 คน
 
        กรมควบคุมโรค จึงขอแนะนำให้ประชาชนที่เดินทางท่องเที่ยวตั้งแคมป์ กางเต็นท์นอนในป่า หรือไปในพื้นที่เกษตรกรรม ควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว สวมเสื้อผ้าที่มีสารป้องกันแมลง และทายากันยุง ซึ่งสามารถป้องกันตัวไรอ่อนกัดได้  นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในบริเวณที่มีตัวไรอ่อนชุกชุม ไม่ว่าจะเป็นป่าโปร่ง ป่าละเมาะ บริเวณที่มีการปลูกป่าใหม่หรือตั้งรกรากใหม่ ทุ่งหญ้า ชายป่าหรือบริเวณต้นไม้ใหญ่ที่แสงแดดส่องไม่ถึง เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการสัมผัสโรคหากมีอาการไข้และอาการข้างต้น ภายใน 2 สัปดาห์ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที พร้อมแจ้งประวัติการเข้าป่าให้แพทย์ทราบ เพื่อรับการรักษาโดยเร็ว ป้องกันการเสียชีวิต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง