สงสัยว่าตัวเองติดเชื้อไหม? เสี่ยงติดโควิด-19 ต้องทำอย่างไร? สรุปขั้นตอนง่ายๆ จากสธ. : ช็อตเด็ด #ถกไม่เถียง
logo ถกไม่เถียง

สงสัยว่าตัวเองติดเชื้อไหม? เสี่ยงติดโควิด-19 ต้องทำอย่างไร? สรุปขั้นตอนง่ายๆ จากสธ. : ช็อตเด็ด #ถกไม่เถียง

ถกไม่เถียง : โควิด-19 ระบาดใหญ่อีกครั้ง เกิดคลัสเตอร์ในชุมชน และสถานประกอบการมากมาย ทำให้เกิดการแพร่ระบาดไปอย่างรวดเร็ว พบผู้ติดเชื้อวันละหลายพัน ถกไม่เถียง,ทินถกไม่เถียง,ช่อง7HD,TERODigital,กด35,ฟอร์ดประเทศไทย,ฟอร์ด,ford,โควิด19,โรงพยาบาลสนาม,กักตัวอยู่บ้าน,วัคซีน,ระบาด,สถานประกอบการ,มาตรการป้องกัน,หมอตี๋,สาธิต,กรมอนามัย

5,723 ครั้ง
|
28 พ.ค. 2564

 

        โควิด-19 ระบาดใหญ่อีกครั้ง เกิดคลัสเตอร์ในชุมชน และสถานประกอบการมากมาย ทำให้เกิดการแพร่ระบาดไปอย่างรวดเร็ว พบผู้ติดเชื้อวันละหลายพันราย และมี "กลุ่มเสี่ยงโควิด" รวมถึง "ผู้มีความเสี่ยงสูง" เป็นจำนวนมาก บางคนเกิดอาการหวาดวิตกว่าตัวเองติดเชื้อรึยัง มีคำถามเกิดขึ้นมากมายว่าถ้าตัวเองเป็นกลุ่มเสี่ยงติดโควิด-19 ต้องทำอย่างไร
 
         สำหรับคนที่ไม่ได้ไปตรวจ แต่มีความเสี่ยงว่าจะติดโควิด-19 นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย แนะนำข้อปฏิบัติตัวว่า ต้องทำความเข้าใจให้ชัดก่อนว่า เราติดหรือยัง หรือแค่มีความเสี่ยง การมีความเสี่ยงก็จะแยกเป็น 2 กลุ่มคือ
 
1. กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง คือ คนที่มีการไปสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ 
2. กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ คือ คนที่มีการไปสัมผัสห่างๆ กับผู้ติดเชื้อ
 
         ส่วนกรณีที่มีการไปสัมผัสกับคนที่ไปสัมผัสผู้ติดเชื้ออีกที แบบนี้คือเป็นผู้ไม่ม่ีความเสี่ยง กับอีกกรณีคือ การที่ไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง นั่นหมายความว่าการมีประวัติไม่ได้หมายความว่าเราไปสัมผัส
 
         ดังนั้นให้ประเมินตนเองขั้นต้น หากพบว่าตัวเองเป็นผู้มีความเสี่ยงสูงต้องเข้ารับการตรวจคัดกรอง ต้องมีความรับผิดชอบต่อตัวเอง และสังคม นั่นหมายความว่าเราต้องกักกันตนเอง ไม่ว่าจะที่บ้าน หรือที่ไหนก็ตามที่มีการกำหนดให้ชัดเจน โดยจะต้องไม่มีการไปสัมผัสกับผู้อื่นโดยไม่จำเป็นในระยะเวลา 14 วัน
 
          คนที่ไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง ประวัติเสี่ยง แต่ไม่ได้ไปสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ เราใช้คำว่า ให้คุมไว้สังเกต หรือ เรียกว่าเฝ้าระวัง การเฝ้าระวังนี้ เรายังคงไปไหนมาไหนได้ แต่เราต้องเข้มเรื่องมาตรการโดยเคร่งครัด ลดการเดินทางที่ไม่จำเป็น และลดการติดต่อกับผู้อื่น ซึ่งอันนี้เป็นคนละกรณีกับคนที่ไปสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ 
 
           นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยมาตรการในการควบคุมโควิด-19 มี 4 ส่วนสำคัญ คือ
 
1 เรื่องของความเข้าใจ และประชาชนเชื่อมั่นและปฏิบัติตามข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข
2 มาตรการของรัฐบาล ที่จะต้องออกมาตรการที่ควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อ
3 การทำหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายในการควบคุมโรค
4 การรักษา ซึ่งถ้าทั้ง 3 ส่วนแรกทำได้ดี การรักษาก็จะไม่มากนัก ผู้เสียชีวิตก็จะน้อย
 
กุญแจสู่ความสำเร็จที่จะสู้กับโควิด-19 ตอนนี้ หัวใจสำคัญคือ?
 
           นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบายว่า โรคนี้ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าคือ โรค ติด และต่อ  "ติด" หมายความว่า คนมันต้องสัมผัสใกล้ชิดกัน เพราะฉะนั้นถ้าเราลดการสัมผัส มีมาตรการบุคคล ลดการใกล้ชิดกัน อันนี้ก็จะได้ไปครึ่งนึงแล้ว ส่วนการ "ต่อ"  หมายความว่า ถ้าคนยังคงมีการเคลื่อนย้าย เคลื่อนไหว หรือเดินทาง ไม่ได้เว้นระยะห่าง มันก็จะต่อจากคนนึงไปสู่อีกคนนึง 
 
            จริงๆมันต้องดำเนินการทั้งมาตรการสาธารณสุข ควบคู่ไปกับมาตรการทางสังคม แต่ในช่วงที่เรายังไม่มีวัคซีนเพียงพอ มาตรการทางสาธารณสุขกับมาตรการทางสังคมถือเป็นสิ่งจำเป็น
 
ติดตาม รายการ “ถกไม่เถียง” ดำเนินรายการโดย “ทิน โชคกมลกิจ” ภายใต้การผลิตของบริษัท เทโร เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ ได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.00 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และสามารถรับฟังผ่านทาง hitz955.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง