logo ถกไม่เถียง

ที่แรกในไทย! สุพรรณฯ เคลียร์ได้ทุกปัญหา เตียงขาด หาที่ตรวจไม่ได้ สู่ผู้ติดเชื้อแค่หลักสิบ

ถกไม่เถียง : สุพรรณบุรี นำร่อง สุพรรณบุรีโมเดล หวังเป็นต้นแบบ บริหารจัดการการแพร่ระบาดโควิด-19 ในพื้นที่ ช่วยแก้ปัญหาประชาชนหาที่ตรวจโควิดไม่ได้ ถกไม่เถียง,ทินถกไม่เถียง,ช่อง7HD,TERODigital,กด35,สุพรรณบุรี,สุพรรณบุรีโมเดล,ขาดแคลนเตียง,เตียงไม่พอ,โควิด19,แก้ปัญหา,ตรวจเชื้อ,ATK,ต้นแบบ,ป้องกันการแพร่่ระบาด,ผู้ติดเชื้อลดลง,ผู้ป่วย,โรงพยาบาล,โรงพยาบาลสนาม,กักตัว,บริหารจัดการ,หมอ,แพทย์,สรชัด

670 ครั้ง
|
31 ส.ค. 2564
          สุพรรณบุรี นำร่อง สุพรรณบุรีโมเดล หวังเป็นต้นแบบ บริหารจัดการการแพร่ระบาดโควิด-19 ในพื้นที่ ช่วยแก้ปัญหาประชาชนหาที่ตรวจโควิดไม่ได้ ปัญหาขาดแคลนเตียง และป้องกันการแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง ส่งผลผู้ติดเชื้อลดลงเหลือแค่หลักสิบ
 
          วันที่ 31 ส.ค.2564  นายสรชัด สุจิตต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี เขต 1  และ นพ.รัฐพล เวทสรณสุธี นายแพทย์เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกันจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ให้สัมภาษณ์ใน รายการ “ถกไม่เถียง” ทางช่อง 7HD ดำเนินรายการโดย ทิน โชคกมลกิจ ถึงประเด็น สุพรรณบุรีโมเดล นำร่องแก้ปัญหาโควิด-19
 
ถกไม่เถียง : ที่แรกในไทย! สุพรรณฯ เคลียร์ได้ทุกป
 
         นพ.รัฐพล เวทสรณสุธี นายแพทย์เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกันจังหวัดสุพรรณบุรี เผย ก่อนที่ จ.สุพรรณบุรีจะเกิดการระบาดของโควิด-19  เราได้มีการควบคุมโรค วางแผนป้องกันได้ค่อนข้างดี มีทีมสอบสวนโรค ประชาชนสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติแบบ New Normal แต่จุดเปลี่ยนอยู่ที่ หลังจากมีการประกาศล็อกดาวน์ ประชาชนทยอยเดินทางกลับบ้านต่างจังหวัด ทำให้พาเชื้อเข้ามายังสุพรรณบุรี แม้เราจะมีมาตรการรองรับแต่ตอนนั้นค่อนข้างวิกฤต ยอดตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มจากหลักสิบ ขึ้นมาระดับ 300 ราย พอมีการติดเชื้อมากขึ้น เราก็ต้องมีการระวังมากขึ้น ต้องมีการป้องกันการติดเชื้อในชุมชนเพื่อป้องกันการขยายวงกว้าง
 
ถกไม่เถียง : ที่แรกในไทย! สุพรรณฯ เคลียร์ได้ทุกป
 
        นายสรชัด สุจิตต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี เขต 1 พูดถึงการแก้ปัญหาว่า การเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเป็นเรื่องสำคัญมาก ผมปรึกษาทางแพทย์ตลอด มีตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นจาการเดินทางกลับบ้าน เราต้องทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน ให้เข้ากระบวนการต่างๆ เพื่อการลดจำนวนผู้ติดเชื้อให่้ลดลงเร็วที่สุด เวลาที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น สิ่งสำคัญคือต้องมีการป้องกันการติดเชื้อในชุมชน ต้องมีการสร้างความเข้าใจให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบ ต้องมีการสร้างศูนย์ในแต่ละตำบล หากคุณมีความเสี่ยงและกลับมาบ้าน คุณต้องไม่กลับเข้าบ้าน เพื่อป้องกันการติดเชื้อกันในครอบครัว ฉะนั้นคุณต้องไปเข้า CQ หรือ รพ.สต. กลุ่ม อสม บุคลากรท้องถิ่น ต้องมีการให้ความรู้กับประชาชนให้เขารู้ว่าเขาต้องมากักตัวในพื้นที่แรกรับก่อน เพื่อป้องกันการติดเชื้อในชุมชน พอเข้ารับการตรวจ ATK เสร็จ ถ้าผลเป็นบวก ก็จะถือว่าเป็นผู้ป่วยเข้าข่าย เราจะส่งตัวผู้ป่วยไปศูนย์แรกรับ ATK+ เราจะไม่ให้ผู้ป่วยกลับไปชุมชนเด็ดขาด
 
        โดยจุดประสงค์ที่มีการเปิดศูนย์แรกรับ ATK+ นั้น นายสรชัด เผยว่า คนที่กลับมาอยู่บ้านต่างจังหวัด ถ้าคุณมาพักที่ศูนย์พักคอยก่อน รอเข้ารับการตรวจ ATK เพราะถ้าเราไม่มีศูนย์พักคอย เขาอาจะต้องไปตรวจ RT-PCR ที่ รพ. และกลับไปรอผลตรวจที่บ้าน ถ้าผลเขาเป็นบวกขึ้นมา ก็อาจจะเกิดการติดเชื้อในบ้านได้ เราเลยพยายามคิดว่าจะทำยังไงให้เขาไม่ต้องกลับบ้าน ถ้าทุกคนที่เข้ารับการตรวจ ATK พักอยู่ที่ศูนย์พักคอยก่อน ยังไม่กลับไปบ้าน หากพบว่าผลติดเชื้อขึ้นมา ก็สามารถเข้ารับการรักษาได้เลย ไม่ต้องส่งรถไปรับตามบ้าน ซึ่งที่ตรงนี้มันจะต้องมีความเพียบพร้อม ทางการแพทย์  ปกติถ้าไม่มีผล RT-PCR ก็จะไม่สามารถรักษาได้ อย่างที่เห็นว่าคนป่วยโดนทอดทิ้ง เพราะต้องรอผลตรวจแบบทางการเป็นเวลานาน จนบางคนหมดโอกาสรักษาตัว จนเสียชีวิต 
 
ถกไม่เถียง : ที่แรกในไทย! สุพรรณฯ เคลียร์ได้ทุกป
 
       นพ.รัฐพล กล่่าวถึงศูนย์พักคอยว่า เราออกแบบศูนย์พักคอยขึ้นมาเพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อภายในบ้าน เพราะการตรวจ RT-PCR ต้องใช้เวลาหลายวันกว่าจะรู้ผลที่แน่ชัด ฉะนั้น การเข้าพักที่ศูนย์พักคอยก่อน และเข้ารับการตรวจ ATK น่าจะได้ผลที่เร็วกว่า เรามีการพัฒนา มีเตียงรองรับผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเราจะมีเตียงทั้งรองรับผู้ป่วย และรองรับคนที่อยู่ในศูนย์ quarantine ทำให้ช่วงนี้เรากลับมามีผู้ติดเชื้อแค่หลักสิบ ซึ่งถ้าเราดำเนินการตามโมเดลนี้ เชื่อว่าไม่นานพี่น้องประชาชนจะกลับมาใช้ชีวิตแบบปกติได้ในจังหวัดสุพรรณบุรี อีกทั้งผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่สีแดงเราจะมีการกักตัว 14 วัน ทำให้ยอดตัวเลขผู้ติดเชื้อเราดีขึ้น
 
ถกไม่เถียง : ที่แรกในไทย! สุพรรณฯ เคลียร์ได้ทุกป
 
       นายสรชัด พูดถึง สุพรรณบุรีโมเดลว่า เราได้รับความร่วมมือจากองค์กรส่วนท้องถิ่น งานป้องกันการยับยั้งโรคก็เป็นงานขององค์กรท้องถิ่น เราก็เลยเรียกเจ้าหน้าที่กลุ่มนี้มาประชุมกัน จนเกิดศูนย์พักคอยขึ้น ตอนแรกหลายคนกลัวโควิด ก็อาจจะมีการตื่นตระหนกไปบ้าง ฉะนั้นเราต้องมีการให้ความรู้กับชาวบ้าน เราก็ต้องลงพื้นที่ไปคุยกับเขา อธิบายให้เขาเข้าใจว่าคนที่ไปอยู่ที่ศูนย์พักคอย ไม่ใช่คนที่ติดเชื้อ แต่เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดขึ้น และถ้าหากพบว่ามีการติดเชื้อจริง ก็จะสามารถพาเข้าสู่ระบบการรักษาได้เลย จนสถานการณ์ตอนนี้ สุพรรณบุรีสามารถรับผู้ป่วยจากที่อื่นได้แล้ว โดยจะต้องประสานงานมาทางเราก่อน เพื่อที่ทางเราจะสามารถจัดการระบบและรองรับผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม
 
       ซึ่งรูปแบบ สุพรรณบุรีโมเดล นี้ นายสรชัด มองว่าแต่ละพื้นที่มีบริบทที่ไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างที่ สุพรรณฯ เจ้าหน้าที่ของเรามีการคุยหารือกันตลอด เรามองว่าเป้าหมายของ รพ.สนาม คือการที่เราอยากให้หมอ พยาบาล ใกล้ชิดกับคนไข้มากที่สุด แต่ใช้บุคลากรน้อยที่สุด เราต้องมีการลงพื้นที่เพื่อไปดู รพ.สนาม จริง เพื่อเข้าไปศึกษารูปแบบ มีการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ อย่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตสุพรรณบุรี ก็ช่วยเหลืออย่างเต็มที่ เราต้องค่อยๆผลักดันความรู้ของเราให้ อสม. รพ.สต. ให้เขารู้ว่าโควิดมันไม่ได้น่ากลัว และให้เขาไปสื่อสารกับชาวบ้านต่อ เพื่อที่พวกเขาจะได้เข้าใจเป้าหมายของการสร้างศูนย์พักคอย ตัวผมและทีมงาน ก็จะช่วยกันสื่อสารกับชาวบ้าน ให้ความรู้และทำตัวเป็นแบบอย่างให้กับเขา เพื่อที่ชาวบ้านจะได้มีความเชื่อมั่นมากขึ้น 
 
ถกไม่เถียง : ที่แรกในไทย! สุพรรณฯ เคลียร์ได้ทุกป
 
           หมอรัฐพล เผยถึงการทำงาน และอุปสรรคที่ต้องเจอว่าของเราโชคดี ที่มีการบูรณาการการทำงานได้อย่างดี เราคุยกันประชุมกันปรึกษากันและสามารถสรุปปัญหาของมันได้ อุปสรรคของเราคือการสื่อสารและทรัพยากรของเราที่ในช่วงแรกๆ อาจจะตั้งรับไม่ทัน อีกอย่างเราก็ต่อสู้กับโรคนี้มาหลายปี เจ้าหน้าที่หลายท่านก็เริ่มอ่อนล้า เราก็มีการให้กำลังใจกัน ต้องขอขอบคุณพ่อแม่พี่น้องชาวสุพรรณฯ ที่เอาข้าวปลาอาหารมาให้เหล่าบุคลากรทางการแพทย์ ก็ทำให้พวกเรามีกำลังใจที่จะฮึดสู้กับโรคนี้ต่อไป เราใช้เวลาประมาณ 2 อาทิตย์ ตัวเลขจากหลักร้อยก็ค่อยๆ ลดลงเหลือหลักสิบ โดยตัวเลขหลักร้อยนี้ส่วนใหญ่จะเกิดจากกลุ่มก้อนคลัสเตอร์ในโรงงาน นอกจากนี้ ขอชมเชยเจ้าของกิจการที่ให้ความร่วมมือกับเรา พอเราสื่อสารทำความเข้าใจไป เขาก็ให้ความร่วมมือ ทำให้สถานการณ์คลัสเตอร์โรงงานเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
 
         สำหรับเรื่องงบประมาณที่นำมาใช้นั้น นายสรชัด เผยว่า งบประมาณในการทำ CQ เอามาจากงบส่วนท้องถิ่น ก็ขึ้นอยู่ที่ว่าระบบการคลังของแต่ละท้องที่เป็นอย่างไร อย่างช่วงเดือน มิ.ย.จังหวัดเราซื้อ ATK ชุดแรกมา โดยใช้งบประมาณของ อบจ 5 ล้านบาท โดยเราก็เอาชุดนี้เข้าไปคัดกรอง ประชาชนก่อน เพราะถ้ารอผลจาก RT-PCR อาจจะใช้เวลานานพอสมควร ตอนนี้เราวางแนวทางต่อ โดยวางไว้ว่าจะมีการตรวจคัดกรองเชิงรุกในพื้นที่ต่างๆ ต่อไป
 
 
ถกไม่เถียง : ที่แรกในไทย! สุพรรณฯ เคลียร์ได้ทุกป
สรุปผลโพล คุณคิดว่าทุกจังหวัดทำแบบสุพรรณฯ ได้หรือไม่?
 
 
ติดตาม  รายการ “ถกไม่เถียง” ดำเนินรายการโดย “ทิน โชคกมลกิจ”  ภายใต้การผลิตของบริษัท เทโร เอ็นเทอร์เทนเม้นท์  ได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.00 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และสามารถรับฟังผ่านทาง  hitz955.com
 
ชมผ่าน YouTube ได้ที่  https://youtu.be/uA8FdGb_Qjc