จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ในหลายพื้นที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว และดูยังไม่มีทีท่าว่าสถานการณ์นี้จะคลี่คลายลงได้ แต่วันนี้ เราเรื่องราวน่าชื่นชมมาฝากเกี่ยวกับจังหวัดสุพรรณบุรี พื้นที่ไม่ห่างไกลจากกรุงเทพฯ แต่กลายเป็น จังหวัดที่ประสบความสำเร็จในการจัดการด้านสาธารณสุขและมาตรการที่รัดกุมในการคุมเข้มการแพร่ระบาดโควิด-19 จนทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อลดลงอย่างต่อเนื่อง จนแทบจะเป็นตัวเลขที่ต่ำเลย มาดูกันว่า สุพรรณบุรีโมเดล ทำอย่างไร? ให้สามารถคุมสถานการณ์นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นพ.รัฐพล เวทสรณสุธี นายแพทย์เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกันจังหวัดสุพรรณบุรี เผยว่า สถานการณ์โดยทั่วไปของพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ในช่วงโควิด-19 ระบาดในช่วงแรกๆ ก่อนหน้านี้ ได้มีการควบคุมโรค วางแผนป้องกัน มีทีมสอบสวนโรค ซึ่งประชาชน สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติแบบ New Normal แต่พอมีการระบาดระลอกล่าสุดและมีการสั่งล็อกดาวน์ในวันที่ 20 ก.ค.ทำให้ ตัวเลขการติดเชื้อกระโดดขึ้นมาจากหลักสิบเป็นหลักร้อย โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดมาจาก ประชาชนกลับภูมิลำเนาบ้านเกิด จึงต้องมีการวางแผนอย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อให้คนในพื้นที่
โดยร่วมมือกันกับชุมชน ในการออกแบบศูนย์พักคอยขึ้นมาเพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อภายในบ้าน เพราะการตรวจ PCR ต้องใช้เวลาหลายวันกว่าจะรู้ผลที่แน่ชัด ฉะนั้น การเข้าพักที่ศูนย์พักคอยก่อน และเข้ารับการตรวจ ATK น่าจะได้ผลที่เร็วกว่า ที่ศูนย์มีเตียงรองรับผู้ป่วย ที่พักรองรับคนที่อยู่ในศูนย์ ทำให้ช่วงนี้สุพรรณบุรีกลับมามีผู้ติดเชื้อแค่หลักสิบ ซึ่งถ้าทำตามโมเดลนี้ เชื่อว่าไม่นานพี่น้องประชาชนจะกลับมาใช้ชีวิตแบบปกติได้แน่นอน
สรชัด สุจิตต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี เขต 1 เผยว่า ปัญหาการแพร่ระบาดครั้งนี้ทำให้นิ่งเฉยไม่ได้จึงช่วยประสานเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหา มีการปรึกษาทางแพทย์และทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน ให้เข้ากระบวนการเพื่อการลดจำนวนผู้ติดเชื้อให้ลดลงเร็วที่สุด ซึ่งส่วนที่สำคัญที่สุดคือการควบคุมไม่ให้มีการแพร่ระบาดการติดเชื้อในชุมชน โดยวางมาตรการให้จัดตั้งศูนย์แรกรับในแต่ละตำบล หากพบว่ามีคนที่มีความเสี่ยงและกลับมาบ้าน ต้องกันไม่กลับเข้าบ้าน เพื่อป้องกันการติดเชื้อกันในครอบครัว
ส่วนกลุ่ม อสม.และบุคลากรท้องถิ่น ต้องทำหน้าที่ให้ความรู้กับชาวบ้าน ทำความเข้าใจว่าต้องมีการกักตัวในพื้นที่แรกรับ เพื่อป้องกันการติดเชื้อในชุมชน จากนั้นนำตัวผู้ที่มีความเสี่ยงเข้ารับการตรวจ ATK เสร็จ ถ้าผลเป็นบวก ก็จะถือว่าเข้าข่ายเป็น ผู้ป่วยและนำส่งตัวต่อไปโรงพยาบาลในส่วนของการรักษาผู้ป่วย
ลองนึกภาพ ถ้าเราไม่มีศูนย์พักคอยผู้ที่มีความเสี่ยงอาจจะไปตรวจ PCR ที่โรงพยาบาล และกลับไปรอผลตรวจที่บ้าน ถ้าระหว่างนั้นผลตรวจเป็นบวกขึ้นมา ก็อาจจะเกิดการติดเชื้อในบ้านได้ เราเลยพยายามคิดว่าจะทำยังไงให้เขาไม่ต้องกลับบ้าน จึงมีการวางแผนเข้าพื้นที่เพื่อทำให้เกิดการตรวจ ATK แรกรับ ถ้าทุกคนที่เข้ารับการตรวจ ATK พักอยู่ที่ศูนย์พักคอยก่อน ยังไม่กลับเข้าบ้าน หากพบว่าผลติดเชื้อขึ้นมา ก็สามารถเข้ารับการรักษาได้เลย ไม่ต้องส่งรถไปรับตามบ้าน ซึ่งทางศูนย์มีความเพรียบพร้อม ทางการแพทย์ รวมถึงแก้ไขปัญหาคนป่วยที่โดนทอดทิ้ง เพราะต้องรอผลตรวจแบบทางการเป็นเวลานานจน บางรายต้องเสียชีวิตเพราะโอกาสรักษาตัวด้วย
ทั้งหมดนี้ เราได้รับความร่วมมือจากองค์กรส่วนท้องถิ่น เลยมีการประชุมกันทั้งเรื่องความเข้าใจ เรื่องความกลัวและตื่นตระหนก กับโมเดลนี้ เริ่มง่ายๆ จากการพัมนาห้องเรียน ใช้เป็นวิธีลงพื้นที่ไปสื่อสารกัน มีการจำลองเหตุการณ์ถ้าเป็นลูกหลานเรากลับมาจะทำยังไง หลายคนที่กลัวโควิด ก็อาจจะมีการตื่นตระหนกไปบ้าง ฉะนั้นเราต้องมีการให้ความรู้กับชาวบ้าน อธิบายให้เข้าใจว่าคนที่ไปอยู่ศูนย์พักคอย ไม่ใช่คนที่ติดเชื้อ แต่เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดขึ้น และถ้าหากพบว่ามีการติดเชื้อจริง ก็จะสามารถพาเข้าสู่ระบบการรักษาได้เลย ทำให้ สถานการณ์ตอนนี้ สุพรรณบุรีสามารถรับผู้ป่วยจากที่อื่นได้แล้ว โดยจะต้องประสานงานมาทางเราก่อน เพื่อที่จะสามารถจัดการระบบและรองรับผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม
ถกไม่เถียง
ทิน โชคกมลกิจ
สุพรรณบุรี
สุพรรณบุรีโมเดล
โควิด
ต้นแบบ
สรชัด
ขาดแคลนเตียง
โรงพยาบาล
โรงพยาบาลสนาม
ผู้ป่วย
atk
ติดเชื้อ
ยอดติดเชื้อลดลง